สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ที่คนแก่ชอบส่งสติ๊กเกอร์ไลน์หากัน ก็เพราะคิดถึงเพื่อน คิดถึงลูกหลาน บางครั้งหลายคนอาจลืมไปว่าคนชราก็ต้องการเพื่อน ต้องการเข้าสังคมเหมือนคนวัยอื่นๆ ถ้าไปดูสัดส่วนของสถิติประชากรในเขตเทศบาลเมืองพะเยา เรามีคนสูงวัยเกินกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด แต่ในขณะที่คนวัยอื่นๆ มีพื้นที่ให้ได้พบปะ หรือมีกิจกรรมให้ได้ทำร่วมกัน ในขณะที่พื้นที่ของผู้สูงอายุ พะเยากลับมีน้อย และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็ได้แต่อยู่บ้าน ซึ่งก็ส่งผลให้พวกเขาเกิดอาการซึมเศร้า หรือพอไม่มีพื้นที่ได้ผ่อนคลาย ก็อาจทำให้ง่ายต่อการเจ็บป่วย ไม่นับรวมบางคนที่ต้องป่วยติดเตียงอยู่บ้านอีกไม่น้อย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพ เป็นพื้นที่ที่เทศบาลเมืองพะเยาตั้งขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมของผู้สูงอายุในเมือง โดยก่อนโควิด-19 เรามีสมาชิกที่อาศัยอยู่ใน
“เราเรียนมาทางดุริยางคศิลป์ หลังจากเรียนจบก็เป็นครูสอนดนตรี และเล่นดนตรีกลางคืนอยู่เชียงใหม่อยู่พักใหญ่ๆ จนประมาณ 5 ปีที่แล้ว เราอกหัก ตอนนั้นเป็นอารมณ์ชั่ววูบเหมือนกัน ตัดสินใจขับรถกลับบ้านที่พะเยา แม่ก็เปิดประตูบ้านรับ หลังจากนั้นก็ไม่ให้ไปไหนเลย (หัวเราะ) ตอนแรกก็ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรหรอก พ่อแม่เราเป็นข้าราชการเกษียณ พี่ชายขายก๋วยเตี๋ยวเป็ด ส่วน ค่าจ้างนักดนตรีของที่นี่ก็ถูกกว่าเชียงใหม่เกือบครึ่ง ทำเป็นอาชีพแทบไม่ได้ ที่สำคัญเราพบว่าพะเยาเงียบมากๆ คือในแง่การใช้ชีวิตอยู่ มันก็สงบและสะดวกสบายดีหรอก แต่ถ้าเทียบกับเชียงใหม่ที่เราอยู่มา
“แม้เทศบาลเมืองพะเยาจะมีนโยบายที่จะขับเคลื่อนพะเยาให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ เศรษฐกิจดี และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราอยู่แล้ว แต่การได้ร่วมมือกับทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา ก็ช่วยยกระดับการทำงาน รวมถึงเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจให้กับชาวบ้านได้อย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของความคิดสร้างสรรค์และการส่งเสริมทักษะความรู้ใหม่ๆ ที่เห็นได้ชัดคือการที่มีทีมอาจารย์ร่วมกับผู้ประกอบการที่ทำสินค้า OTOP ออกแบบฉลากสินค้า บรรจุภัณฑ์ การถนอมอาหาร ไปจนถึงแบรนด์ดิ้ง เปลี่ยนภาพลักษณ์จากสินค้าท้องถิ่นที่เป็นมาให้ดูมีความเป็นสากลมากขึ้น ช่วยขยายตลาดให้สินค้าได้มากกว่าเดิม หรืออย่างเรื่องการศึกษา ในฐานะตัวแทนสำนักงานเทศบาล ผมรู้สึกปลื้มใจที่ทีมงานจากมหาวิทยาลัย ได้ประสานให้เกิดวิชาใหม่ๆ ในโรงเรียนสังกัดเทศบาล อย่างวิชาการเขียน
“จริงๆ ก็เป็นการจับผลัดจับผลูพอสมควรครับ ก่อนหน้านี้ผมเป็นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก สอนอยู่สักพัก เพื่อนรุ่นพี่เขาทำหลักสูตรศิลปะขึ้นมาใหม่ให้วิทยาเขตพะเยา (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา) ผมอ่านหลักสูตรแล้วสนใจ เลยย้ายมาสอนประจำที่นี่ ทุกวันนี้สอนมา 8 ปีแล้ว ผมสนใจหลักสูตรนี้ตรงที่เขามุ่งเน้นให้ศิลปะ งานออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์รับใช้ชุมชน หาใช่การผลิตบัณฑิตศิลปะเพื่อเข้าหาแวดวงศิลปะเป็นศูนย์กลาง ต้องเข้าใจก่อนว่าเวลาคุณเป็นนักเรียนมัธยมปลายที่อยากเรียนปริญญาด้านศิลปะ คุณก็จะมุ่งไปหามหาวิทยาลัยศิลปากร ลาดกระบัง หรือวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น้อยคนนักที่อยากจะเรียนศิลปะในมหาวิทยาลัยที่เพิ่งเปิดใหม่
