[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีก่อตั้งขึ้นเมื่อ 22 ปีก่อน ปัจจุบันมีคนเข้ามาดูงาน มาจัดกิจกรรมมากมาย และขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ในชุมชนร่วมกับคนรุ่นเก่า

“ยี่สิบกว่าปีก่อนหลังจากแม่กลับจากช่วยหลานทำสวนทุเรียนที่จันทบุรี ความที่แม่ไม่ได้อยู่เชียงใหม่มานาน เลยไปเที่ยวงานแถวประตูท่าแพ จำไม่ได้แล้วว่าเป็นงานอะไร แต่ในงานมีรำวงด้วย แม่ก็ดื่มและขึ้นไปรำวงกับเขา แล้วก็ได้ยินเสียงโฆษกประกาศเชิญสาวรำวงจากชุมชนนั้น ชุมชนนี้ขึ้นมาเต้น ตอนนั้นแหละที่แม่เพิ่งรู้ว่าในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ก็มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในฐานะชุมชนด้วย เลยย้อนกลับมาคิดถึงบ้านเรา แม่เกิดและเติบโตในชุมชนหลังวัดหม้อคำตวง ทุกคนก็รู้จักกันหมด แต่นอกจากไปวัด ก็ไม่ได้มีการร่วมกันจัดกิจกรรมอะไรจริงจัง แม่เลยคิดว่าเราน่าจะตั้งชุมชนกัน ก็ไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ที่แขวง เขาก็บอกว่าต้องรวบรวมลูกบ้านให้ได้ 50-60 ครัวเรือนเพื่อขอจัดตั้ง แม่ก็เลยไปคุยกับชาวบ้านว่าถ้าเราตั้งขึ้นมานะ เราก็สามารถขอสวัสดิการจากรัฐได้

ศาลเจ้าปุ่งเถ่ากงผูกพันกับคนเชียงใหม่หลายต่อหลายรุ่น แม้จะแยกย้ายไปอยู่ต่างถิ่นก็จะกลับมาไหว้เจ้า ศาลเจ้าแห่งนี้จึงเป็นศูนย์รวมคนไทยเชื้อสายจีนในเชียงใหม่

“คำว่าคนจีนโพ้นทะเล หมายถึงชาวจีนที่เราหลายคนได้ยินมาตั้งแต่เด็กว่าพวกเขาหอบเสื่อหนึ่งผืนและหมอนอีกหนึ่งใบออกจากบ้านเกิดเพื่อมาแสวงโชคต่างแดน คำนี้ยังเชื่อมโยงกับการต้องเดินทางด้วยเรือไปยังที่ต่างๆ ผ่านทะเล หรือแม่น้ำ เพื่อจะได้พบสถานที่ในการตั้งรกรากแห่งใหม่ สมัยก่อนการเดินเรือไม่ได้ปลอดภัย ไหนจะคลื่นลม ภัยพิบัติ ไปจนถึงโจรสลัด คนจีนที่ออกเดินทางจึงมักหาเครื่องยึดเหนี่ยวด้วยการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่และทวยเทพต่างๆ มาสถิตยังศาลเจ้าตามเมืองต่างๆ ที่พวกเขาต้องเดินเรือ เพื่อจะได้กราบไหว้ขอพรให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทางหรือบันดาลให้การค้าเจริญรุ่งเรือง เราจึงเห็นว่าศาลเจ้าจีนหลายแห่งมักอยู่ริมแม่น้ำ รวมถึงศาลเจ้าปุงเถ่ากง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง ติดกับกาดต้นลำไย ย่านไชน่าทาวน์ของเมืองเชียงใหม่แห่งนี้ ก็เช่นกัน ‘ปุงเถ่ากง’ เป็นภาษาแต้จิ๋ว

ดอกไม้พันดวง เครื่องมือนำร่องของ แคมเปญ ‘เชียงใหม่เมืองเทศกาล เจ้าภาพคือทุกคน เริ่มต้นที่ยี่เป็ง’

“คนเมืองเรียกดอกไม้ปันดวง ถ้าเป็นภาษากลางก็คือดอกไม้พันดวง นี่เป็นชื่อของเครื่องสักการะตั้งธรรมหลวงของชาวไทลื้อ ชาวบ้านจะเด็ดดอกไม้ที่ปลูกไว้มาวางซ้อนกันบนแตะหรือไม้ไผ่สานคล้ายตระแกรง หรือรูปทรงอื่นๆ เพื่อไปแขวนประดับวิหารวัดก่อนวันขึ้น 15 ค่ำในประเพณียี่เป็ง คนเฒ่าคนแก่หลายคนยังพอจำได้ แต่คนรุ่นหลังนี้แทบไม่คุ้นเคย เพราะพิธีกรรมนี้หายไปจากในตัวเมืองนานแล้ว เรื่องดอกไม้ปันดวงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ภายหลังที่เราชวนชาวบ้านและเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับเมืองแห่งการเรียนรู้ ต่างเห็นตรงกันว่า เราควรเรียนรู้จากต้นทุนที่เรามี รวมถึงมรดกที่กำลังเลือนหาย เพราะจริงๆ นี่คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ทว่าก็ทรงคุณค่าที่สุดใกล้ตัวเรา และเมื่อแม่ครูนุสรา เตียงเกตุ

