[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

“การจะเข้าจะออกต้องผ่านมติคณะกรรมการเท่านั้น แม้แต่เจ้าอาวาสเองก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าจะให้ใครอยู่ใครไป”

“วัดวชิราลงกรณวราราม วรวิหารเป็นพระอารามหลวงในคณะธรรมยุต อยู่ในชุมชนใหญ่ ที่สำคัญคือเป็นวัดในปรมาภิไธยของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน เจ้าของที่คือคุณย่าทิพย์ นิยมเหตุ สร้างถวายแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในสมัยที่พระองค์ทรงพระเยาว์ ทีนี้ หลวงพ่อมารักษาการเจ้าอาวาสช่วงปี 2557-58 แล้วมาอยู่รับตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อปี 2563 ก็มาศึกษาดูสภาพสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ ภูมิประเทศ ชุมชน ก็มีแนวคิดอยากพัฒนาพื้นที่ของวัดให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนให้มากที่สุด เป็นประโยชน์ต่อศาสนา และเป็นประโยชน์ต่อพระเณร เนื่องจากวัดมีพื้นที่จำนวนมาก

“การปลูกต้นไม้สำคัญคือดินต้องมีจุลินทรีย์ ต้นไม้จะโตหรืองาม ขึ้นอยู่กับดินค่ะ ไม่ได้อยู่กับต้นไม้นะคะ เพราะฉะนั้นการห่มดินในเชิงกสิกรรมจึงสำคัญมาก”

“ศูนย์เรียนรู้ของเขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ส่วนมากคนที่มาเรียนคือ ชาวบ้านที่ได้รับการคัดเลือกจากกรมพัฒนาชุมชน ซึ่งก่อนที่กรมฯ จะไปขุดพื้นที่ให้ 1 ไร่ กับ 3 ไร่ เขาต้องมาเรียนรู้หลักกสิกรรมธรรมชาติให้ผ่านก่อน จริงๆ เขาเก่งกว่าเราอีกนะ เขาทำเกษตรกรรมอยู่แล้ว เขารู้ส่วนหนึ่ง ถึงหลักกสิกรรมธรรมชาติไม่มีถูกผิด แต่บางครั้งเขารู้แบบผิดๆ ก็มาเรียนรู้จากเรา

“เขาใหญ่มีคาเฟ่และโรงแรมเยอะมาก แต่รถขยะมีแค่ 2-3 คัน แล้วเก็บอาทิตย์ละครั้งหรือสองครั้ง มันไม่ทัน ส่วนเราก็พยายามช่วยเขาเต็มที่ด้วยการแยกขยะ”

“เราเกิดและโตที่อำเภอปากช่อง บ้านอยู่ในพื้นที่เขาใหญ่ หลังเรียนจบอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ทำงานด้านมาร์เก็ตติ้ง บริการลูกค้าที่กรุงเทพฯ ได้สองปี ช่วงนั้นยังไม่รู้จักคำว่า PM2.5 แต่รู้สึกว่ามันหนามาก สุขภาพร่างกายไม่ไหว เป็นภูมิแพ้ด้วย ก็ตัดสินใจกลับมาอยู่บ้าน คุณพ่อ (ธันวา เชี่ยวพานิช) ก็อยากให้กลับอยู่แล้ว ท่านเคยเป็นผู้จัดการโรงแรมมาก่อน เลยอยากทำงานด้านโรงแรมบ้าง ก็มาทำงานโรงแรมในเขาใหญ่เกือบปี แล้วก็อยากไปเก็บประสบการณ์อื่นเลยทำเรื่องจะไปเรียนต่อปริญญาโท MBA

“ตอนนี้ที่ไม่แฮปปี้คือถนนธนะรัชต์ที่ทำแบริเออร์ตรงเกาะกลาง น่าจะทำประชาพิจารณ์ซักหน่อย ชาวบ้านบอกว่า มาทำประชาพิจารณ์เหมือนกัน แต่มาทำวันนี้แล้วก็เจาะวันนี้เลย”

“เราตั้งใจทำโรงแรมแกรนด์สิริ รีสอร์ท เขาใหญ่ให้เป็นบ้านหลังที่ 2 ของทุกคนที่มา ถึงจะระดับ 3 ดาวก็พยายามปรับปรุงอยู่ตลอด เราเองไม่ได้มีความรู้เรื่องโรงแรม ตอนแรกทำเป็นบ้านพักตากอากาศ พื้นที่โซนด้านหน้าส่วนที่เป็นล็อบบี้ตอนนี้คือบ้านที่เราจะอยู่กันเอง แล้วบ้านทางซ้ายมือทำเป็นบ้านพักเวลาเพื่อนคุณพ่อมา ความที่ท่านอยู่องค์กรโรตารีด้วย เพื่อนก็เยอะ ยิ่งมายิ่งเยอะ บ้านพักไม่พอ เลยสร้างตึกทำห้องพัก 17 ห้อง ช่วงสองปีแรกก็รับรองเพื่อนป่าป๊ามากกว่า เปิดรับแค่คืนวันเสาร์ วันศุกร์ดึกๆ

