Home Elementor • We Citizen Thailand - Page 8

[ WeCitizens : เมืองพนัสนิคม]

สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อบูรณาการคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของเขตพัฒนาเทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี WeCitizens (Vol.3) พนัสนิคมเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด เมืองพนัสนิคม เมืองที่ได้รับการยอมรับว่าพรั่งพร้อมด้วยศักยภาพความเป็นเมืองน่าอยู่ รับรองด้วยรางวัลจากหลากหลายสถาบัน กับความท้าทาย และการแก้โจทย์สำคัญของเมือง จากปรากฏการณ์ “เมืองหด” ด้วยแนวทางการฟื้นฟูย่านเก่า และพัฒนาเมืองเพื่อชวนคนรุ่นใหม่กลับบ้าน บอกเล่าเรื่องราวโดย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี คุณวิจัย อัมราลิขิต คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยพนัสนิคมเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ดร. เอกลักษณ์ ณัถฤทธ์ิ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะวิจัย อ่าน Ebook: https://anyflip.com/jnmvd/ziau/ Download PDF

[ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ]
ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม

หัวหน้าโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) และหัวหน้าคณะประสานโปรแกรมฯ ภาคอีสาน “4 เมืองในอีสาน ต่างมุ่งไปที่เรื่องพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะผู้นำเมือง มองเห็นแล้วว่า เมืองรองของอีสานวันนี้มีโอกาส และเติบโตได้จริง” เมืองในภาคอีสาน  “โปรแกรมนี้ เรื่องสำคัญ คือ โจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองต้องมาจากตัวเทศบาลเป็นหลัก เราจะไม่เอานักวิจัยเป็นตัวตั้ง ตัวหลักต้องเป็นเทศบาล คำถามง่าย ๆ แต่สำคัญมาก ๆ คือ “เขาต้องการอะไร” “อะไรคือสิ่งที่เขาสนใจ” และ “เรากับวิธีวิจัยจะมีส่วนช่วยพัฒนาเมืองของเขาได้อย่างไร” พอตอบเรื่องพวกนี้ได้ เราค่อยหานักวิจัยที่เชี่ยวชาญ หรือมีศักยภาพเข้าไปประกบทำงานด้วย  เรื่องต่อมา คือ ก่อนจะเริ่มงาน

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“สมัยก่อนถ้าจะไปไหนก็ต้องนั่งเรือไป คนแก่งคอยนิยมนั่งเรือไปเรียนหนังสือที่อยุธยากันเยอะ แต่ถ้าจะไปกรุงเทพฯ เขาก็นั่งเรือมาขึ้นที่ท่าน้ำแก่งคอยและเดินต่อไปที่สถานีรถไฟเพื่อไปยังหัวลำโพง”

“ก๋งของยายเป็นคนจีนแต่เดิมแกอยู่กรุงเทพฯ ก่อนจะตามย่าล้อม-พี่สาวของก๋ง มาอยู่แก่งคอย ย่าล้อมแต่งงานกับนายอำเภอแก่งคอย และมีที่ดินเยอะ ความที่ย่าล้อมไม่มีลูก ก็เลยแบ่งให้พี่ๆ น้องๆ ก๋งก็ได้ที่ดินจากย่าล้อมมา ก๋งมีลูก 3 คน โป๊ะ โภคสุพัฒน์ เป็นลูกชายคนโต และเป็นเตี่ยของยาย ฉนวน โภคสุพัฒน์ และนางบุตรจันทร์ อิ่มรังสี ทั้งสามคนนี้เป็นหุ้นส่วนของตลาดแก่งคอยในยุคนั้น โดยอาฉนวน

“ต่อให้เราได้รับจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาเมืองมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดแผนแม่บท สระบุรีก็จะพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง และไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น”

