[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

นายกฯ แต่ละที่ก็นโยบายไม่เหมือนกัน ความต้องการของประชาชนก็ไม่เหมือนกัน

“เทศบาลเมืองบึงยี่โถมีศูนย์กีฬาเทศบาลที่คลอง 4 อยู่แล้ว เป็นโรงยิม ที่ออกกำลังกาย ศูนย์แบดมินตัน สเกตบอร์ด สนามฟุตซอล สวนเฉลิมพระเกียรติ คนก็มาตีแบต เดินเล่น เล่นสเกตบอร์ดทุกวันอยู่แล้ว แต่พอช่วงโควิดนี่ปิดเลย นายกฯ(รังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายกเทศบาลเมืองบึงยี่โถ) ก็จัดให้เป็นพื้นที่คัดกรองฉีดวัคซีน แล้วก็ข้ามไปฉีดวัคซีนอีกฝั่งถนนที่ศูนย์การแพทย์บึงยี่โถ ตอนแรกฉีดวันละพันคน ก็เพิ่มขึ้น ๆ เป็นสี่พัน

ในอนาคตผมจะไปเรียนต่อแพทย์แผนไทยอีกสองปี ยกระดับตัวเราเอง ถ้าเราตั้งใจมหาวิทยาลัยก็จะส่งเราให้ถึงฝั่ง ฝั่งที่ว่าคือ ถ้าตัวเราพร้อมที่จะไป เขาก็พร้อมจะดัน

“ผมทำงานมาหลายอย่าง เป็นหนุ่มโรงงานที่นวนครหลังเรียนจบช่างกล ได้งานในแผนกเขียนแบบที่มีเจ้านายเป็นคนญี่ปุ่น ตอนหลังผมเลยไปเรียนภาษาญี่ปุ่นสองปีจบที่สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งก็อยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนครนี่แหละ พอช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ (ปี 2540) ก็ไปทำงานเป็นล่าม แล้วก็กลับมาทำงานโรงงานอีก จนมาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มโอทอป ก็ทำมาเรื่อยจนเป็นกรรมการ และเป็นประธานบริหารจัดการเครือข่ายโอทอปอำเภอธัญบุรีในปัจจุบัน การเข้ามาอยู่ในเครือข่ายทำให้คนเข้าถึงได้ กติกาง่าย ๆ คุณอยากพัฒนาสินค้าของตัวเอง ยกระดับสินค้าจากบ้าน ๆ เข้าสู่มาตรฐานติดดาว

ผมมองว่าที่นี่มีศักยภาพเมืองแห่งการเรียนรู้นะ มีแลนด์มาร์กน่าสนใจหลายแห่ง บึงยี่โถผมก็เห็นท้องถิ่นเขาโอเคนะ แอ็กทีฟมาก

“บ้านเกิดผมอยู่กำแพงเพชร ใช้ชีวิตอยู่เชียงใหม่หลายปี เพราะไปเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อปริญญาโทที่มช. พอจบก็เป็นอาจารย์พิเศษที่มช. แล้วผมก็ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพนี่ สอนคณะนิเทศศาสตร์ วิชาการรีทัชภาพ และสื่อสารการตลาด กับสอนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมกับเรียนต่อปริญญาเอกที่ม.รังสิตด้วย เหตุผลหนึ่งที่เลือกมาทำงานอยู่โซนชานเมืองเพราะไม่หนาแน่น บรรยากาศไม่แออัด คมนาคมยังโอเค เดินทางสะดวก เหมือนใช้ชีวิตตอนอยู่เชียงใหม่ ค่าครองชีพก็โอเค ผมพักอยู่หอในของมหาวิทยาลัย ใช้ชีวิตอยู่ในนี้ ยังไม่ได้ขยับขยายไปไหน มันร่มรื่น ไม่แออัด