การศึกษาเรื่องการทำงานข้ามภาคส่วน ทำให้เข้าใจโครงสร้างของการทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน ภาคเอกชน และรัฐ ซึ่งจะกลายเป็นโมเดลในการขับเคลื่อนเมืองต่อไป

“เชียงใหม่เป็นเมืองมหาวิทยาลัย เราจึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมืองเยอะมากๆ ขณะเดียวกัน เมืองเรามีภาคประชาสังคมที่ทำงานครอบคลุมแทบทุกด้าน ก็เป็นเช่นที่หลายคนมองเห็นตรงกันคือ แม้เราจะมีบุคลากรและทรัพยากรที่พร้อมสรรพ แต่เราก็กลับขาดการทำงานร่วมกัน ต่างคนต่างทำงานในพื้นที่หรือศาสตร์เฉพาะของตนเองไป ซึ่งทำให้มีไม่น้อยที่เมื่อเราทำๆ ไปของเราฝ่ายเดียวเรื่อยๆ แล้วเราก็พบกับทางตัน พออาจารย์สันต์ (รศ.ดร. สันต์ สุวัจฉราภินันท์) มาชวนเราทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของเชียงใหม่ ทั้งอาจารย์และเราก็ต่างมองตรงกันว่าควรจะมีการศึกษากลไกการทำงานแบบข้ามภาคส่วน เพราะเชื่อว่าไม่ว่าเมืองจะพัฒนาเป็นอะไรสักอย่าง เป็นเมืองหัตถกรรม เมืองสร้างสรรค์ เมืองมรดกโลก หรือเมืองแห่งการเรียนรู้

ในชุมชนป่าห้าซึ่งอยู่ใกล้กับย่านนิมมานเหมินท์ ยังเห็นร่องรอยของลำเหมืองโบราณ เช่นเดียวกับอุดมคติของชุมชนที่ยังหลงเหลืออยู่

“เราไม่ได้เป็นคนตัดสินใจ ที่ดินตรงนี้เป็นของสามี และเขาปลูกบ้านไว้ หลังจากเราไปสอนหนังสือที่ขอนแก่นและเรียนต่อ จนได้กลับมาสอนที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เลยได้มาอยู่ที่นี่ เคยไปดูแผนที่ของทางเทศบาล ในนั้นระบุว่าชุมชนป่าห้าที่เราอยู่เป็นชุมชนแออัด ซึ่งถ้ามองทางกายภาพก็แออัดจริงๆ บ้านเรือนสร้างแทบจะขี่คอกัน แถมที่ดินบ้านเราก็อยู่ต่ำกว่าระดับถนน ฝนตกหนักทีก็มีสิทธิ์น้ำท่วม ดีที่บ้านเรามีบริเวณพอจะปลูกต้นไม้ทำสวน รวมถึงขุดบ่อไว้ระบายน้ำ เป็นโอเอซิสเล็กๆ กลางเมือง และถ้ามองในด้านทำเล ตรงนี้คืออุดมคติเลยล่ะ เราสอนหนังสือที่ ม.ช. ขับรถออกไปแค่

การผสมผสานสิ่งใหม่และเก่าในชุมชน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเกื้อกูลกันระหว่างคนสองรุ่น ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่เกิดจากความหลากหลาย

“บ้านหลังนี้เคยเป็นบ้านของครอบครัวและสำนักงานบริษัทรับเหมาก่อสร้างของพ่อ พอผมขึ้นมัธยมที่มงฟอร์ต เราก็ย้ายบ้านไปอยู่นอกเมือง อากงอยู่ที่นี่ต่อไปอีกสักพัก ก่อนจะเปลี่ยนเป็นโกดังเก็บของ และบ้านพักพนักงานของบริษัทพ่อ มาราวสิบปีสุดท้าย เราก็ปล่อยให้เป็นบ้านร้าง จนน้องสาวเรียนจบกลับมา ประมาณปลายปี 2563 เราก็เปลี่ยนให้บ้านหลังนี้เป็นคาเฟ่ที่เสิร์ฟบรันซ์ ตั้งชื่อว่า มิทเทอ มิทเทอ (Mitte Mitte) โดยเอาชื่อมาจากย่านหนึ่งในเบอร์ลิน ย่านที่น้องเคยใช้ชีวิตสมัยไปเรียนที่เยอรมนี ก่อนจะตัดสินใจเปิดร้าน เราคุยกันอยู่นานในเรื่องทำเล เพราะแม้เราจะอยู่ในย่านการค้าอย่างช้างม่อย