“จริงอยู่ที่แก่งคอยจะเป็นอำเภอที่ได้ประโยชน์จากโรงงานอุตสาหกรรม หากพื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองแก่งคอยกลับไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ นั่นทำให้เราเก็บภาษีได้น้อย ทั้งยังต้องจัดสรรงบประมาณมาแก้ปัญหาผลกระทบจากโรงงานที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่แต่ส่งผลมาถึงผู้คนในเขตของเราโดยตรงอีกด้วย ทั้งมลภาวะทางอากาศเอย การขาดแคลนน้ำเอย และอื่นๆ ในฐานะนายกเทศมนตรีเมืองแก่งคอย ผมก็พยายามสื่อสารเรื่องนี้เพื่อให้มีการจัดสรรงบประมาณใหม่ รองรับกับผลกระทบจริงในพื้นที่ ไม่ใช่คำนวณจากจำนวนโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขต   อย่างไรก็ตาม เรื่องการจัดสรรงบประมาณยังไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญที่แก่งคอยกำลังเผชิญ เพราะจากการที่ผมมีโอกาสมาดำรงตำแหน่งนี้หลายสมัยจึงเห็นว่าการที่เมืองของเรา… ซึ่งไม่ใช่แค่ในระดับเทศบาลเมือง แต่เป็นอำเภอทั้งอำเภอ รวมถึงจังหวัดทั้งจังหวัด ยังคงขาดแผนแม่บทในการพัฒนา เพราะต่อให้เราได้รับจัดสรรงบประมาณมาพัฒนาเมืองมากแค่ไหน แต่ถ้าขาดแผนแม่บท สระบุรีก็จะพัฒนาอย่างไร้ทิศทาง และไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น

“สิ่งที่พอจะบอกได้ว่าเป็นบทเรียนจากชีวิตของผมเองนี้ คือความรู้เป็นของสาธารณะ เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนควรต้องส่งต่อให้คนรุ่นหลัง อย่าหวงวิชา”

“ผมเออร์ลี่รีไทร์ปี พ.ศ. 2555 ก่อนหน้านี้ผมใช้ชีวิตโชกโชนพอสมควร เคยเป็นเด็กเกเรหนีออกจากบ้าน เคยเป็นกะลาสีเรือในต่างประเทศ ก่อนจะกลับมาทำงานโรงปูนเกือบทั้งชีวิต คือนอกจากทักษะที่ได้มา ได้เรียนรู้สารพัด ทั้งวัฒนธรรมการทำงานแบบฝรั่ง การเมืองแบบพวกพ้องของคนไทย ความกล้าที่จะสื่อสารสิ่งที่เราคิด และอื่นๆ และสิ่งที่พอจะบอกได้ว่าเป็นบทเรียนจากชีวิตของผมเองนี้ คือความรู้เป็นของสาธารณะ เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนควรต้องส่งต่อให้คนรุ่นหลัง อย่าหวงวิชา อย่างทำปูนซีเมนต์มานี่เห็นได้ชัด ผมโตมาในยุคที่คนรุ่นเก่าเขากีดกันคนรุ่นใหม่ ความรู้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครยอมแบ่งปัน ซึ่งน่าเศร้าที่หลายคนก็ตายไปกับความรู้ที่มี ความรู้เลยสูญหายไปด้วย

“ถ้าเราร่วมมือกัน แก่งคอยจะไม่เพียงน่าอยู่สำหรับคนท้องที่ แต่จะน่าอยู่และน่ามาเที่ยวสำหรับคนที่อื่นด้วย เราจะเป็นได้มากกว่าเมืองผ่านบนถนนมิตรภาพอย่างแน่นอน”

