[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

โจทย์ของโครงการออกแบบแนวคิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์

“โจทย์ของโครงการออกแบบแนวคิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับคลองรังสิตประยูรศักดิ์ ที่อาจารย์ให้ทำในรายวิชาออกแบบสถาปัตยกรรม 4 แตกต่างจากโจทย์อื่น ๆ ที่ปกติอาจารย์กำหนดมาเลยว่าให้ออกแบบอะไร ? ใช้งานยังไง ? ซึ่งก็อยู่ที่เราจะออกแบบมาด้วยคอนเสปต์แบบไหน ? ทุกอย่างเราคิดไปเองว่าคนใช้งานอยากได้แบบนี้ตามที่เราคิดว่าจะดี แต่โจทย์นี้ทำให้เราได้ประสบการณ์จริง ได้มุมมองหลายมิติขึ้น คืออาจารย์ก็จับกลุ่มให้ 8 คน 10 กลุ่ม แบ่งตาม 10 พื้นที่ตั้งแต่ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ต่อเนื่องคลองรังสิต

ชีวิตบั้นปลาย หาเงินมานานก็ได้เวลาใช้ แล้วแต่คนว่าจะเลือกใช้ยังไง อาโกว ก็หมดไปกับหมา ค่าทำสวนบ้าง ใครมานั่งตรงนี้ มันสงบ ร่มรื่น มีความสุข อาโกว ก็ได้อานิสงส์แล้ว ชีวิตเราก็ต้องแบ่งปัน

“คนในชุมชนเขาเรียกเรา อาโกว ก็เป็นลูกหลานชาวจีนที่อพยพมาอยู่ริมคลองรังสิต เมื่อก่อนเราเปิดร้านขายวัสดุ คือเป็นกงสีเนอะ มีสองร้าน อยู่คลองฝั่งตำบลประชาธิปัตย์ร้านนึง ตรงนี้ฝั่งบึงยี่โถอีกร้านนึง พอน้องชายเขาแยกครอบครัวไปตอนปี 2559 ร้านบึงยี่โถที่อาโกวดูแลก็ยุบ เราก็ได้มีเวลามาทำสวน มาดูแลศาลเจ้า (ศาลเจ้าปึงเถ่ากงม่า รังสิตคลอง 3) คือที่แปลงนี้เขาบอกขาย อาโกวก็ขออธิษฐานจิตกับท่าน บอกถ้าได้เป็นเจ้าของที่แปลงนี้จะมาเก็บขี้หมามากวาดใบไม้ แล้วก็ได้ คือชุมชนย้ายจะหมดแล้ว ถ้าเราไม่อยู่ตรงนี้

ศาลเจ้าอยู่ที่เงินบริจาคและเงินจัดงาน ถ้าได้มาต้องสร้างเพื่อเรียกศรัทธาให้คนบริจาคเขาเห็น ไม่ใช่บริจาคแล้วศาลเจ้ายังซอมซ่อ ต้องทำให้งดงาม เงินเหลือก็พยายามใช้ให้หมด เหลือมากแล้วเป็นกิเลส

“คนจีนเข้ามาตั้งแต่สมัยขุดคลองรัชกาลที่ 5 ทุกคลองก็สร้างศาลเจ้าเป็นศูนย์รวม ศาลเจ้าคลอง 12 ที่นี่ร้อยปีขึ้น รุ่นพ่อมีแล้ว ผมเป็นรุ่นที่ 2 ตอนนี้อายุเจ็ดสิบกว่า เกิดมาก็เห็นแล้ว แต่เดิมเป็นศาลเจ้าไม้ เป็นสังกะสี เขาก็พัฒนามาเรื่อย เราเป็นคนดูแลศาลเจ้า มาเก็บมากวาด ใครมาไหว้เราก็ดูเขาขาดเหลืออะไร ตรงนี้ปักธูปกี่ดอกเราก็บอกเขา เวลาไปศาลเจ้าที่ไหนต้องไหว้ฟ้าดินด้านหน้าศาลเจ้าก่อน เขาใหญ่สุด เหมือนเราไปวัดต้องไปไหว้เจ้าอาวาสก่อน ของที่นี่เป็นเสามังกรฟ้าดินมีมังกรสองตัวสีเหลืองกับสีเขียวพันกันอยู่

