สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ก๋งกับเตี่ยผมมาจากเมืองจีน ย้ายมาทำโกดังเก็บข้าวเปลือกที่อำเภอแก่งคอย เพราะแก่งคอยเคยมีกรมทหารม้าอยู่ เราก็ส่งข้าวเปลือกให้ที่นั่น ผมเกิดปี พ.ศ. 2482 ที่แก่งคอย พอปี 2488 ตอนผมอายุ 6 ขวบ เป็นช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นมาตั้งค่ายอยู่ที่แก่งคอย ผมยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรหรอก แต่ได้ยินผู้ใหญ่เขาเล่าว่าวันที่ 1 เมษายน 2488 เครื่องบินสัมพันธมิตรบินผ่านแก่งคอยมาตีกากบาทไว้ก่อนแล้ว และเช้ารุ่งขึ้นของวันที่
“พี่เกิดแก่งคอยค่ะ โตมาในเมืองนี้ ได้ไปเรียนที่อื่นอยู่พักหนึ่ง หลังเรียนจบ เพราะเราผูกพันกับบ้านเกิด ก็เลยกลับมาทำงานที่นี่ อยากมีส่วนทำให้บ้านเมืองเราพัฒนา พี่เลยทำงานอยู่เทศบาลเมืองแก่งคอยได้ 30 ปีแล้ว ถ้าย้อนกลับไปสมัยก่อน ตอนที่พี่กลับมาทำงานที่นี่ใหม่ๆ เงื่อนไขของเมืองแก่งคอยในเชิงสังคมก็ไม่ค่อยต่างจากปัจจุบันนี้นัก เด็กที่เติบโตที่นี่ พอไปเรียนกรุงเทพฯ หรือเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ก็เลือกจะไปทำงานที่เมืองนั้น น้อยคนจะกลับมาทำงานที่บ้าน เพราะนอกจากงานราชการกับโรงงาน แก่งคอยก็ไม่ได้มีทางเลือกด้านวิชาชีพเท่าใดนัก หรือกระทั่งงานในโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม ถึงแม้จะอยู่ในอำเภอแก่งคอย
“ที่นี่เป็นโรงสีตั้งแต่สมัยช่วงสงครามโลก ก๋งผมเป็นคนบุกเบิกก่อนส่งต่อมาที่รุ่นพ่อ เป็นโรงสีโบราณที่ใช้แกลบให้พลังงาน และเพราะเป็นแบบนั้น พอโรงสียุคใหม่เขาใช้แก๊สกันหมด ไหนจะเรื่องปล่องควัน รวมถึงรถสิบล้อที่ใช้ขนส่งวิ่งเข้ามาในเมืองจนมีส่วนสร้างมลภาวะ ช่วงราวๆ ปี 2530 พ่อผมก็เลยตัดสินใจหยุดกิจการนี้ลง และหันมาทำขนส่ง เป็นโกดังให้เช่าแทน ตอนแรกผมไม่มีไอเดียจะทำอะไรกับโรงสีนี้เลย ผมเรียนมาทางสายคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมเมอร์ทำงานอยู่กรุงเทพฯ ความที่ภรรยาผมเป็นคนแก่งคอย เขาก็อยากกลับมาดูแลครอบครัวที่นี่ ผมก็ตามใจ เพราะผมก็อยากกลับมาดูพ่อแม่ตัวเองด้วย จึงตัดสินใจลาออกกลับมาอยู่บ้าน ตอนนั้นน่าจะยุคปี
“หนูชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนอยู่แล้วค่ะ เพราะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่มีในตำราเรียนดี แถมได้ทำกิจกรรมที่ถ้าเป็นปกติก็คงไม่มีโอกาสได้ทำ ถ้าโรงเรียนมีโครงการอะไรมาเสนอให้เราเข้าร่วม ส่วนใหญ่หนูก็เลือกเข้าร่วมหมด อย่างงานแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลกรอบนี้ หนูมาเป็นมัคคุเทศก์อาสา ได้แต่งตัวย้อนยุคและนำนักท่องเที่ยวเข้าชมสถานที่ต่างๆ ในเมือง เช่น วัดแก่งคอย ถ้ำบาดาล ศาลเจ้า และตลาดเก่า สถานที่เหล่านี้อยู่ใกล้โรงเรียนหนูหมดเลย แต่นอกจากเรื่องประวัติศาสตร์ช่วงที่สัมพันธมิตรเอาระเบิดมาลงช่วงสงครามโลกและวัดแก่งคอยเป็นวัดเดียวที่รอดพ้นจากระเบิด หนูก็รู้เรื่องสถานที่อื่นๆ จากห้องเรียนในโรงเรียนน้อยมาก ดีหน่อยที่หนูมีปู่ที่ชอบพาไปนั่นนี่และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง พอมาเป็นมัคคุเทศก์อาสาโครงการนี้
“ก๋งของยายเป็นคนจีนแต่เดิมแกอยู่กรุงเทพฯ ก่อนจะตามย่าล้อม-พี่สาวของก๋ง มาอยู่แก่งคอย ย่าล้อมแต่งงานกับนายอำเภอแก่งคอย และมีที่ดินเยอะ ความที่ย่าล้อมไม่มีลูก ก็เลยแบ่งให้พี่ๆ น้องๆ ก๋งก็ได้ที่ดินจากย่าล้อมมา ก๋งมีลูก 3 คน โป๊ะ โภคสุพัฒน์ เป็นลูกชายคนโต และเป็นเตี่ยของยาย ฉนวน โภคสุพัฒน์ และนางบุตรจันทร์ อิ่มรังสี ทั้งสามคนนี้เป็นหุ้นส่วนของตลาดแก่งคอยในยุคนั้น โดยอาฉนวน