“ผมเกิดและโตที่แก่งคอย เตี่ยเปิดร้านขายของชำอยู่ในตลาดเทศบาล เปิดมาตั้งแต่สมัยสงครามโลก เมื่อก่อนตอนผมเป็นเด็ก ผมชอบเดินจากร้านไปวิ่งเล่นแถวตลาดท่าน้ำ ตรงนั้นจะเห็นเรือขนสินค้าจากที่ต่างๆ มาเทียบท่า บางส่วนเขาก็ขนสินค้าขึ้นฝั่งเพื่อขนถ่ายไปทางรถไฟต่อ แก่งคอยสมัยนั้นเศรษฐกิจดี ค้าขายคล่องตัว คนจากที่อื่นนำผลผลิตทางการเกษตรมาขาย คนในตลาดก็ตั้งตารอว่าแต่ละวันจะมีผลผลิตอะไรมาให้ซื้อบ้าง ซื้อขายกันเสร็จ ก่อนกลับพวกเขาก็จะซื้อข้าวของเครื่องใช้หรือเสื้อผ้าในตลาดกลับไป คนขายและคนซื้อรู้จักกันหมด มันมีบรรยากาศแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เหมือนทุกคนเป็นเพื่อนบ้านกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า พอยุคสมัยเปลี่ยน สภาพสังคมหรือพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยก็เปลี่ยนตาม เดี๋ยวนี้ทางเลือกของการจับจ่ายใช้สอยของคนแก่งคอยกลายเป็นซูเปอร์สโตร์ใหญ่ๆ ตลาดที่เคยคึกคักจึงซบเซา

“แก่งคอยไม่มีขนส่งสาธารณะ ใครจะมาเที่ยวก็ต้องขับรถส่วนตัวมา ช่วงเสาร์-อาทิตย์ รถจึงติดหนัก คนจากรอบนอกก็ไม่อยากเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในตลาด ถ้าเรามีสมาร์ทบัสวิ่งตามจุดต่างๆ มันจะอำนวยความสะดวกทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวได้เยอะครับ”

“ผมเรียนจบด้านไบโอเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยบูรพา จบมาช่วงโควิดพอดี เลยคิดว่ากลับมาตั้งหลักที่แก่งคอยบ้านเกิดเราก่อน เพราะที่บ้านมีผู้สูงอายุเยอะ ก็กลับมาช่วยพ่อดูแลอากง อาม่า และอาโก พอดีกับตอนที่กลับทางบริษัท สระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด ได้ร่วมกับ Depa (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล) และเทศบาลเมืองแก่งคอย ทำโครงการนักดิจิทัลพัฒนาเมือง เปิดรับสมัครคนรุ่นใหม่มาทำงานโครงการสมาร์ทซิตี้เชื่อมกับทางเทศบาล ผมเลยสมัครเข้ามาทำงานนี้ และความที่ผมทำธุรกิจส่วนตัวปลูกผักไฮโดรโปนิกในโรงเรือนที่บ้านอยู่แล้วด้วย โดยส่งขายที่ร้านของพ่อในตลาดสดเป็นหลัก งานใหม่นี้ก็เลยลงตัว ได้ทำงานออฟฟิศตอนกลางวัน

“ก็เข้าใจนะว่าถ้าเรื่องพื้นฐานของเมืองยังไม่พร้อม สมาร์ทซิตี้ก็อาจเป็นเรื่องรอง แต่ในอีกมุม เราสามารถทำสองเรื่องนี้ไปพร้อมกันได้ และการเป็นสมาร์ทซิตี้ ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานของเมืองได้เช่นกัน”

“บทบาทของหนูคือนักดิจิทัลพัฒนาเมือง เป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างเทศบาลเมืองแก่งคอยกับทางสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ในการขับเคลื่อนเมืองแก่งคอยให้เป็นสมาร์ทซิตี้ ก็ทำทั้งเขียนโครงการที่พยายามใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยพัฒนาเมืองหรือทำให้เมืองน่าอยู่ หรือถ้าทาง Depa เขามีทุนสนับสนุนที่น่าจะสอดคล้องกับเมืองของเราได้ หนูก็จะนำเสนอไปที่เทศบาล เป็นต้น พอมาอยู่ตรงนี้ก็เห็นโอกาสหลายอย่างเลยค่ะ อย่างการทำสมาร์ทบัส (smart bus) เส้นทางรถสาธารณะที่คอยรับส่งผู้คนในเมือง เพราะที่ผ่านมาเมืองเราไม่มีรถสาธารณะวิ่งในเมืองเลย หรือการทำป้ายรถเมล์อัจฉริยะสำหรับเส้นทางรถประจำทางที่วิ่งระหว่างอำเภอหรือวิ่งเข้าตัวอำเภอเมืองสระบุรี เป็นป้ายที่แจ้งข้อมูลรถแบบเรียลไทม์ว่ารถถึงจุดไหนแล้ว เป็นต้น อีกเรื่องที่พยายามทำอยู่คือ CDP

