[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ประเด็นก็คือค่าเช่าตึกในตัวเมืองกาฬสินธุ์หลายตึก มีราคาสูงพอๆ กับค่าเช่าในเมืองใหญ่อย่างขอนแก่น พอราคามันสูงแบบนี้ คนรุ่นใหม่ที่อยากเริ่มธุรกิจก็ไม่กล้าเช่า

ผมเป็นคนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ครอบครัวผมปลูกกาแฟมาตั้งแต่ปี 2529 แต่สมัยก่อนผมไม่เคยคิดที่จะทำธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟเลย ผมเรียนหนังสือในระบบตามปกติที่กรุงเทพฯ จบมาก็ได้ทำงานโรงงานของแบรนด์สุราเจ้าหนึ่ง เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายโรงงานต่างจังหวัด โรงงานมีทั้งหมด 12 แห่งทั่วประเทศ ผมก็จะเดินทางไปตรวจสอบโรงงานละ 2 เดือน หมุนเวียนไปแบบนี้ทั่วประเทศ ผมทำงานนี้มา 5 ปีแล้ว จนรู้สึกไม่อยากเดินทางบ่อย พอดีได้แฟนเป็นคนกาฬสินธุ์ ก็เลยขอย้ายมาประจำโรงงานที่ขอนแก่นใกล้ๆ ทำอีกสักพัก

ชุมชนหน้าโรงเลื่อยมีประวัติศาสตร์สำคัญสองเรื่อง คือเป็นชุมชนดั้งเดิมในยุคตั้งเมืองเมื่อ 200 กว่าปีก่อน กับเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหนักเก่าแก่แห่งเดียวในเมืองกาฬสินธุ์

“กาฬสินธุ์มีโรงงานอุตสาหกรรมหนักแห่งเดียวในจังหวัดคือโรงงานแปรรูปไม้ หรือโรงเลื่อย ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชนที่แม่เป็นประธาน นั่นคือชุมชนหน้าโรงเลื่อย ชุมชนหน้าโรงเลื่อยตั้งอยู่ติดกับลำน้ำปาว หรือคลองปาว ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อโสมพะมิตร ผู้ก่อตั้งเมืองกาฬสินธุ์ โดยพระยาโสมพะมิตร เดิมเป็นเจ้านายลาวที่อพยพเทครัวมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งรกรากใหม่บริเวณแก้งส้มโฮง ดงสงเปือย (แก่งสำโรง โค้งสงเปือย) หรือบริเวณริมคลองปาวแห่งนี้ ก่อนที่พระองค์ท่านจะเสด็จไปเข้าเฝ้าในหลวง รัชกาลที่ 1 เพื่อขอสวามิภักดิ์เข้ากับสยาม ในปี พ.ศ. 2336

สำคัญกว่าค่าตอบแทน คือการที่เด็กๆ ได้ฝึกสมาธิ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ ไม่ว่าพวกเขาจะโตไปทำอาชีพอะไร ถ้ามีพื้นฐานตรงนี้ ก็ไปต่อได้ง่ายทั้งนั้นครับ

“ผมเป็นครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ และสอนวิชาดนตรีในชั่วโมงวิชาชุมนุม ก็จะชวนเด็กๆ ที่สนใจอยากเล่นดนตรี พอมีแวว หรือมีพื้นฐานทางดนตรีมาซ้อมวงกัน โรงเรียนเราเปิดสอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเป็นโรงเรียนร่วม รับเด็กที่บกพร่องด้านการเรียนรู้มาเรียนด้วย จึงมีวิชาชมรมที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเสริมเพื่อช่วยพัฒนาการด้านการเรียนรู้แก่เด็กๆ ต้องยกเครดิตให้ผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์กิ่งเพชร ธารพร ที่คอยสนับสนุนชมรมดนตรี ซึ่งไม่เพียงการสนับสนุนเครื่องดนตรีให้เด็กๆ ได้ฝึกซ้อม แต่ยังเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่างๆ