“จริงอยู่ที่แก่งคอยจะเป็นอำเภอที่ได้ประโยชน์จากโรงงานอุตสาหกรรม หากพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองแก่งคอยกลับไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ นั่นทำให้เราเก็บภาษีได้น้อย ทั้งยังต้องจัดสรรงบประมาณมาแก้ปัญหาผลกระทบจากโรงงานที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่แต่ส่งผลมาถึงผู้คนในเขตของเราโดยตรงอีกด้วย ทั้งมลภาวะทางอากาศเอย การขาดแคลนน้ำเอย และอื่นๆ ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองแก่งคอย ผมก็พยายามสื่อสารเรื่องนี้เพื่อให้มีการจัดสรรงบประมาณใหม่ รองรับกับผลกระทบจริงในพื้นที่ ไม่ใช่คำนวณจากจำนวนโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต อย่างไรก็ตาม เรื่องการจัดสรรงบประมาณยังไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญที่แก่งคอยกำลังเผชิญ เพราะจากการที่ผมมีโอกาสมาดำรงตำแหน่งนี้หลายสมัยจึงเห็นว่าการที่เมืองของเรา… ซึ่งไม่ใช่แค่ในระดับเทศบาลเมือง แต่เป็นอำเภอทั้งอำเภอ รวมถึงจังหวัดทั้งจังหวัด ยังคงขาดแผนแม่บทในการพัฒนา เพราะต่อให้เราได้รับจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาเมืองมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดแผนแม่บท สระบุรีก็จะพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง และไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น
“ผมเออร์ลี่รีไทร์ปี พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านี้ผมใช้ชีวิตโชกโชนพอสมควร เคยเป็นเด็กเกเรหนีออกจากบ้าน เคยเป็นกะลาสีเรือในต่างประเทศ ก่อนจะกลับมาทำงานโรงปูนเกือบทั้งชีวิต คือนอกจากทักษะที่ได้มา ได้เรียนรู้สารพัด ทั้งวัฒนธรรมการทำงานแบบฝรั่ง การเมืองแบบพวกพ้องของคนไทย ความกล้าที่จะสื่อสารสิ่งที่เราคิด และอื่นๆ และสิ่งที่พอจะบอกได้ว่าเป็นบทเรียนจากชีวิตของผมเองนี้ คือความรู้เป็นของสาธารณะ เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนควรต้องส่งต่อให้คนรุ่นหลัง อย่าหวงวิชา อย่างทำปูนซีเมนต์มานี่เห็นได้ชัด ผมโตมาในยุคที่คนรุ่นเก่าเขากีดกันคนรุ่นใหม่ ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมแบ่งปัน ซึ่งน่าเศร้าที่หลายคนก็ตายไปกับความรู้ที่มี ความรู้เลยสูญหายไปด้วย
“ผมเกิดและโตที่แก่งคอย เตี่ยเปิดร้านขายของชำอยู่ในตลาดเทศบาล เปิดมาตั้งแต่สมัยสงครามโลก เมื่อก่อนตอนผมเป็นเด็ก ผมชอบเดินจากร้านไปวิ่งเล่นแถวตลาดท่าน้ำ ตรงนั้นจะเห็นเรือขนสินค้าจากที่ต่างๆ มาเทียบท่า บางส่วนเขาก็ขนสินค้าขึ้นฝั่งเพื่อขนถ่ายไปทางรถไฟต่อ แก่งคอยสมัยนั้นเศรษฐกิจดี ค้าขายคล่องตัว คนจากที่อื่นนำผลผลิตทางการเกษตรมาขาย คนในตลาดก็ตั้งตารอว่าแต่ละวันจะมีผลผลิตอะไรมาให้ซื้อบ้าง ซื้อขายกันเสร็จ ก่อนกลับพวกเขาก็จะซื้อข้าวของเครื่องใช้หรือเสื้อผ้าในตลาดกลับไป คนขายและคนซื้อรู้จักกันหมด มันมีบรรยากาศแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนทุกคนเป็นเพื่อนบ้านกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า พอยุคสมัยเปลี่ยน สภาพสังคมหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยก็เปลี่ยนตาม เดี๋ยวนี้ทางเลือกของการจับจ่ายใช้สอยของคนแก่งคอยกลายเป็นซูเปอร์สโตร์ใหญ่ๆ ตลาดที่เคยคึกคักจึงซบเซา
“ผมเรียนจบด้านไบโอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา จบมาช่วงโควิดพอดี เลยคิดว่ากลับมาตั้งหลักที่แก่งคอยบ้านเกิดเราก่อน เพราะที่บ้านมีผู้สูงอายุเยอะ ก็กลับมาช่วยพ่อดูแลอากง อาม่า และอาโก พอดีกับตอนที่กลับทางบริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ได้ร่วมกับ Depa (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) และเทศบาลเมืองแก่งคอย ทำโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมือง เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่มาทำงานโครงการสมาร์ทซิตี้เชื่อมกับทางเทศบาล ผมเลยสมัครเข้ามาทำงานนี้ และความที่ผมทำธุรกิจส่วนตัวปลูกผักไฮโดรโปนิกในโรงเรือนที่บ้านอยู่แล้วด้วย โดยส่งขายที่ร้านของพ่อในตลาดสดเป็นหลัก งานใหม่นี้ก็เลยลงตัว ได้ทำงานออฟฟิศตอนกลางวัน
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.