[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

เรามองว่า รัฐควรเอางบประมาณมาสอนคนเรื่องเทคนิคการขายของออนไลน์ อาจจะหา 1 คนต่อ 1 ตำบล ไม่ต้องหว่านสอนทุกคน ให้เขาสร้างแบรนด์ขึ้นมา แล้วทำหน้าที่ขายของให้กลุ่ม

“งานพัฒนาชุมชนทำงานอิงกับนโยบายหลักของกรมการพัฒนาชุมชน แต่ละช่วงกรมจัดสรรเรื่องอะไร พัฒนาชุมชนเมือง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มอาชีพ กลุ่มโอทอปชุมชน งานหลากหลายแล้วแต่เขากำหนดให้ ต้องทำงานประสานกับหลายส่วนหลายหน่วยงาน เราเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนตำบลบึงยี่โถ ก็ทำผลงานไปตามกำลังความสามารถจนได้รับรางวัลอาสาพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด เราเป็นคนมีความรู้มีประสบการณ์ในการทำงานกับชาวบ้านเยอะ แต่งานอาสาเป็นงานที่ต้องมีเงิน มีเวลา ต้องทุ่มเท แต่ก็ต้องไม่เบียดบังเวลาชีวิตตัวเองด้วย คนที่มาทำก็จะเป็นคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ สูงอายุบ้าง คนวัยกลางคนก็จะทำธุรกิจส่วนตัวเพราะเขาจัดสรรเวลามาได้ พื้นที่อำเภอธัญบุรีโดดเด่น จะพูดไปก็อยู่ที่งบบริหาร ในความเป็นเมือง เช่นนครรังสิต

ในชุมชนเราอยู่กันแบบพี่น้อง มีความเอื้ออาทรกันตามชื่อหมู่บ้านเลย เพื่อนบ้านก็ต้องผูกมิตรกัน เพื่อเป็นหูเป็นตาให้กัน มันดีกว่ากล้องวงจรปิดอีกค่ะ

“ชุมชนเราเป็นชุมชนเมือง มีขยะประเภทรีไซเคิลเยอะ ป้าก็เป็นแกนนำตั้งกลุ่มจิตอาสารักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเอื้ออาทร 10/2 คลอง 10 เมื่อปี 2558 จากนั้นก็ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จดทะเบียนถูกต้อง พัฒนาขยะรีไซเคิล ทำผลิตภัณฑ์ด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ของเราก็จะมีน้ำยาล้างจานที่ทำจาก EM (Effective Microorganisms กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพที่มีประโยชน์ต่อคน พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม) ซึ่งก็รักษาสิ่งแวดล้อม น้ำที่ล้างลงไปก็จะขจัดคราบไขมันในท่อน้ำทิ้งก่อนจะปล่อยลงแม่น้ำลำคลอง

ภูมิปัญญารอบกว๊าน BCG โมเดล และแรงงานนอกระบบ
สนทนากับ รศ.ดร.ผณินทรา ธรานนท์ ว่าด้วยเมืองแห่งการเรียนรู้ ‘ทั้งจังหวัด’ พะเยา

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลเมืองพะเยา ส่งชื่อพะเยาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ของยูเนสโก พร้อมกับจัดงานฉลองด้วยบรรยากาศชื่นมื่นและเปี่ยมด้วยความหวังร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน ณ ลานหน้าอุทยานวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ริมกว๊านพะเยา นอกเหนือจากการใช้เครื่องมือสุดสมาร์ทที่ทีมวิจัยนำกลไกการบริหารจัดการแบบสตาร์ทอัพอย่าง Hackathon หรือโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG มาปรับใช้กับพื้นที่การเรียนรู้ท้องถิ่น และกลุ่มแรงงานนอกระบบ ความเจ๋งอีกเรื่องของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของที่นี่คือ การที่ทีมนักวิจัยร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา

ประสบการณ์จากโครงการสอนพวกเราด้วยว่า ถ้าไม่หยุดเรียนรู้ ชีวิตก็จะไม่มีทางพบกับทางตัน

