สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
WeCitizens ภูมิใจพาทุกท่านไปพบปะกับพลเมืองแห่งการเรียนรู้ ตัวแทนอปท. และนักวิจัยผู้ใช้กระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ และพลังความร่วมมือ ฟื้นฟูชุมชนและเมืองของตนเอง …กับ 3 เมืองจาก 3 ภูมิภาค – เทศบาลตำบลปากพูน จ.นครศรีธรรมราช – เทศบาลนครยะลา จ.ยะลา และ เทศบาลนครนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ ////
“เราเริ่มสนใจประเด็นการพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง คือราวปี 2553 ตอนเป็นประธานสโมสรนักเขียนภาคอีสาน คือก่อนหน้านี้เราทำรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และเป็นอาจารย์สอนด้านการสื่อสาร แต่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องประเด็นเมืองนัก เพราะขอนแก่นมีคนทำเรื่องนี้เยอะอยู่แล้ว แต่พอมาทำงานด้านการประสานงานกิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสารที่โฟกัสไปที่เด็กและเยาวชน จึงทำให้เรากลับมาคิดถึงพื้นที่ส่งเสริมสิ่งนี้ในเมือง อีกอย่างคือ เราก็มีลูกด้วย ก็อยากให้ลูกเข้าถึงพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ในเมือง เลยคิดว่าน่าจะใช้บทบาทของเราขับเคลื่อนพื้นที่เหล่านี้ได้ ขอนแก่นมีต้นทุนที่ดีตรงที่มีห้องสมุดเด็กสวนดอกคูนอยู่ตรงบึงแก่นนคร ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่นเขาจ้างให้มูลนิธิไทยสร้างสรรค์ทำไว้ และความที่เราชอบพาลูกไปใช้พื้นที่บ่อยๆ ก็เลยได้ร่วมเป็นภาคีจัดกิจกรรมกับเขา ช่วงที่เรามาเป็นประธานสโมสรฯ ก็ทำให้เรารู้สึกว่า ที่นี่แหละมันคือพื้นที่ความสุขของครอบครัว
“ถึงขอนแก่นจะเป็นเมืองที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับต้นๆ ของอีสาน แต่เมืองก็กลับมีมุมมืดอยู่ไม่น้อย มุมมืดที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ การเข้าไม่ถึงโอกาส ไปจนถึงสภาพแวดล้อมของชุมชนแออัดหลายจุด ซึ่งทำให้เด็กหลายๆ คนหลุดออกจากระบบการศึกษา ไปจนถึงเลือกเดินทางผิด อย่างสมัยก่อนชุมชนที่ผมอยู่เป็นชุมชนเปลี่ยวๆ และอยู่ใกล้กับแหล่งที่มีวัยรุ่นมาซ่องสุมกันมาก ผมก็พบว่ามีเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันหลายคนที่หันไปหารายได้พิเศษด้วยการเดินยาเสพติด ผมก็ยังได้รับการชักชวนด้วย อย่างไรก็ตาม ผมโชคดีที่โรงเรียนผม เขามีกิจกรรมนอกห้องเรียนให้เลือกหลากหลาย และมันก็ช่วยดึงความสนใจของผมไปอยู่ที่กิจกรรมเหล่านี้ อย่างผมเข้าร่วมโครงการทูบีนัมเบอร์วัน (TO BE NUMBER ONE)
“โครงการขนส่งมวลชนรถไฟรางเบาขอนแก่น (LRT) เป็นหนึ่งในโครงการสมาร์ทซิตี้ในส่วนของสมาร์ทโมบิลิตี้ (smart mobility) เราเริ่มคุยกันจริงจัง ตอนที่ผมดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น โดยมีเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม รวมถึงสถาบันการศึกษาในเมือง มาหารือกันว่าเราต้องการขนส่งมวลชนแบบไหนที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้เมืองเราได้ และแนวคิดเรื่องการทำระบบรางก็เริ่มขึ้นจากตรงนั้น อย่างไรก็ดี โมเดลนี้ก็แตกต่างจากโมเดลด้านขนส่งมวลชนอื่นๆ ตรงที่มันต้องเป็นโครงการที่บริหารจัดการและลงทุนโดยท้องถิ่นเอง ไม่ใช่จากส่วนกลางมาทำให้