ถ้านึกถึงไส้กรอกปลา ต้องที่กาฬสินธุ์

“แต่ก่อนผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์จิระพันธ์ ห้วยแสน ที่ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ สมัยเป็นนักศึกษาเคยช่วยอาจารย์ทำงานวิจัยอยู่หลายโครงการ จึงคุ้นเคยกัน พอเรียนจบ ผมก็ไปทำงานที่สมุทรสาครก่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อาจารย์จิระพันธ์ ทำวิจัยเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่กาฬสินธุ์ จนนำมาสู่นวัตกรรมด้านอาหารของจังหวัด จุดเริ่มต้นมาจากที่เกษตรกรชาวกาฬสินธุ์เขาเลี้ยงปลาดุกสายพันธุ์รัสเซีย ซึ่งกำลังประสบภาวะล้นตลาด เพราะขนาดของมันใหญ่เกินไป ผู้คนไม่นิยมบริโภค อาจารย์ก็เลยคิดถึงการแปรรูปปลาสายพันธุ์นี้เป็นอาหารประเภทอื่น ก่อนมาลงตัวที่ไส้กรอกปลาด้วยกระบวนการอิมัลชั่น (emulsion) อาจารย์ได้ร่วมมือกับท่านนายกเทศมนตรีเมืองกาฬสินธุ์ จารุวัฒน์ บุญเพิ่ม

“ถ้าคุณแค่ทำตามทีโออาร์ ด้วยการจัดตั้งตลาดให้ชาวบ้าน พอสิ้นสุดโครงการแล้วคุณก็ไป มันก็ไม่ต่างอะไรกับชวนชาวบ้านมาเล่นขายของ”  

“พี่มีอาชีพหลักเป็นครูโรงเรียนกมลาไสย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีอาชีพเสริมคือขายผ้าพื้นเมืองของชุมชน โดยพี่จะเป็นคนไปหาผ้าทอจากชุมชนต่างๆ เช่น ผ้าขาวม้าและผ้าคลุมไหล่ของตำบลโพนงาม ผ้าทอของอำเภอสามชัย หรือกลุ่มผ้าโทเร เป็นต้น มาขายตามงานต่างๆ ในเมืองกาฬสินธุ์  เวลาใครนึกถึงกาฬสินธุ์ จะคิดถึงผ้าไหมแพรวา ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อ แต่นั่นล่ะ ผ้าไหมแพรวาไม่ได้เป็นผ้าทอชนิดเดียวที่มีในบ้านเรา และอีกอย่างราคาก็ค่อนข้างสูง ไม่ใช่ทุกคนจะซื้อหามาใช้ได้ พี่จึงเลือกผ้าทอชนิดอื่นๆ ที่มีราคาไม่แรงนัก ซึ่งกลุ่มแม่บ้านในกาฬสินธุ์ทอมาขาย

ตรุษจีนปากน้ำโพ ภาพสะท้อนการพัฒนาเมืองแบบคนนครสวรรค์

ฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมผังเมืองไทยและเลขานุการกฎบัตรไทย นักวิจัยที่เข้ามายังเทศบาลนครนครสวรรค์และมีส่วนขับเคลื่อนให้เกิดคณะกรรมการกฎบัตรนครสวรรค์เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาเมือง กล่าวชื่นชมเมืองแห่งนี้ว่าเป็นเมืองที่เขาพบความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างน่าทึ่งและไม่เคยพบจากเมืองไหนมาก่อน ถึงขนาดนิยามว่านครสวรรค์มีศักยภาพเป็นเมืองหลวงแห่งกฎบัตรของประเทศไทย เช่นเดียวกับสองคีย์แมนคนสำคัญอย่าง นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ จิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ และประธานสภาเทศบาลฯ สมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ที่ได้รับเสียงชื่นชมจากทั้งกลุ่มนักวิชาการ เครือข่ายภาคธุรกิจและภาคประชาชน ถึงความตั้งใจสานความร่วมมือและเปิดโอกาสให้คนนครสวรรค์ทุกกลุ่มมีส่วนในการแบ่งปันข้อคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางของเมือง รวมถึงการออกแบบกรอบของกฎบัตรและแนวทางพัฒนาเมืองด้วยสมาร์ทซิตี้ ที่ครอบคลุมผู้คนทุกระดับ รวมทั้งผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึง แต่นั่นล่ะ ไม่ใช่เพียงเพราะการที่เมืองมีผู้นำเข้มแข็ง เท่าที่