ธุรกิจดิลิเวอรีในโซนปทุมธานีการแข่งขันสูงมากเป็นอันดับต้นๆ คนบอกช่วงโควิดแย่ๆ แต่ร้านเราบางทีตี 2 ตี 3 ร้านปิดแล้วยังมีออเดอร์มาขอให้ทำให้หน่อย เราก็ทำ

“ผมชอบทำอาหารกินเองมาตั้งแต่เด็ก มีเวลาว่างก็ศึกษาทางยูทูบ ดูรายการแข่งทำอาหารในเน็ตฟลิกซ์ เมนูที่ชอบทำก็กะเพราไข่ดาว อร่อยสุดแล้ว ง่าย ๆ นี่แหละ เคล็ดลับผมคือกินที่ไหนอร่อยจะจำรสชาตินั้นมาทำ กะเพรามันทำได้หลายรสชาตินะครับ พอเราไปกินบางทีมันขึ้นมาในหัวเลย รู้ว่าตรงนี้เขาใส่อะไรเยอะอะไรน้อย จำรสชาติมาแล้วก็ปรับ นึกอยากกินรสนั้นเราก็ทำ แต่ก่อนเราทำด้วยความสนุก แต่พอมาทำขายเราต้องทำรสชาติให้เสถียร ตอนแรกเปิดร้านคาเฟ่อยู่ในโรงเรียนบ้านวังทอง ความรู้เรื่องทำร้านเป็นศูนย์แต่เราก็ลองดู ขายเครื่องดื่มอย่างเดียว เพราะเขามีร้านอาหารอยู่แล้ว ตอนหลังเพิ่มขายอาหารนิดหน่อยก็เห็นว่าเราพอทำได้ ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นช่างเขียนแบบด้วย

ตอนรับราชการ เป็นผู้บริหารด้วย ต้องอยู่กับงาน อยู่กับคน มีแต่เรื่องเครียด พอเกษียณปุ๊บ มาอยู่กับต้นไม้ มันเถียงเราไม่ได้ฮะ

“ผมรับราชการเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ เมื่อเกษียณอายุราชการมาแล้วก็ใช้เวลายามว่าง จริงๆ ทำตั้งแต่ก่อนเริ่มเกษียณแล้ว คือปลูกต้นไม้ เพราะสิ่งที่เราได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กคือเรื่องการดูแลต้นไม้ ก็ทำให้เราติดเป็นนิสัย การปลูกต้นไม้ของผมเริ่มจากปลูกในบ้าน ทดลองปลูกไปเรื่อย ตั้งแต่ไม้ผล ไม้ทานได้ เห็ด ผักสวนครัว แรก ๆ ใช้ปุ๋ยเคมีเพราะเป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวัน เคมีทำให้ต้นไม้โตเร็ว แต่ข้อเสียเยอะ เราเริ่มเห็นแล้วว่าสภาพดินมันแข็ง ต้องมาคลุมดินใหม่ สารฆ่าแมลงก็ต้องใช้เคมี

ผู้อำนวยการโรงเรียนมีนโยบายให้เยี่ยมบ้านนักเรียน 100% ห้องผมมีเด็ก 37 คน บุกน้ำฝ่าดงเข้าไป เลยไปเห็นจริงๆ ว่าเขาอยู่ยังไง อยู่กับใคร เหมือนเราเข้าไปสำรวจสำมะโนประชากรของเด็ก

“โรงเรียนวัดมูลจินดารามที่ผมสอนอยู่ริมคลองอยู่แล้ว พอเห็นโครงการประกวดภาพถ่าย “วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” ของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี จากข่าวประชาสัมพันธ์ในเฟซบุ๊กเพจของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ เห็นหัวข้อวิถีชีวิตริมคลองก็ง่าย ผมชอบเล่นกล้อง มีกล้องติดรถอยู่แล้ว คิดว่าไปเจออะไรก็ลองส่องดู จังหวะนั้นไปเจอคนเล่นน้ำอยู่พอดี ก็ถ่ายรูปแล้วส่งภาพประกวด 2 รูป เขามีรางวัล Popular Vote กับรางวัลจากกรรมการตัดสิน ซึ่งภาพ “ชีวาในวารี” ของผมได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 บรรยากาศคลองรังสิต