“หลายคนบ่นว่าหาทางเข้าแก่งคอยยาก ถ้าไม่ใช่คนคุ้นเคยพื้นที่หรือเปิด GPS มา เขามักจะขับรถเลยกันไปหมด ไม่แน่ใจว่าป้ายอาจไม่ชัดหรือเพราะอะไร”

“พี่เป็นคนแก่งคอย เคยทำงานโรงงานผลิตอะไหล่คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอยู่ที่อำเภอบางปะอิน ก็จะนั่งรถจากแก่งคอยไปทำงานที่นั่นทุกเช้า ส่วนสามีพี่เป็นคนต่างถิ่น แต่มาได้งานที่โรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงที่แก่งคอย เลยมาอยู่ด้วยกันที่นี่ ความที่เราสองคนทำงานโรงงาน เลยต้องส่งลูกไปให้ญาติช่วยเลี้ยง จนลูกขึ้น ม.1 พี่ก็พบว่าลูกค่อนข้างเกเรและมีอาการผิดปกติทางอารมณ์ ปัญหาก็อยู่ที่เราเองนี่แหละที่มีเวลาให้เขาไม่มากพอ ไม่ใช่เรื่องอื่น เลยตัดสินใจลาออกจากงานที่โรงงาน และเอาเขากลับมาเลี้ยงเอง จะได้มีเวลาดูแลเขาเต็มที่ พอออกจากงาน ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับลูก พาเขาไปหาหมอที่โรงพยาบาลในอำเภอเมืองเป็นประจำ และอยู่เป็นเพื่อนเขา โดยช่วงหลังๆ พอไม่ได้ทำงานเข้า

“ความทรงจำตรงนี้เป็นมรดกชิ้นสุดท้ายที่เตี่ยมอบ พี่ไม่อยากให้มันถูกลืม เลยเขียนเป็นหนังสือไว้”

“เตี่ยพี่แกเคยอยู่ซัวเถา มีวันหนึ่งก็มีเพื่อนบ้านมาบอกว่าจีนกำลังจะมีการปฏิวัติ ถ้าเป็นได้ ให้เดินทางไปเมืองไทยดีกว่า เดี๋ยวจะหนีออกมาไม่ได้ เตี่ยก็เลยนั่งเรือหนีออกมา แกเล่าให้พี่ฟังว่าระหว่างนั่งเรืออยู่ ดันไปเจอพวกทหารญี่ปุ่นบุกยึดเรือ และเอาพวกเตี่ยไปทิ้งที่เกาะไหหลำ เตี่ยกับเพื่อนก็ต้องเดินเท้าจากไหหลำกลับมาตั้งหลักที่ซัวเถา แล้วค่อยวางแผนเดินทางใหม่ จนอายุ 12 แกถึงอพยพมาอยู่เมืองไทยได้ แกเริ่มต้นจากการเป็นลูกจ้างแถวบ้านหม้อที่กรุงเทพฯ ทำได้สักพัก ช่วงนั้นมีสงครามมหาเอเชียบูรพา ก็มีข่าวว่าที่กรุงเทพฯ จะมีระเบิดอีก ก็เลยหนีมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่แก่งคอย โดยมาเริ่มต้นขายน้ำแข็งไสในตลาด แต่ก็ไม่วายมีระเบิดตามมาลงที่แก่งคอยอีก

ฟังเสียงกะดีจีน อ่านย่านกะดีจีน

We Citizens ชวนผู้อ่านมาฟังเสียงของย่านกะดี ผ่านการอ่านย่านกะดีจีน-คลองสานใน E-Magazine ฉบับ “เสียงกะดีจีน” ที่จะพาทุกท่านไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผู้คน สังคมพหุวัฒนธรรมของย่านที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร อ่านนิตยสารออนไลน์ได้ที่ Wecitizens : เสียงกะดีจีน – WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

1 6 7 8 9 10 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video