พูดได้เต็มปากว่าสนั่นรักษ์เข้มแข็งที่สุด ทุกคนจับมือร่วมกัน ตั้งแต่ปกครองท้องถิ่น ผู้ประกอบการก็พยายามสนับสนุน กลุ่มอาชีพก็พร้อมรวมกัน ซึ่งถ้าทั้งสี่เทศบาลในอำเภอธัญบุรีเชื่อมต่อกัน จะเป็นเมืองเรียนรู้ได้ยาวเลยนะ

“เราเป็นมัคคุเทศก์อิสระ ส่วนมากพาเที่ยวตามแหล่งชุมชนในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ แต่พอเกิดสถานการณ์โควิดก็เลยไม่ได้ทำ เราต้องปรับตัว ก็มาคิดว่า ไม่เคยพานักท่องเที่ยวมาเที่ยวบ้านเลย บ้านเราเองแท้ ๆ ทีนี้เรารู้ว่าทุกปีจะมีการแข่งขันเขียนโปรแกรมการท่องเที่ยว ปีที่แล้วเลยเขียนส่งไป 2 โปรแกรมเป็นเส้นทางท่องเที่ยวและนวัตกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเรานำเสนอนวัตกรรมท่องเที่ยวคือ “ไม้กวาดรักษ์โลก” ที่ชุมชนเราผลิตเองจากของรีไซเคิลในชุมชน และสามารถเอาไปใช้ได้กับทุกสถานที่ในเส้นทางท่องเที่ยวที่เราจัดทำ ก็ได้รางวัลติด 1 ใน 20 การประกวด “นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน”

ทุกคนที่มาช่วยกันที่ศาลเจ้าก็เหนื่อยแต่มีความสุขนะ ไปอยู่ที่อื่นไม่มีคุณค่า มาอยู่ที่นี่รู้สึกตัวเองมีคุณค่าโดยที่ไม่ต้องมีใครมาชม มันเป็นศรัทธาที่ต้องลงมือทำ

“หลวงปู่ไต่ฮงกง ท่านเป็นพระ ช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก เก็บศพไร้ญาติ สร้างถนนหนทางสะพาน จนสำเร็จเป็นพระที่ชาวจีนนับถือมาก องค์เดียวกับที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ศาลเจ้าไต่ฮงกงรังสิตอัญเชิญท่านมาประดิษฐาน รวมถึงเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์อย่างจี้กง เจ้าพ่อกวนอู เทพไท้ส่วยเอี๊ยที่มาแก้ปีชง หลวงพ่อโสธร คนก็มาไหว้เพราะศักดิ์สิทธิ์ ศาลเจ้าเมื่อก่อนเล็ก ๆ คนมีจิตศรัทธาบริจาคก็พัฒนาสร้างไปเรื่อย ๆ จนมาจดทะเบียนจากสมาคมเป็นมูลนิธิรวมใจรังสิตปทุมธานี (ไต่ฮงกงรังสิต) ช่วยเหลือคนในตำบล ไฟไหม้ น้ำท่วม

พื้นที่ปทุมธานีหรือในรังสิตมีพิพิธภัณฑ์จำนวนมาก ต่อไปก็จะมีสวนสัตว์ในพื้นที่ธัญบุรี ซึ่งคนอาจจะมานอนปทุมฯ สักคืนสองคืนเพื่อมาดูพิพิธภัณฑ์ให้ได้ครบ ปทุมธานีก็จะเป็นจังหวัดแห่งการเรียนรู้ได้เลย

“พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้รับพระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ฯ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับบริจาคสิ่งของหลายพันชิ้นจากศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ดร.วินิจ วินิจนัยภาค และภรรยา คุณหญิงพรรณี วินิจนัยภาค จึงมอบหมายให้คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นผู้ดูแล เพราะสิ่งของที่ได้รับมีตั้งแต่ฟอสซิลหลายล้านปีจนถึงงานวัตถุทางชาติพันธุ์ อาจจะไม่ได้พิเศษ แต่มีของหลากหลาย มีที่มา มีเรื่องเล่า ซึ่งสาขามานุษยวิทยามีการเรียนการสอนเรื่องโบราณคดี ชาติพันธุ์ มรดกวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ศึกษา การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ จึงจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านมานุษยวิทยา

แม่เติบโตมากับอาชีพนี้เลย ไม่เคยเปลี่ยนอาชีพ ขายมาตั้งแต่ชามละบาท พิเศษสองบาท

“ก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับ รังสิตเจ้าเก่า เริ่มตั้งแต่รุ่นก๋ง (โกฮับ) เป็นคนจีนไหหลำที่เข้ามาตั้งรกรากในไทย พายเรือขายก๋วยเตี๋ยวตรงใต้สะพานแก้ว ชายน้ำคลองรังสิต ชาวบ้านแถวนั้น คนงานที่มาขุดคลอง พอเห็นก๋งพายเรือมาก็เรียกให้ก๋งทำก๋วยเตี๋ยว ตอนนั้นขายแต่ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ก๋งทำน้ำซุปเอง ตุ๋นเนื้อเอง เอาพริกมาดองมาหมักมาปรุงเอง ทำ ๆ ไปมีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐถ่ายรูปไปลง มีนักมวย ดารามากิน แล้วก็มีภาพยนตร์ “เลือดนอกอก” (2508)

เราสอนด้วย เข้าอบรมด้วย ได้ความรู้ใหม่ๆ ไปจนใบประกาศเต็มแฟ้ม เพราะการเรียนรู้มันตลอดชีวิต

“ป้าเปิดร้านอาหารอยู่ในกองบิน 2 ลพบุรีมาก่อน เรามีหนี้สินเยอะมาก ลองมาทุกอย่างแล้ว มันไม่ได้ ยิ่งดิ้นยิ่งจม พอมาทำเบเกอรี มันได้เป็นชิ้นเป็นอัน ปลดหนี้ซื้อบ้านได้เพราะค่าขนมล้วน ๆ คือเราไปเรียน กศน. ก่อน แล้วก็อาสาไปทำกับร้านขนม แบบขอเขาเรียน ช่วยเขาทำทุกอย่าง ทำหลายเดือนจนได้สูตรมาบ้าง แล้วก็มาเรียนที่รัศมีเบเกอรี กรุงเทพฯ กลับมาหัดทำ ให้ชาวบ้านชิม

การเรียนรู้ของกลุ่มคนก็แตกต่างกันไป ถ้าเด็กรุ่นใหม่ก็เป็นเรื่องของ enjoy life วัยรุ่นเขามี dynamic เร็วมาก เขาต้องการอิสระ ในฐานะภาครัฐเราก็เฝ้ามอง ส่งเสริม ปรับตัวเข้ากับพวกเขา เป็นการเรียนรู้เฉพาะตัวมากกว่า

“พื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถไม่ใหญ่มาก ประมาณ 15 ตารางกิโลเมตร อยู่เขตปริมณฑลใกล้กรุงเทพฯ ก็เป็นพื้นที่รองรับที่อยู่อาศัยของคนกรุงเทพฯ ซึ่งในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา คนเพิ่มอย่างทวีคูณ ตอนนี้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่มีประมาณสามหมื่นสี่พันคน แต่ประชากรแฝงน่าจะมีประมาณเจ็ดหมื่น อย่างที่ใกล้เทศบาลฯ ก็มีโรงงานอุตสาหกรรม คนทำงานเป็นพันๆ คน ซึ่งเขาก็กลางวันมาอยู่ ทำงานในพื้นที่ กลางคืนกลับ ส่วนพื้นที่รองรับเป็นหมู่บ้านจัดสรรประมาณ 40 หมู่บ้าน บางหมู่บ้านเป็นพัน ๆ

1 48 49 50 51 52 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video