ชมเรื่องราวการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ตามกรอบการพัฒนาขององค์การ UNESCO บนฐานทรัพยากรด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองในพื้นที่วิจัย 3 จังหวัด ได้แก่ เมืองเชียงใหม่ เมืองลำปาง และเมืองพะเยา
“ผมเคยเป็นผู้จัดการร้านเหล้าที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นงานที่ทำระหว่างเรียนปริญญาตรีจนกระทั่งเรียนจบ จากนั้นก็ไปลองใช้ชีวิตและทำงานหลายอย่างที่แอลเอ ราว 2 ปี ก่อนกลับมาหางานทำที่เชียงใหม่อีกสักพัก แล้วกลับมาอยู่บ้านที่พะเยาก็ได้รู้จักอาจารย์โป้ง (ปวินท์ ระมิงค์วงศ์) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะอยู่ที่มหาวิทยาลัยพะเยา อาจารย์โป้งเป็นอีกคนที่ทดลองใช้ชีวิตมาหลายที่ก่อนจะมาปักหลักที่พะเยา ผมกับอาจารย์โป้งเห็นตรงกันว่าพะเยายังขาดพื้นที่สร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ เราจึงร่วมหุ้นกันเปิด Junk Yard เป็นทั้งบาร์และอาร์ทสเปซ มีกิจกรรมฉายหนัง แสดงงานศิลปะ และดีเจ นั่นคือเมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้วครับ
กุกุฎนคร อาลัมภางค์ เขลางค์นคร เมืองละคร นครลำปาง ฯลฯ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งจากทั้งหมด 11 ชื่อที่ผู้คนในยุคต่างๆ เคยใช้เรียกเมืองที่ปัจจุบันรู้จักกันดีในนาม ‘จังหวัดลำปาง’ โดยสาเหตุที่ทำให้เมืองรุ่มรวยไปด้วยชื่อเรียกมากขนาดนี้ ก็เพราะเมื่อสืบสาวจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ จะพบว่าเมืองลุ่มแม่น้ำวังแห่งนี้มีอายุเก่าแก่ถึง 1,300 ปี และใช่ นอกจากภาพจำถึงรถม้าและชามตราไก่ ด้วยอายุที่ยาวนานอันมาพร้อมกับโบราณสถานที่ยังคงหลงเหลืออยู่ท่ามกลางวิถีของเมืองสมัยใหม่ หลายคนจึงจดจำลำปางในฐานะ ‘เมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต’ –
ดร.ขวัญนภา สุขคร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต บอกเราว่าสาเหตุที่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ลำปางขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพราะลำปางมีพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากตัวสถาบันของเธอเองมีส่วนขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับเครือข่ายชุมชนมามากกว่า 20 ปี ก่อนที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า Learning City คืออะไรเสียอีก “พันธกิจของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง คือการสกัดองค์ความรู้เพื่อร่วมพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเราก็มีส่วนร่วมในการทำแผนพัฒนาจังหวัดลำปางมามากกว่า 10 ปี อย่างไรก็ดี ปัญหาหนึ่งที่เราพบบ่อยครั้งก็คือ แม้หน่วยงานภาครัฐจะมีงบประมาณอยู่พอสมควร
“สมัยปู่ผมเป็นหนุ่ม แกซื้อที่ดินขนาด 2 ไร่ที่ติดแม่น้ำวังในชุมชนบ้านต้าไว้ และก็ปล่อยให้มันเป็นป่ารกมาอย่างนั้นมาหลายปี มีเหตุการณ์หนึ่งที่จุดประกายสู่อาชีพของผมทุกวันนี้ คือความที่พ่อผมเอาป้ายคำว่ายินดีต้อนรับมาติดไว้ตรงรั้วของที่ดินนั้น แล้วมีคนจากตัวเมืองลำปางขับรถมาถามพ่อว่าร้านอาหารเราเปิดหรือยัง พ่อก็บอกเราไม่ได้ทำร้าน ตรงนั้นเป็นแค่ที่ดินรก ตอนนั้นผมยังทำงานเป็นวิศวกรโรงงานอยู่ที่จังหวัดระยอง ส่วนแฟนทำงานนิตยสารอยู่ที่กรุงเทพฯ เราก็คุยกันว่าจริงๆ ที่ดินตรงนั้นมันมีศักยภาพนะ ขนาดร้าง คนยังเข้าใจผิดว่าเป็นร้านเลย ก็ประจวบเหมาะกับที่ผมรู้สึกอิ่มตัวกับงานประจำที่ทำมา 8 ปีแล้วด้วย ก็เลยบอกกับแฟนว่างั้นเรากลับลำปาง ลองทำร้านกาแฟจากที่ดินตรงนั้นกัน โดยตั้งชื่อว่า
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.