“ผมเกิดที่ขอนแก่น มีโอกาสไปเรียนที่กรุงเทพ และเคยเข้าไปช่วยงาน ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยนายกฯ ชวน ตอนนั้นเมืองไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนเป็นแบบ Fixed พอโดนโจมตีก็กลายเป็นแบบลอยตัว ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นเรื่องที่ผมสนใจอยากช่วยแก้ไข เลยไปต่อเรียนต่อที่อเมริกาด้าน Risk Management Financial Engineering ตอนแรกก็คิดอยู่ว่าจะไปทำงานที่แบงค์ชาติ แต่คุณพ่อชวนให้กลับมาช่วยทำ dealer Toyota
“ผมจบด้านภาพยนตร์และทำงานด้านนี้ต่อที่กรุงเทพฯ พักหนึ่ง กระทั่งราวๆ 8 ปีก่อน พ่อป่วย เลยกลับขอนแก่นมาดูแลท่าน และก็ไม่รู้สึกอยากกลับไปทำงานที่กรุงเทพฯ อีกแล้ว จึงมาทำโปรดักชั่นเฮ้าส์ที่นี่ และอยู่ไปสักพักจนปี 2561 ก็เปิด Hidden Town ในย่านถนนศรีจันทร์ ตอนแรกตั้งใจให้เป็นค็อกเทลบาร์ แล้วก็ปรับมาเป็นบาร์แจ๊ส (jazz bar) ตอนแรกก็ทำสองงานควบคู่ไปครับ (งานโปรดักชั่นกับบาร์แจ๊ส)
WeCitizens นัดพบ หม่อง – นพดล ธรรมวิวัฒน์ ที่อาคารใกล้สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย ใจกลางตลาดเก่าเมืองแก่งคอย จังหวัดสระบุรี อาคารที่ว่าเป็นอาคารพาณิชย์ มีป้ายติดด้านหน้าว่า ‘ห้องนั่งเล่นแก่งคอย’ คุณหม่องเล่าว่าแต่เดิมอาคารหลังนี้เคยเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้างของครอบครัว เมื่อครอบครัวไม่ได้ทำกิจการนี้ต่อแล้วจึงปิดไว้ กระทั่งเขาได้มาเป็นโต้โผในการขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้แก่งคอย จึงกลับมาฟื้นฟูอาคารนี้อีกครั้ง เปลี่ยนเป็นห้องนั่งเล่น ในความหมายของการเป็นห้องรับแขกบ้านแขกเมือง และห้องที่ให้ผู้คนมาสุมหัวคิด เพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาเมืองแก่งคอยร่วมกันใช่, เราคิดถึงห้องประชุมในรูปแบบ city
นิ่ม – อรอุษา จึงยิ่งเรืองรุ่ง เป็นนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดและทำงานในสระบุรี เธอเป็นรองประธานหอการค้าจังหวัด รวมถึงหนึ่งในผู้ก่อตั้ง บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ร่วมกับ หม่อง – นพดล ธรรมวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้แก่งคอย เมื่อต้นปี 2566 คุณนิ่มและคุณหม่องในฐานะตัวแทน บริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด
“ผมเป็นผู้รับเหมามาก่อน ทำได้พักใหญ่ๆ ก็กลับมาสานต่อธุรกิจของแม่ที่แก่งคอย เป็นรุ่นสอง ร้านทองร้านนี้เริ่มโดยคุณแม่ แม่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เกิดในแก่งคอย ตอนเด็กๆ แกเคยเล่าให้ฟังว่ายังวิ่งหนีลูกระเบิดอยู่เลย หลังสงครามโลกสิ้นสุด ผู้คนที่รอดชีวิตในสมัยนั้นก็มาเริ่มธุรกิจจากศูนย์กันใหม่ๆ แม่ก็เริ่มทำงานหลากหลายจนได้มาเปิดร้านทอง ลูกค้าหลักๆ คือคนแก่งคอยและอำเภอใกล้เคียง ทั้งผู้ประกอบการในตลาด ข้าราชการ รวมถึงคนทำงานโรงงานรอบๆ ผมก็จะไปเลือกทองคำรูปพรรณจากร้านขายส่งที่เยาวราช พิจารณาจากความนิยมของคนที่นี่ และนำมาวางขายที่ร้าน ข้อได้เปรียบของการขายทองคือต่อให้เศรษฐกิจแย่ยังไง ถึงกำลังซื้อลดลง แต่มันก็ยังคงเป็นที่ต้องการ
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.