“ปีแรกบีจะลงพื้นที่กับอาจารย์เอ (รศ.ดร. ผณินทรา ธีรานนท์) เป็นหลักก่อน ไปสื่อสารกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองพะเยาว่าเรากำลังทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ และเราทุกคนจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ ส่วนน้องๆ คนอื่นๆ จะเป็นผู้ช่วยนักวิจัยแยกกันไป จะทำพวกสืบค้นงานวิจัย งานสถิติ ประสานงาน หรือทำเอกสาร เราไม่รู้จักกันมาก่อน มาเจอกันที่นี่ ทุกคนมีพื้นเพต่างกัน บีเรียนรัฐศาสตร์ ต้องตาเรียนบริหารธุรกิจ ส่วนแตงกวาและเนสเรียนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เอาจริงๆ

ไม่มีปลาส้มที่ไหนอร่อยเท่าของที่พะเยา

“กว๊านพะเยากับการทำปลาส้มคือสองสิ่งที่แม่คุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด กว๊านนี้เพิ่งมาสมัยพ่อแม่ของแม่ ส่วนปลาส้มนี่ทำขายกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตอนเด็กๆ แม่ยังเคยรับจ้างขอดเกล็ดปลาจีน ควักไส้และขี้ออกมา และทุบปลาทั้งตัวเพื่อเอาไปทำปลาส้ม ได้ค่าจ้างวันละหนึ่งบาทห้าสิบสตางค์ นี่เป็นทักษะที่ได้มาตั้งแต่เล็ก พอโตมาแม่ก็ไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ทำปลาส้มขายอย่างเดียว นี่ก็ 40 กว่าปีแล้ว เริ่มจากชำแหละปลาก่อน แยกก้าง หัว หาง และไข่ออก เอาเฉพาะเนื้อ หั่นเป็นชิ้น ล้างน้ำเปล่า

พะเยาของเราเป็นเมืองเกษตร เราอาจไม่เจริญทางวัตถุเท่าเชียงรายหรือเชียงใหม่ แต่เราเป็นคลังอาหารเลี้ยงคนทั้งประเทศ

“ก่อนเข้ารับตำแหน่ง ผมมีโอกาสลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดพะเยา และพบโรงเรียนที่ถูกปิดและทิ้งร้างหลายแห่ง บางแห่งยังมีอาคารที่มีสภาพดีอยู่เลย จึงนึกเสียดายที่จังหวัดเรามีสถานที่ที่มีศักยภาพหลายแห่ง แต่ไม่ได้ถูกใช้งาน และระหว่างสำรวจความต้องการของประชาชน ผมพบว่าเมืองของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง. การจัดสรรอำนาจและงบประมาณที่มักกระจุกตัวอยู่ในตัวเมือง พื้นที่ห่างไกลบางแห่งไม่ได้รับการพัฒนา บางหมู่บ้านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่ต้องพูดถึงเด็กๆ ที่ไม่เคยได้ใช้คอมพิวเตอร์เลยด้วยซ้ำ และสอง. ในเชิงสังคม ทั้งในแง่ที่เมืองเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาที่เกิดจากช่องว่างระหว่างวัย ตรงนี้เองที่ผมคิดว่าเราน่าจะพัฒนาโรงเรียนที่ถูกทิ้งร้างตามพื้นที่ต่างๆ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงและส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างผู้คนสามรุ่นด้วยกัน