ปากน้ำประแส
เรือรบหลวง ทุ่งโปรงทอง และวิถีประมงพื้นบ้านอันยั่งยืน

ตั้งอยู่ในอำเภอแกลง ห่างจากเทศบาลนครระยองราว 57 กิโลเมตร ตำบลปากน้ำประแสเดิมเคยเป็นหมู่บ้านประมงพาณิชย์ที่แสนคึกคักและรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในแถบภาคตะวันออก หากปัจจุบันด้วยกฎหมายการประมงที่เปลี่ยนไป ก็ทำให้การประมงแบบเดิมซบเซาราวพลิกฝ่ามือ อย่างไรก็ตาม ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และประวัติศาสตร์ที่เชื่อมร้อยกับพื้นที่และชุมชน ทำให้ปากน้ำประแสเปลี่ยนโฉมหน้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด สถานที่ที่คุ้มค่าแก่การขับรถมาเยือนจากตัวเมืองระยองเพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศของการพักผ่อนที่ไม่เหมือนที่ไหน และเหล่านี้เป็นเหตุผลว่าทำไม สะพานประแสสินสะพานประแสสินมีสถานะกลายๆ ของการเป็น ‘ประตู’ ทางเข้าเมือง (ตำบลปากน้ำประแส) สะพานที่ทอดยาวซึ่งมาพร้อมทางจักรยานและทางเดินเท้าแห่งนี้ เป็นจุดชมวิวชุมชนปากน้ำประแสและท้องทะเลอันกว้างใหญ่สุดสายตา ตบไฟเลี้ยวและจอดรถข้างทาง เดินลงมาสูดอากาศ

ป่าชายเลนพระเจดีย์กลางน้ำ
ปอดของคนระยอง และทางเดินชมป่าชายเลนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

อาจเรียกได้ว่าเป็นทุกขลาภของเมืองอุตสาหกรรมอย่างระยอง เพราะแม้จะเป็นจังหวัดที่มี GDP สูงที่สุดในประเทศ หากก็ต้องแลกมาด้วยมลภาวะทางอากาศจากจำนวนโรงงานที่มีมากถึง 4,000 แห่ง (ข้อมูลจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง) อย่างไรดี ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างสมดุลหนุนเสริมคุณภาพชีวิตของชาวระยอง คือการที่เมืองอยู่ติดชายทะเล และการมีป่าโกงกางพื้นที่กว่า 500 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คอยซับมลภาวะ เป็น ‘ปอด’ สำคัญของคนระยอง ไม่เพียงเท่านั้นป่าโกงกาง (หรือป่าชายเลน) ยังเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของจังหวัด

ตลาดใต้ พิษณุโลก
หลบเวลาไปชมวิถีตลาดเช้าสุดคลาสสิคของเมืองพิษณุโลก

แม้จะมีองค์ประกอบแบบเฉกเช่นตลาดเช้าที่พบได้ทั่วประเทศ – ผู้คนขวักไขว่ แผงขายอาหาร เขียงหมู น้ำเต้าหู้ปาท่องโก๋ สภากาแฟ หรือบรรยากาศจอแจตั้งแต่ไก่ยังไม่ขัน กระนั้นเมื่อพินิจถึงรายละเอียด คุณจะพบว่าตลาดใต้ เมืองพิษณุโลก ตลาดเช้าที่ซ่อนตัวอยู่ระหว่างถนนบรมไตรโลกนาถและแม่น้ำน่าน ไม่ไกลจากหอนาฬิกาใจกลางเมือง กลับมีเอกลักษณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้ ตึกแถวเก่าแก่ในยุคโมเดิร์นเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว บรรยากาศแบบย่านคนไทยเชื้อสายจีนที่คลุกเคล้าไปกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนพิษณุโลก วิถีตลาดท้องถิ่นที่ซ้อนทับไปกับชีวิตคนเมือง แผงขายสินค้าแบบกะดินกลางถนน ไปจนถึงประวัติศาสตร์ของย่านที่น่าตื่นตาไม่แพ้ความเป็นมาของเมือง และใช่

1 9 10 11 12 13 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video