สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ในฐานะที่พี่เคยเป็นพยาบาล ก็คิดว่าหนึ่งในผลสำเร็จของอาชีพเราก็คือการได้เห็นผู้คนมีสุขภาพที่ดี แล้วสุขภาพที่ดีเริ่มจากอะไร ก็เริ่มจากอาหารการกินที่มีประโยชน์และไม่ทำให้เราป่วย ความคิดเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์จึงเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนที่พี่จะเออร์ลี่รีไทร์ แฟนพี่เป็นคนพะเยา เขาเป็นวิศวกรในบริษัทรถยนต์ ก่อนที่จะเกษียณออกมา เราใช้เงินเก็บส่วนหนึ่งซื้อที่ดินที่อำเภอดอกคำใต้ไว้ เราทั้งคู่ก็กลับมาดอกคำใต้ เริ่มสิ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ปี 2559 เราตั้งชื่อสวนว่า ‘ผ่อโต้ง’ ซึ่งเป็นคำเมือง แปลว่าดูสวน คิดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราอยากทำการเกษตรที่พิถีพิถันตั้งแต่ต้นจนถึงปลายน้ำ การหมั่นไปดูสวนของเราเองนี่แหละคือหัวใจหลัก เราเริ่มจากปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์พันธุ์ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าถ้ามาจากดินในอำเภอดอกคำใต้นี่จะหอมและอร่อยที่สุด นอกจากข้าว
“แม้กองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา จะมีหน้าที่ในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงกับทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาลำพังหน่วยงานเทศบาล เราหาได้มีกลยุทธ์เชิงวิชาการมากนัก การร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่ขับเคลื่อนโดยมหาวิทยาลัยพะเยา จึงสร้างแต้มต่อให้การขับเคลื่อนการศึกษาในเมืองของเราให้รุดหน้ามากยิ่งขึ้น โดยที่ทางมหาวิทยาลัยพะเยามาเสริมให้เรา คือการสานเครือข่ายจนทำให้นักเรียนและประชาชน เข้าถึงการศึกษาที่ตอบโจทย์กับการทำงาน การใช้ชีวิต และทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เห็นได้ชัด คือเมื่อมองหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เรามีวิชาวิทยาการคำนวณเปิดสอนเป็นปกติอยู่แล้ว แต่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ได้เชื่อมวิชานี้เข้ากับผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ยกระดับภาควิชาสู่การเขียนโค้ดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
“ถ้าไม่ติดงานอะไร ผมมักจะปั่นจักรยานมานั่งดื่มกาแฟริมกว๊านอย่างนี้ทุกเช้า ตอนแรกก็ทำกาแฟดริปขายคนที่มาเดินเล่นเหมือนกันครับ แต่พอมีข้อห้ามไม่ให้มีรถเข็นมาขายเกิน 11 โมง ผมก็เลยไม่ขาย ใครอยากดื่มกาแฟ ผมทำเสิร์ฟเลย ก็กลายเป็นว่าพอมีคนมาดื่มของผมไป คราวต่อมาเขาก็เอาเมล็ดกาแฟมาแบ่งให้ลอง เป็นการตอบแทน อาชีพของผมคือช่างกระจกและอลูมิเนียมครับ ก่อนหน้านี้เคยทำงานอยู่กรุงเทพฯ แต่อยู่จนถึงจุดจุดหนึ่งแล้วคิดว่าเราอยู่กรุงเทพฯ ต่อไม่ไหว เลยกลับมาทำงานที่บ้าน กรุงเทพฯ อะไรก็เป็นเงินเป็นทองไปหมด แค่อยากจะมานั่งสวนสาธารณะหรือริมแม่น้ำแบบนี้ ก็ต้องเสียค่าเดินทาง และความที่เป็นเมืองใหญ่ก็บีบคั้นให้คนต้องแข่งขัน