กระเป๋าผ้าทรงปลานี่แหละ พอจะอวดได้ว่าเป็นของที่ระลึกหรือของฝากจากเมืองพะเยา

“พี่เริ่มรวมกลุ่มก่อนโควิดมาหลายปีแล้ว ตอนนั้นทางเทศบาลเมืองพะเยาเข้ามาส่งเสริมอาชีพให้กับแม่บ้านและคนวัยเกษียณที่อยู่บ้านเฉยๆ ในชุมชน ก็รวมกลุ่มกันได้สามสิบกว่าคนมาคุยกันว่าอยากทำอะไร แล้วสรุปได้ว่าเป็นงานกระเป๋าที่ทำจากผ้า พวกกระเป๋าเป้ กระเป๋าสะพาย และกระเป๋าสตางค์ รวมถึงงานผ้าอื่นๆ เพราะทุกคนสามารถทำเองได้จากที่บ้าน ช่วงแรกๆ ก็ได้เทศบาลนี่แหละที่หาตลาดให้ เพราะเขาจะมีเทศกาลหรือพวกงานออกร้านสินค้าจากชุมชนอยู่บ่อยๆ หรือเวลาข้าราชการจากองค์กรไหนท่านเกษียณ เขาก็ออร์เดอร์ให้ทางกลุ่มทำกระเป๋าเป็นของที่ระลึก ซึ่งก็สร้างรายได้ให้ทางกลุ่มให้ทุกคนพออยู่ได้ แต่พอโควิดเข้ามา งานจัดไม่ได้ เราก็ขายกระเป๋ากันไม่ได้ ทางกลุ่มแม่บ้านก็เลยหยุดไปพักหนึ่ง มาจน อาจารย์เอ

กว๊านพะเยาจึงเป็นทั้งแหล่งทำมาหากิน แหล่งอาหารประทังชีวิต แหล่งพักผ่อน และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ

“นักท่องเที่ยวมักถามผมว่าทำไมจึงมีบ่อน้ำผุดขึ้นมาในกว๊าน ก็ในเมื่อตรงนี้เป็นแหล่งน้ำทำไมยังมีบ่อน้ำอยู่ (หัวเราะ) คือกระทั่งคนพะเยาเองบางคนก็อาจลืมไปแล้วว่าเมื่อ 80 กว่าปีก่อน พื้นที่กว๊านตรงนี้ทั้งหมดเคยเป็นหมู่บ้าน คนที่อยู่ทันเห็นสภาพเดิมส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตไปหมดแล้ว บ่อน้ำตรงนั้นจึงเป็นอนุสรณ์ให้เรายังจำได้อยู่ว่าเมื่อก่อนตรงนี้เคยเป็นอะไร ผมเป็นคนตำบลบ้านตุ่น ตรงท่าเรือโบราณบ้านทุ่งกิ่ว เมื่อก่อนพ่อผมเป็นทหารรับใช้จอมพล ผิน ชุณหะวัน ที่กรุงเทพฯ แกย้ายมาอยู่พะเยาช่วงสงครามโลก สมัยนั้นพะเยายังมีถนนไม่ทั่วถึง การจะเดินทางไปโรงเรียนซึ่งอยู่ในเขตตัวเมือง คือต้องนั่งเรือข้ามกว๊านไป ผมจำได้ว่าค่าเรือรอบหนึ่งแค่ 50 สตางค์

ทั้งราก ใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก สามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปได้หมด นี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด

“พี่กับสามีเริ่มทำสวนนนดาปี 2548 เนื่องจากเราเป็นข้าราชการทั้งคู่ ก็เลยจะมีเวลาทำสวนแห่งนี้เฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ จึงเรียกกันเล่นๆ ว่าสวนวันหยุด ทำไปได้สักพัก สามีพี่ตัดสินใจลาออกจากราชการมาทำสวนเต็มตัว ส่วนพี่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนเมษายน 2565 นี้เอง เราทำเกษตรปลอดสารและสวนสมุนไพร เพราะเห็นว่าสองสิ่งนี้คือขุมสมบัติดีๆ นี่เอง ไม่ได้หมายถึงว่าสวนนี้เป็นแหล่งธุรกิจจริงจังอะไร แต่ทั้งราก ทั้งใบ หรือผลของต้นไม้ที่เราปลูก เราสามารถนำไปกินหรือไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้หมด จึงมองว่านี่แหละสมบัติที่เรามีกินไม่มีวันหมด นอกจากผักและผลไม้ที่ได้โดยตรงจากสวน สามีพี่

1 50 51 52 53 54 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video