[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ผมและน้องไม่มีครอบครัว ก็เลยคิดไม่ออกเหมือนกันว่าหมดรุ่นเราแล้วจะเอายังไง ก็อาจต้องปิดไปนะถ้าไม่มีใครมาสานต่อ

“กาดบริบูรณ์ปราการเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆ ของลำปาง ที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้า คนลำปางจะมาซื้อพวกเสื้อผ้า ชุดนักเรียน ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องมือการเกษตร ไปจนถึงเบ็ดแหที่นี่ เขาเรียกกาดแห่งนี้ว่า ‘กาดมืด’ เพราะตลาดมันอยู่ในพื้นที่หลังตึกแถวกลางเมืองโดยมีโครงสร้างหลังคามาคลุมทับอีกที เป็นตลาดในร่มที่แรกของเมือง ได้ยินมาจากเตี่ยว่าแต่เดิมตลาดนี้ทันสมัยที่สุดในเมืองแล้ว แต่ความที่มันดูมืดๆ คนเลยเรียกติดปาก ผมขายก๋วยเตี๋ยวที่นี่กับน้องสาวมาสามสิบกว่าปีแล้ว รับกิจการต่อมาจากเตี่ย ซึ่งเตี่ยเปิดร้านมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. 2500 เตี่ยรับกิจการมาจากอากงอีกทอด อากงกับเตี่ยมาจากเมืองจีน

ลำปางเป็นเมืองเล็กที่น่าจะมีการพัฒนาที่คล่องตัวกว่านี้ แต่ที่ผ่านมา เสียงของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเราไม่ค่อยถูกส่งไปถึงผู้ใหญ่สักเท่าไหร่

“เรามีกันประมาณ 40 คนได้ครับ ทุกคนในเมืองจะสลับกันมาเล่นสเก็ตบอร์ดกันตรงนี้ (ลานด้านหน้าหอปูมละกอน บริเวณ 5 แยกหอนาฬิกาเมืองลำปาง) เล่นด้วยกันมาหลายปีแล้ว เมื่อก่อนก็กระจายกันเล่น หลักๆ จะเล่นที่ลานด้านหน้าสวนสาธารณะเขลางค์นคร แต่เดี๋ยวนี้เล่นไม่ได้แล้วเพราะพื้นสึกหมด ส่วนอีกที่คือลานจอดรถของเซ็นทรัลลำปาง แต่ที่ห้างฯ มักใช้จัดงานอีเวนท์ สุดท้ายเลยมารวมตัวกันที่นี่ ที่นี่เป็นพื้นที่ของเทศบาลครับ ตอนแรกเขาก็ไม่อนุญาตให้เล่นหรอกครับ เพราะถ้านานๆ ไปพื้นตรงนี้ก็อาจมีความเสียหายได้ แต่เราก็ต่อรองบอกว่าเมืองควรต้องมีพื้นที่ให้พวกเรา

ความท้าทายสำคัญของชุมชนท่ามะโอตอนนี้คือ เรายังไม่สามารถเปลี่ยนให้ชุมชนเป็นมากกว่าสถานที่ที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาถ่ายรูปเช็คอินเฉยๆ ได้

“ก่อนจะกลับลำปาง ผมทำงานดูแลระบบไอทีให้โรงงานที่จังหวัดระยอง ทำอยู่สองปี แล้วอยากกลับมาอยู่บ้าน เลยลาออก มาสมัครทำงานแผนกไอทีของโรงพยาบาลเอกชนที่เชียงใหม่ แต่พบว่าในสายงานใกล้เคียงกัน เงินเดือนที่เชียงใหม่ซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือแล้ว ยังน้อยกว่าเงินเดือนที่ระยองหลายเท่า นับประสาอะไรกับลำปาง ผมเชื่อนะว่าถ้าฐานเงินเดือนในต่างจังหวัดมันดีกว่านี้ คนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งเขาก็ไม่อยากดิ้นรนในเมืองใหญ่หรอกครับ ผมทำงานอยู่เชียงใหม่ได้พักหนึ่ง ก็ได้งานที่ธนาคารในลำปาง แต่ตอนนั้นเริ่มมีความคิดอยากทำธุรกิจของตัวเองแล้ว ซึ่งก็มีพี่คนหนึ่งไปชวนเรียนทำขนมเค้ก พอไปเรียนแล้วพบว่าเราสนุกกับมัน จากนั้นก็เรียนทำขนมปัง และขนมอื่นๆ จนชำนาญและเริ่มทำส่งขายตามร้านกาแฟในจังหวัด ไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าตัวเองจะเป็นคนทำขนม จากที่ทำสนุกๆ

