สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“กระชายมันชอบขึ้นริมตลิ่ง สังเกตดูที่ดินริมแม่น้ำป่าสัก หมู่ 8 (บ้านช่องใต้ ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย) เนี่ย จะมีกระชายขึ้นเองเยอะไปหมด ชาวบ้านแถวนี้เขาก็เก็บส่งขายพ่อค้าคนกลาง เป็นรายได้กันจริงจัง จนมีอยู่วันหนึ่งสักสิบกว่าปีที่แล้ว ช่วงนั้นกระชายล้นตลาดและราคามันตก ชาวบ้านเขาก็เก็บกระชายมากองรวมกัน 3-400 กิโลกรัมได้นี่แหละ ปรากฏว่าพ่อค้าคนกลางเขาไม่มารับซื้อ ก็ไม่รู้จะทำยังไงกันดี วันนั้นนั่นแหละที่ป้าเอากระชายที่กองไว้ส่วนหนึ่งกลับบ้าน เอาไปขัดล้างทำความสะอาด ที่บ้านป้ามีเครื่องบดอยู่ตัวหนึ่ง ก็เลยลองบดกระชายและคั้นออกมาเป็นน้ำ
“พี่เป็นคนอยุธยา แต่สามีเป็นคนแก่งคอย พอแต่งงานกัน ก็เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ มาช่วยสามีทำกระชังปลาที่ตำบลบ้านป่า (พงศ์ศักดิ์แพปลา) สามีพี่ทำแพปลาจนอยู่ตัวและส่งลูกเรียนจนจบหมด พี่ก็เริ่มมีเวลาว่าง เลยชวนแม่บ้านมาตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชนด้วยกัน เพราะเห็นว่าแต่ละคนก็มีทักษะการทำขนม เลยเอาความรู้มาแบ่งปันกัน และทำกลุ่มทำขนมส่งขายตามที่ต่างๆ เราตั้งกลุ่มในปี 2561 มีสมาชิก 47 คน แต่หลักๆ จะมีแม่บ้านหมุนเวียนมาทำขนมราวๆ 6-7 คน ทำขนมไทยค่ะ
“พี่ทำบริษัททัวร์มา 30 กว่าปี เรียกได้ว่าเกือบทั้งชีวิต แต่ก่อนนี้ก็เหมือนคนในอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่คือทำเรื่องการท่องเที่ยวจ๋า พาทัวร์ไปดูนั่นนี่ทั้งในและต่างประเทศ ไปกินข้าว ไปช้อปปิ้ง ไปพักผ่อน จนมีอยู่ครั้งหนึ่งที่จู่ๆ เราก็รู้สึกเหมือนที่ไหนก็เหมือนกันหมด พอสถานที่ใดสถานที่หนึ่งถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสินค้าด้านการท่องเที่ยว หลายชุมชนก็ต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อรองรับกระแสของตลาด สูญเสียอัตลักษณ์ตัวเองไป ตรงนี้มันทำให้พี่ฉุกคิด และค่อยๆ เบนเข็มมาทำงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างเต็มตัว ก็เริ่มจากเข้าไปเรียนรู้ชุมชน หาจุดเด่น จุดด้อย และให้เขาปรับปรุงบางเรื่องที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการท่องเที่ยวโดยไม่ไปกระทบกับวิถีชีวิตหรือรากเหง้าของเขา
“สมัยก่อนถ้าเป็นคนที่อื่นมาอยู่สระบุรี จะภาคเหนือหรืออีสาน เขาก็จะเรียกว่าคนลาวหมดครับ พอเมืองสระบุรีเริ่มเติบโตเพราะมีโรงงานอุตสาหกรรมมาตั้ง คนจากที่อื่นก็ย้ายมาทำงานที่นี่กันเยอะ อย่างตลาดที่ผมขายของอยู่ทุกวันนี้ในเทศบาลเมืองแก่งคอย ก็เป็นตลาดที่ขยายมาจากตลาดเทศบาลฝั่งตรงข้าม ก็มีพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่มาตั้งแผงขายบนถนน จนเทศบาลเขาก็ผ่อนผันให้เป็นตลาดชั่วคราว โดยให้ขายแค่ช่วงเย็น ความที่คนต่างถิ่นมาขายตรงนี้เยอะ เลยเรียกต่อๆ กันว่าตลาดลาวมาจนถึงวันนี้ ก่อนหน้านี้ ผมทำงานบริษัทบริษัทผลิตสุขภัณฑ์ของแบรนด์ต่างประเทศที่มาเปิดโรงงานในแก่งคอย ผมเจอแฟนที่บริษัท แม่ของแฟนขายขนมไทยอยู่ตลาดลาวนี่ ขายมา 50 ปีแล้ว มีขนมชั้น ขนมหม้อแกง
