[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

การประยุกต์มรดกดั้งเดิมของคนล้านนาให้มีความร่วมสมัยหรือสอดคล้องไปกับการใช้งานของคนรุ่นใหม่ คือเสน่ห์ที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่

“เราเรียนจบมาด้านสถาปัตยกรรม แต่ด้วยความที่เราสนใจองค์ความรู้เกี่ยวกับล้านนาและงานวิจัย เลยมุ่งไปทำงานวิจัย ไม่ได้ทำงานออกแบบเท่าไหร่ จนมาเจอพี่เบิด (ประสงค์ แสงงาม) ซึ่งเราเปิดบริษัททำอีเวนท์ด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยกัน ก็เลยมีโอกาสได้ใช้ทักษะในงานออกแบบภูมิทัศน์มาผสานกับองค์ความรู้จากพี่เบิด ที่เขาสะสมมาจากคนเฒ่าคนแก่หรือพ่อครูแม่ครูอีกที บริษัทจึงมีจุดแข็งที่เราทำงานอีเวนท์ที่มีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามขนบวัฒนธรรม สามารถอธิบายคุณค่า หรือความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เรานำมาออกแบบได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างการใช้ตุงประดับตบแต่งงาน เราใช้ตุงไส้หมูที่คนล้านนาใช้ตานปักไว้บนต้นเขืองและเจดีย์ทรายในประเพณีปี๋ใหม่เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ฉะนั้นถ้าเราจะเอามาใช้ประดับงาน ตำแหน่งของตุงควรอยู่ที่สูง ไม่ควรอยู่ต่ำหรือห้อยกับอะไรที่มันไม่สมควร หรืออย่างตุงสามหางนี่ก็สวย แต่เราจะไม่เอามาประดับในงานรื่นเริง

ผมไม่ค่อยกังวลว่ามรดกทาง
ศิลปวัฒนธรรมล้านนาว่าจะเลือนหายไปกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

“ตอนเด็กๆ ผมเป็นแฟนรายการวิทยุชื่อมรดกล้านนา ของอาจารย์สนั่น ธรรมธิ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้ผมอยากทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม พอเข้ามาเรียนต่อในเมืองก็เลยติดต่อไปหาอาจารย์สนั่น บอกว่าผมเล่นดนตรีพื้นเมืองเป็น อาจารย์ท่านก็เลยแนะนำให้ไปเล่นดนตรีที่ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่หารายได้เสริม จนเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้รู้จักกับอาจารย์ชัชวาล ทองดีเลิศ ที่กำลังก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนาพอดี ก็เลยไปเป็นอาสาสมัครสอนดนตรีล้านนา กินนอนที่นั่นอยู่พักใหญ่ ช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัย (ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) คือช่วงไล่เลี่ยกับการฉลองครบ 700 ปีเมืองเชียงใหม่พอดี บรรยากาศในตอนนั้นจึงคึกคักไปด้วยการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา มีการศึกษาและค้นคว้าประวัติศาสตร์

กำไรจากการทำงานในสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครเชียงใหม่คือโอกาสที่ได้เรียนรู้พื้นที่ต่างๆ ในเชียงใหม่มากมายเกินคาดคิด

“สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นการรวมกันของเด็กนักเรียนในโรงเรียนภายในเขตเทศบาลเชียงใหม่ โดยแต่ละโรงเรียนจะมีตัวแทนมาร่วมกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน การพัฒนาชุมชน และรณรงค์แก้ปัญหาต่างๆ ที่วัยรุ่นอย่างพวกเราส่วนใหญ่ต้องเจอ ทั้งการกลั่นแกล้ง การพนัน ยาเสพติด ภัยจากโลกออนไลน์ ไปจนถึงการท้องก่อนวัยอันควร ตอนนี้ในสภามีด้วยกัน 21 คนครับ ตัวแทนจากโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนมี 4 คน อันนี้ไม่รวมคณะทำงานที่มีกระจายอยู่ทั้งในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งบางคนก็ทำงานสภามาก่อน ผมเข้าร่วมสภาเด็กตั้งแต่ขึ้น ม.4 ปกติจะเป็นแค่

การถอดวิชาล้านนาศึกษาหรือท้องถิ่นศึกษาออก ส่งผลกระทบให้การรับรู้ทางประวัติศาสตร์ของเด็กค่อยๆ เลือนหายไป

“ผมเรียนมัธยมที่นี่ พอเรียนจบมหาวิทยาลัย ด้วยความอยากเป็นครู ก็เลยกลับมาสมัครทำงานที่โรงเรียน จนทุกวันนี้เราเป็นครูสอนสังคมศึกษาโรงเรียนดาราวิทยาลัยมาได้ 10 ปีแล้ว ตอนสอนใหม่ๆ หลักสูตรวิชาสังคมของโรงเรียนในเชียงใหม่ยังมีวิชาล้านนาศึกษา หรือท้องถิ่นศึกษาอยู่ จนราว 4-5 ปีที่แล้วที่รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายให้ถอดวิชานี้ออก และแทนที่ด้วยวิชาหน้าที่พลเมือง การเรียนการสอนให้เด็กๆ เข้าใจด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจึงค่อยๆ เลือนหายไป ผลลัพธ์เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีหลายครั้งที่ครูสั่งการบ้านเด็กๆ ให้กลับไปค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับของดีประจำชุมชนของนักเรียนมาส่ง ปรากฏว่าเด็กๆ พากันกลับไปเสิร์ชกูเกิ้ลชื่อคาเฟ่หรือร้านกาแฟแถวบ้านมาส่ง

1 60 61 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video