การจัดทำข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเรียนรู้ตัวเองของคนในชุมชน

โครงข่ายท้องถิ่นกับการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน 3 พื้นที่ ได้แก่ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี ชุมชนช้างม่อย และชุมชนป่าห้า-นิมมานฯ โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลท้องถิ่น โดยร่วมกับคนในชุมชนและคนภายนอกในการวิเคราะห์ นำเสนออนาคตการพัฒนาชุมชนในหลายแง่มุม ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ infographic ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1ZN3F0WQoDA5G9uM90El0fB74gqPYSvRG/view?usp=sharing ข้อมูลการศึกษาท้องถิ่น (Local Study) จากโครงการโครงข่ายท้องถิ่นกับการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ โดย รศ.ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ และคณะนักวิจัย

เมื่อการปรับเปลี่ยน พลิกโฉมเมืองเชียงใหม่

Timeline ประวัติศาสตร์และพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงชุมชนเชียงใหม่เมืองแห่งการเรียนรู้ เรื่องราวความทรงจำและหมุดหมายวันเวลาของ 3 ชุมชนหลักในเขตเมืองเก่า และย่านเศรษฐกิจเมืองเชียงใหม่ (ช้างม่อย, ควรค่าม้าสามัคคี และชุมชนป่าห้า-นิมมานฯ) จากเมืองเก่า และย่านที่อยู่อาศัย สู่ความเป็นย่านการค้าสำคัญ ทั้งธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจสร้างสรรค์ ดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ infographic ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/16EoYcFQwCjPlZEsCiSIL_kQATNkpy-3p/view?usp=sharing ___ ข้อมูลการศึกษาท้องถิ่น (Local Study)

Enjoy your time in Chiang Mai เชียงใหม่: เมืองแห่งการเรียนรู้ไม่รู้จบ

จากยอดดอยสู่สายน้ำ สำรวจพื้นที่แห่งการเรียนรู้ตามคำขวัญเมืองเชียงใหม่ 10 ล้านคนต่อปีคือจำนวนโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่มาเยือนเชียงใหม่ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมากเป็นอันดับต้นๆ ของภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่ข้อมูลจากสื่อท่องเที่ยวระดับสากลยังระบุอีกว่าเชียงใหม่ได้รับการโหวตให้ติดอันดับ top 10 เมืองน่าเที่ยวที่สุดในเอเชียต่อเนื่องมาหลายปี กระนั้นก็ตาม เชียงใหม่ก็หาได้มีดีแค่การท่องเที่ยว           อดีตเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนา เมืองต้นธารทางศิลปวัฒนธรรมของภาคเหนือ ศูนย์กลางของสล่าหัตถกรรม นครแห่งศิลปะ พื้นที่บุกเบิกการปลูกพืชเมืองหนาวไปจนถึงเมืองต้นแบบของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศ และแน่นอน เมืองหลวงของภาคประชาสังคม ฯลฯ เหล่านี้เป็นเพียงบางนิยามของจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ

ลำปางเรามีต้นทุนที่ดีมากๆ ทั้งทำเลที่เชื่อมจังหวัดในภาคเหนือตอนบน
ตอนล่าง และทางตะวันออกเข้าด้วยกัน เราน่าจะพัฒนาโลจิสติกให้เพิ่มมูลค่ากว่านี้ได้

“ผมเคยไปทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทผลิตรถที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รู้จักจังหวัดเล็กๆ ชื่อ ไอจิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหุบเขาโครังเค ในแต่ละปีคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจะไปชมใบไม้เปลี่ยนสีที่หุบเขานั้นเป็นประจำ ตัวเมืองเขาจะเล็กๆ เงียบๆ แต่ทุกคนก็จดจำเมืองนี้ได้เพราะโครังเค ไอจิทำให้ผมคิดถึงลำปาง ความที่เมืองเราถูกจดจำในฐานะเมืองผ่าน แต่ขณะเดียวกันเราก็มีทรัพยากรที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ลำปางถูกจดจำในฐานะเมืองรถม้า เมืองเซรามิก หรือที่หลายคนอาจไม่ทราบว่าเราเป็นที่ตั้งของโรงงานครั่งที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ขณะเดียวกันตามพื้นที่รอบนอก ลำปางก็เป็นเมืองที่มีทัศนียภาพของภูเขาที่งดงาม ผมเคยคิดเล่นๆ ว่าถ้าหน่วยงานท้องถิ่นลองร่วมมือกันปลูกไม้ดอกที่เป็นเอกลักษณ์ริมถนนนอกเมืองสักสาย ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่เมื่อถึงเวลาต้นไม้ผลิดอกออกสีสันสดใส คงช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนได้ไม่น้อย

ลำปางมีศักยภาพมาก แต่มันไม่อาจจะพัฒนาไปได้ ถ้าไม่มีการร่วมมือทั้งจากรัฐกับเอกชน และคนรุ่นก่อนหน้ากับคนรุ่นใหม่

“หลังเรียนจบ เราไปทำงานที่ฮ่องกงมาเกือบ 6 ปี จนอากงป่วยหนัก เลยตัดสินใจกลับบ้าน ครอบครัวเราเปิดร้าน ‘ท่งเฮงกี่’ ขายกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น หมูสวรรค์ ซึ่งเปิดในย่านสบตุ๋ยของเมืองลำปางมา 80 กว่าปีแล้ว สมัยตั้งแต่รุ่นคุณทวดท่านย้ายมาจากซัวเถา ความที่สมัยเด็กๆ เราช่วยงานเตี่ย จึงรู้กรรมวิธีทั้งหมด พออากงเสียชีวิต เราก็เลยมาสานต่อธุรกิจเต็มรูปแบบร่วมกับเตี่ย โดยเราเป็นรุ่นที่

อาชีพคนขับรถม้าคิดเป็นสัดส่วน 1 ในล้านคนของประเทศ นี่เป็นอาชีพที่ไม่ธรรมดา และควรอนุรักษ์วิถีนี้ไว้ให้คู่เมืองลำปาง สิ่งนี้มีคุณค่ามากพอให้ต้องสู้ไปกับมันเพื่อวันข้างหน้า

“พ่อผมเป็นทั้งคนขับรถม้าและคนฝึกม้า ตอนเด็กๆ เวลาพ่อผมไปขับรถม้าพานักท่องเที่ยวชมเมือง แกจะพาผมนั่งติดรถไปด้วย ผมขึ้นหลังม้าตั้งแต่อายุราว 5-6 ขวบ พออายุ 8 ขวบ พ่อก็ให้จับสายขับและฝึกควบคุมม้า จนผมอายุ 12 ปี จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันที่ 5 ธันวาคม พ่อออกไปทำธุระนอกบ้านพอดี ผมเลยถือโอกาสพานายบุญทอง ม้าที่พ่อให้ผมใช้ฝึกลากรถออกไปเข้าคิวรับลูกค้า ความที่ผมนั่งรถม้ากับพ่อมาตลอด เลยจดจำเส้นทางได้แม่น

1 55 56 57 58 59 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video