“พื้นเพป้าเป็นคนปากช่อง ได้สามีเป็นคนแก่งคอย เลยย้ายมาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2514 สามีป้าขายล็อตเตอรี่ ส่วนป้าเคยขายขนมครกที่ตลาดเช้าแก่งคอย ขายจนส่งลูก 3 คน เรียนจนจบปริญญา พอลูกแต่ละคนทำงานแล้ว ป้าก็เลยเลิกขาย อยู่บ้านเฉยๆ แล้วมันเหงาค่ะ พอเทศบาลเมืองแก่งคอย หรือหน่วยงานท้องถิ่นที่ไหนเขามีโครงการหรือกิจกรรมอะไรให้คนแก่อย่างป้าได้เข้าร่วม ป้าก็ร่วมกับเขาหมด คนแก่ถ้าคิดว่าแก่ เราก็แก่จริงๆ แต่ถ้าเราคิดว่ายังไม่แก่ หาอะไรทำ
ผมเรียนจบด้านไอทีโดยทำงานอยู่กรุงเทพฯ ต่ออีกประมาณ 2 ปี แล้ววันหนึ่ง ผมก็บอกแม่ว่าอยากกลับมาทำธุรกิจร้านกาแฟที่บ้าน แม่รีบปฏิเสธ เขาอยากให้ผมทำงานในสายที่เรียนมามากกว่า เพราะเห็นว่าเป็นงานที่มั่นคงดี จะกลับมาเสี่ยงดวงกับการเปิดธุรกิจที่เราไม่เคยทำที่นี่ทำไม แต่ผมก็ยังยืนยันคำเดิม จำได้ว่าช่วงที่ทำร้าน แม่ไม่เข้ามาดูเลย กว่าจะมาก็ตอนร้านเปิด ทำไมจึงอยากกลับมาอยู่ที่นี่หรือครับ? ผมผูกพันกับแก่งคอย ความทรงจำดีๆ อยู่ที่ไหน เราก็อยากอยู่ที่นั่น และคิดว่าเมืองนี้มันยังมีโอกาสในการทำธุรกิจอีกพอสมควร ตอนที่ตัดสินใจจะกลับมาอยู่คือเมื่อ 9
“พี่เรียนจบด้านพลศึกษา ก่อนเรียนจบมีโอกาสได้เรียนทำขนม เราชอบทำ แล้วดันขายดีตอนทำขายเล่นๆ ระหว่างเรียน รายได้โอเคเลย สุดท้ายพอเรียนจบ ก็ไม่ได้ใช้สิ่งที่เรียนมา ขายขนมมาจนถึงทุกวันนี้ (หัวเราะ) จำได้เลยว่าตอนจบมาใหม่ๆ นี่ย่าบ่นมากๆ ไปเปิดร้านขนมที่สระบุรีก่อน ชื่อร้านแตงโมอยู่หน้าเทศบาลเมืองสระบุรี เปิดมาตั้งแต่ปี 2525 ขายขนมปัง คุกกี้ เบเกอรี่ฝรั่ง แล้วค่อยหันมาทำขนมไทย ก็เรียนรู้สูตรใหม่ไปเรื่อยๆ คิดว่าจะทำตรงนี้สักพัก
ที่ผมได้มาเป็นไวยาวัจกรวัดแก่งคอย เนื่องจากพ่อผมเคยเป็นมัคนายกมาก่อน ผมจึงผูกพันกับวัดนี้มาตั้งแต่เด็ก พอตำแหน่งนี้ว่างลง ท่านเจ้าอาวาสก็อยากหาคนที่ไว้ใจได้มาทำตำแหน่งนี้ ผมเกษียณงานประจำกลับจากกรุงเทพฯ พอดี เลยมารับช่วงต่อ ตอนนี้ทำมาเกือบ 10 ปีแล้ว ช่วงที่ผมมาเริ่มงานที่นี่ใหม่ๆ ท่านเจ้าอาวาส พระครูประภัศร์วรญาณ (ทรัพย์ ญาณวโร) มีวิสัยทัศน์มาก ก็มีการจัดสร้างวังบาดาล ถ้ำพญานาค พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง มีการบูรณะกุฏิ และทำวัดให้มีความสะอาด
“พื้นที่เทศบาลเมืองแก่งคอยจะมีขนาดเล็ก 4.05 ตารางกิโลเมตร โดย 15-20% ของพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ของการรถไฟ มีบ้านพักอาศัยราว 60% ที่เหลือคือพื้นที่ราชการและอื่นๆ จากตัวเลขนี้พอจะเห็นภาพว่าเทศบาลเราเล็กขนาดไหน เล็กในแบบที่ในย่านใจกลางเมือง เราสามารถเดินเท้าหากันได้ทั่ว แต่ถึงเป็นแบบนั้น ที่ผ่านมา แก่งคอยเรากลับไม่มีพื้นที่กลางที่คนในพื้นที่จะมาพบปะหรือทำกิจกรรมร่วมกันสักเท่าไหร่ หรือที่มีอยู่แล้ว เช่น สวนสาธารณะก็ยังคงถูกใช้ในมุมของสถานที่พักผ่อนหรือออกกำลังกายของคนในเมืองมากกว่า และมันค่อนข้างขาดการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ในเมือง ผมมองว่าการไม่มีพื้นที่กลางเหมือนที่เมืองอื่นๆ อาจจะมีในรูปแบบของศาลาประชาคม
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.