“ผมมาประเทศไทยครั้งแรกจากการเข้าร่วมเป็นศิลปินพำนักในโครงการศิลปะ One Year Project ของมูลนิธิที่นา (The Land Foundation) ที่อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2007 การมาใช้ชีวิตครั้งนั้นนอกจากได้รู้จักเพื่อนศิลปินในเชียงใหม่หลายคน ยังพบเสน่ห์จากวิถีชนบทในภาคเหนือของประเทศไทย และนั่นทำให้เมื่อกลับไปทำงานที่สหรัฐอเมริกา ผมก็ยังมีความคิดถึงบรรยากาศแบบนี้อยู่ จากนั้นไม่นาน ก็มีโอกาสได้กลับมาอีกครั้งในฐานะศิลปินพำนักของโครงการคำเปิงในอำเภอดอยสะเก็ด ที่นั่นไม่เพียงทำให้ผมพบหลุยส์ คู่ชีวิต แต่ยังได้พบกับอาจารย์โป้ง (ปวินท์
“คุณทราบไหมว่าสาเหตุที่รัฐตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยนเรศวรไว้ที่จังหวัดพะเยา ซึ่งมีทำเลค่อนข้างห่างไกลกว่าจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือ ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจค้าบริการ ในอดีต พื้นที่หนึ่งในจังหวัดพะเยา ขึ้นชื่อเรื่องการที่ผู้หญิงท้องถิ่นออกจากหมู่บ้านเพื่อเข้าทำงานค้าบริการในเมืองใหญ่ๆ จะเป็นเพราะถูกหลอก สมัครใจด้วยตนเอง หรือพ่อแม่เป็นคนตัดสินใจก็ตาม แต่จำนวนผู้หญิงที่เข้าสู่ธุรกิจที่มากเป็นพิเศษนี้ ทำให้มีหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าเพราะผู้คนในพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษา ทำให้ผู้หญิงหลายคนตัดสินใจดำเนินชีวิตด้วยรูปแบบนี้ และในเมื่อเราต้องการให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงการศึกษา เราก็จำเป็นต้องมีพื้นที่การศึกษา จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นนั่นเอง แม้เรื่องที่เล่ามานี้จะไม่ใช่สาเหตุหลัก แต่ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตพะเยา หรือที่ต่อมาจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยพะเยา นับตั้งแต่การก่อตั้งจนถึงทุกวันนี้ คือนำความรู้มาให้บริการและพัฒนาชุมชน
“ดิฉันเห็นว่ากองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองพะเยา กับโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยพะเยา มีปลายทางเดียวกัน นั่นคือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งในที่นี้หมายถึงประชาชนชาวพะเยาของเรานี่เอง เพราะไม่ว่าเราจะออกแบบกิจกรรมด้วยการดึงต้นทุนของเมืองพะเยาด้วยวิธีการไหน การชวนกันทำบ้านดินริมกว๊านเอย เพ้นท์ผ้าจากใบไม้เอย ทำขนมเอย หรือส่งเสริมให้เกิดวิชาชีพใดๆ สุดท้ายผลลัพธ์ที่เรามองตรงกันคือการทำให้ชาวบ้านที่ด้อยโอกาสกลับมามีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง นักเรียนมีทักษะทางวิชาชีพใหม่ๆ ที่มากกว่าสิ่งที่เรียนรู้ในห้องเรียน และผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่ช่วยสร้างคุณค่าและความภูมิใจให้เขาเอง อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่ง การได้ร่วมงานกับทางโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเทศบาลได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อันหลากหลายด้วย ทั้งจากกิจกรรมการเรียนรู้ที่โครงการส่งเสริมชาวบ้าน และการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันกับคณาจารย์และนักวิจัย
“พะเยาเรามีทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่ามากนะครับ ปัญหาก็คือที่ผ่านมาเรายังไม่สามารถพัฒนาต้นทุนทางคุณค่าให้เป็นมูลค่าได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็อาจจะเพราะเจ้าของต้นทุนไม่รู้จะแปลงมันให้เป็นเงินอย่างไรดี ไม่รู้จักตลาด หรือเพราะขาดการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป้าหมายหนึ่งของมหาวิทยาลัยพะเยานับตั้งแต่ก่อตั้งคือการบริการชุมชน ร่วมงานกับชาวบ้าน เกษตรกร ชาวประมง ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อใช้ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัยช่วยยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรามีโครงการและหน่วยงานที่ทำงานด้านนี้อยู่ไม่น้อย ตั้งแต่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยสัตว์ทดลอง ศูนย์เครื่องมือกลาง เป็นต้น แต่ก็เช่นเดียวกับที่เรามองเห็นถึงความไม่เชื่อมประสานที่เกิดขึ้นในเมือง ในระดับมหาวิทยาลัย เราก็พบว่าแต่ละหน่วยงานก็มีการทำงานไปในทิศทางของตัวเองแบบต่างหน่วยต่างทำ
“ก่อนหน้านี้ ผมเป็นสัตวแพทย์อยู่กองงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองพะเยา และมีโอกาสทำโครงการพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ ได้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในสิ่งที่เราทำ และพบว่าการได้แบ่งปันความรู้ให้คนอื่นๆ ได้ใช้ประโยชน์นี่เป็นเรื่องที่ดีและน่าภูมิใจนะ หลังเออรี่รีไทร์ ผมกับแฟนตัดสินใจย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง เรามีที่ดินอยู่สองไร่ ตอนแรกคิดว่าคงจะใช้ชีวิตเกษียณ ทำสวนครัว และพักผ่อนที่นี่ แต่ความที่ผมมีทักษะเป็นวิทยากรและมีเครือข่ายที่เทศบาล คนที่นั่นเขาก็ชวนให้เราทั้งคู่ทำบ้านให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง เพราะวิถีชีวิตเราก็เป็นไปตามครรลองนี้อยู่แล้ว ก็เลยเปิดพื้นที่ให้คนจากเทศบาลชวนเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่สนใจมาเรียนรู้ ขณะเดียวกัน ความที่ชุมชนเกษตรพัฒนาที่เราอยู่เนี่ย ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ ตอนกลางวันถ้าลูกหลานไม่ออกไปทำการเกษตรก็จะไปเรียนหรือทำงานในเมือง ผู้สูงวัยก็อยู่บ้านกันเฉยๆ ไม่ได้ทำอะไร
เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เรามีลูกชายและพบว่าน้องทีม ลูกของพี่มีอาการออทิสติก คุณหมอก็บอกว่าการใช้ชีวิตในเมืองที่ค่อนข้างพลุกพล่านอย่างเชียงใหม่อาจไม่เหมาะต่อพัฒนาการ เราก็เลยตัดสินใจพาลูกกลับมาบ้านที่พะเยา ตอนนั้นไม่มีความรู้อะไรเรื่องดูแลเด็กที่มีอาการออทิสติกเลย แต่ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไป ส่งเข้าโรงเรียนอนุบาลก็ผ่านมาได้ แต่พอขึ้น ป.1 น้องทีมปรับตัวเข้ากับโรงเรียนไม่ได้ เพราะโรงเรียนไม่มีครูหรือหลักสูตรที่ใช้สอนเด็กออทิสติกเลย ย้ายไปมาอยู่ 3 โรงเรียน จนมาเจอศูนย์การศึกษาเด็กพิเศษ และพบผู้ปกครองเด็กพิเศษที่ประสบปัญหาเหมือนเรา ก็เลยมีการรวมตัวกัน ขอให้ศูนย์จัดทำห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก ซึ่งทางศูนย์ก็ประสานโรงเรียนในพะเยาให้ส่งครูมาสอนประกบคู่กับเจ้าหน้าที่ที่มีทักษะสอนเด็กพิเศษของศูนย์ จนเกิดเป็นห้องเรียนคู่ขนานเกิดขึ้นครั้งแรกในพะเยา
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.