ในความเป็นนครคุณภาพชีวิตต้องดีขึ้น สถานการณ์ในปัจจุบันก็เห็นอยู่แล้วว่าต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นเรื่อย ๆ

“ผมเติบโตในปทุมธานี เห็นนครรังสิตมาตั้งแต่เด็ก สิ่งแรกที่จำได้คือเห็นห้างฟิวเจอร์พาร์ค ห้างสรรพสินค้ามาตลอด แต่สิ่งที่รังสิตเติบโตขึ้นในความเป็นนคร น่าจะพัฒนาได้มากกว่านี้ ควรมีอะไรเป็นสื่อให้เห็นว่ารังสิตคืออะไร เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต โด่งดังเป็นเอกลักษณ์ของรังสิต กับประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งปีนี้ครบรอบปีที่ 126 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ทำพิธีเปิดลำคลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกนามประตูน้ำ ในพระบรมนามาภิธัยว่า

ทุกอย่างมันอยู่ที่เรา เรียนรู้ได้ ความรู้มันเรียนไม่จบหรอก

“ผมเป็นเกษตรกรโดยตรงเลย ทำสวนส้มมาก่อน แถวนี้เดิมก็สวนส้มทั้งนั้น พอไม่ค่อยดีก็ต้องแปลงอาชีพแล้วล่ะ ก็มาขายไม้ใบ ไม้ป่า พวกต้นสาละ แล้วก็ทำไม้ดัด (ไม้ประดับตัดแต่งเป็นรูปทรงต่าง ๆ ที่ดัดด้วยโครงเหล็ก) ขายควบคู่ ทำหลายอย่าง อันไหนเวิร์กสุดก็ทำอันนั้น ที่มาทำพืชเศรษฐกิจไม้ดัดกับไม้ต่อยอดก็ตามเพื่อน ตอนนั้นก็มีไม่กี่สวน เห็นต้นไทรเขาทิ้ง ต้นไทรไม่อยากให้ปลูกในบ้าน ชาวบ้านไม่เอา ก็ไปขอเขา แต่เดี๋ยวนี้ต้องซื้อกิ่งแล้วนะ ไม่มีให้ขอแล้ว

ผมเป็นคนนครศรีธรรมราช ภาพลักษณ์ปทุมธานีที่ได้ยินตอนอยู่ต่างจังหวัดก็คือกรุงเทพฯ แสงสีเสียงต้องเยอะแน่เลย ต้องวุ่นวาย แต่พอมาอยู่ก็ไม่ได้เหมือนที่คิดไว้

“ผมเข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่าย “วิถีคลองรังสิต-ประยูรศักดิ์” ของโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อคนทุกกลุ่มในจังหวัดปทุมธานี เพราะเห็นจากเฟซบุ๊กเพจเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ผมว่าน่าสนใจ แล้วตอนนั้นผมมีการบ้านของอาจารย์ที่ให้ไปถ่ายรูปทำโฟโต้บุ๊ก ก็เลยทำพ่วงกัน ผมออกไปหามุมถ่ายรูป ไปคลอง 3 คลอง 6 แต่วันนั้นไปถ่ายแล้วก็ยังไม่ได้ภาพถูกใจ พอกลับมาหน้ามอ (มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ คลอง 3) ตอนประมาณหกโมงเย็น แสงอาทิตย์กำลังตก สวยดี ผมคิดว่าอยากให้ดวงอาทิตย์สัมพันธ์กับน้ำ ผมชอบเอาอารมณ์ตอนนั้นใส่เข้าไปในรูปภาพ

1 49 50 51 52 53 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video