กิจกรรมการกวนข้าวยาคู้ที่คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมกับชุมชน ทำให้วัดและชุมชนมีชีวิตชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง

“โยมเห็นไหมว่าเจดีย์วัดชมพูนี่เหมือนพระธาตุดอยสุเทพเลย เจดีย์นี้สร้างสมัยเดียวกับบนดอยสุเทพนั่นแหละ หลังจากพระเจ้ากือนาสร้างพระธาตุดอยสุเทพ ท่านก็อยากให้พระมารดาได้สักการะด้วย แต่สมัยก่อนไม่มีถนน ขึ้นไปไหว้พระบนดอยนี่ลำบาก ท่านเลยโปรดให้สร้างเจดีย์รูปแบบเดียวกันตรงนี้แทน และตั้งชื่อว่าวัดใหม่พิมพา ตามชื่อพระมารดาพระนางพิมพาเทวี จนภายหลังมาเปลี่ยนเป็นชื่อวัดชมพู ตามครูบาชมพูที่เคยมาพำนักสมัยพระเจ้ากาวิละ เจดีย์วัดชมพูเลยเป็นคู่แฝดของพระธาตุดอยสุเทพมาจนทุกวันนี้ ญาติโยมคนไหนไม่สะดวกขึ้นดอยสุเทพ ก็มาสักการะที่นี่ได้ หลวงพ่อย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตอน พ.ศ. 2509 ต่อจากครูบาแก้ว สุคันโธ สมัยนั้นครูบาแก้วท่านสมถะ อยู่กุฎิไม้ง่ายๆ ไม่สะดวกสบายเท่าไหร่

11 ปีจากจุดเริ่มของการแก้ปัญหาของเมืองเชียงใหม่ด้วยการใช้วัฒนธรรมเป็นตัวนำ จนกลายมาเป็นเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่

“รูปแบบของานยอสวยไหว้สาพญามังราย ฉลองครบรอบ 726 ปีเมืองเชียงใหม่ ที่ทางเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ได้มีส่วนร่วมจัดงานไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้ แตกต่างจากปีที่ผ่านมาเล็กน้อย หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือในที่สุดเราก็สามารถสืบค้นจากเอกสารโบราณเกี่ยวกับเครื่องบวงสรวงหอบรรพกษัตริย์ตามประเพณีดั้งเดิมได้ เราจึงมีการจัดเครื่องสักการะเป็นกับข้าวพื้นเมือง 9 อย่างตรงตามเอกสาร ไม่ใช่การถวายหัวหมูแบบธรรมเนียมเซ่นไหว้ของคนจีนเหมือนก่อน หลายคนอาจสงสัยว่าจะอะไรกันหนักหนากับเครื่องเซ่นไหว้ ก็ต้องบอกว่าในเมื่อเราจะทำตามประเพณีแล้ว เราก็ควรเข้าใจความหมายในทุกบริบทของประเพณี ทำไมคนโบราณถึงเลือกใช้กับข้าว 9 อย่างนี้ ทำไมต้องถวายขันโตกแยกถาดเหล้า ถาดล้างมือ หรืออื่นๆ ไม่ใช่แค่ว่าพอมีพิธีกรรม

การพานักเรียนนักศึกษาลงไปศึกษาชุมชน เป็นประโยชน์ต่อทั้งเด็กนักเรียนและชุมชนที่จะออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว กระบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือเป็นแนวทางในการเรียนรู้และพัฒนาพื้นที่ของตัวเองต่อไป

“คนส่วนใหญ่มักมองว่าชุมชนคือที่อยู่อาศัย แต่ที่จริงแล้วในทุกชุมชนต่างมีองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี รวมไปถึงความทรงจำของคนเฒ่าคนแก่ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าและเป็นต้นทุนในการเรียนรู้หรือทำความเข้าใจสังคมต่อไปไม่จบไม่สิ้น โครงการหลากมิติแห่งการเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ จึงถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมโยงให้เยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการลงพื้นที่ไปศึกษาเรียนรู้จากชุมชน โดยในทางกลับกันเราก็หวังให้คนรุ่นใหม่มีส่วนในการกระตุ้นผู้คนในชุมชนให้กลับมาทบทวนมรดกในพื้นที่ของตัวเอง เพื่อเป็นต้นทุนในการต่อยอดไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ในระยะแรก เราส่งเทียบเชิญไปยังสถาบันการศึกษาในเขตอำเภอเมือง ให้ส่งตัวแทนนักเรียนมาร่วมกิจกรรมโรงเรียนละ 5 คน โดยออกแบบกิจกรรมไว้ 3 ระดับ ใน 3 ชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน เริ่มจากระดับมัธยมต้นที่ลงพื้นที่ในชุมชนควรค่าม้าในเขตเมืองเก่า

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video