“ในงานวิจัยที่เราทำ พบว่า ปัญหาของเขาใหญ่คือการใช้น้ำบาดาลของคนที่อยู่รอบเขาใหญ่มากเกินกว่าปริมาณน้ำใต้ดินที่มีอยู่ เลยทำให้เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ย..”

เรียนรู้ พัฒนา เมืองเขาใหญ่                โครงการวิจัย “เมืองแห่งการเรียนรู้ ทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่เขาใหญ่ ปากช่อง” มุ่งหมายสร้างต้นแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แหล่งความรู้และกระจายความรู้ด้านทฤษฎีใหม่ นำไปสู่การปฏิบัติในท้องถิ่น พื้นที่เขาใหญ่ ปากช่อง                WeCitizens

“ร้านนี้เปิดวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2562 ซึ่งโป๊ะเชะกับโควิดพอดี ผมลงมาลุยเอง ลูกน้องกลัวโควิดกระเจิงกันหมด ผมอยู่ที่นี่คนเดียว 4 เดือน เป็นเชฟไปโดยปริยาย ล้างจานเอง ทำเอง เช็ดโต๊ะเอง เสิร์ฟเอง บางวันขายไม่ได้ซักจาน บางวันได้ 1 โต๊ะ”

“ผมเรียนจบสัตวบาลมาทำธุรกิจด้านปศุสัตว์ ต่อยอดการทำฟาร์ม คือเวลาผลิต ไม่ว่าจะเป็นไข่ หมู ไก่ ออกมาล้นตลาด ราคาตกต่ำ ก็ต้องมาแปรรูป เปลี่ยนรูป เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น ไข่ก็ทำแพ็กเกจจิง เสริมสารอาหารบางตัว คุณกินไข่ 1 ฟองเหมือนกัน แต่ได้คุณค่าทางอาหารมากกว่า หรือผลิตไก่ออกมา ขายเป็นตัว ยังได้ไม่เต็มที่ ถ้ามาทำเป็นลูกชิ้น

“เกษตรกรมองว่าระยะปรับเปลี่ยนจากเคมีมาเป็นอินทรีย์ใช้เวลา 2 ปี กว่าดินจะมาเป็นอินทรีย์ ในช่วง 2 ปีนี้เขารอไม่ได้”

“ไร่องุ่นพรมชนเริ่มต้นทำแบบเกษตรอินทรีย์เลย ตอนแรกปลูกองุ่นเต็มพื้นที่ เป็นไร่องุ่นแรกที่ทำโรงเรือน มีมุ้งกันฝน กันแมลง กันนก เพราะเจอนกเอย แมลงเอย เวลาฝนตก ผลผลิตเสีย เลยหาวิธีแก้ปัญหาในระยะยาว อย่างที่อื่นเขาทำโอเพ่นจะใช้ยาฆ่าแมลงเป็นตัวจัดการ เราไปเรียนรู้วิธีการทำโรงเรือนไปดูงานที่เมืองนอกแล้วเอามาใช้งานจริง ตอนเก็บก็เลือกผลสวยๆ ไปขายผล ที่ลูกไม่สวย แยกไปทำน้ำผลไม้องุ่นหรือไวน์ เป็นผลผลิตของไร่ ตอนนี้ผลผลิตทุกอย่างเราทำเองหมด มีทั้งองุ่น มะขาม ทับทิม

“ผมเป็นเด็กเกิดในอุทยานฯ เลยรักเหมือนบ้าน คือถ้าเรารู้สึกเหมือนบ้าน เราก็ดูแลไง เรารักมัน เจ้าหน้าที่ก็จะเป็นอย่างนี้ ปลูกฝังกันมา”

“ผมเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายนันทนาการ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ งานที่ทำคือการประชาสัมพันธ์เรื่องการอนุรักษ์โดยรอบพื้นที่อาณาเขตที่ชาวบ้านกับอุทยานฯ อยู่ติดกัน เป็นงานที่เข้าไปให้ความรู้กับเด็กและชุมชน การอนุรักษ์ การอยู่ร่วมกันของชุมชนกับอุทยานฯ บางทีชุมชนก็ไม่รู้ว่าอุทยานฯ มีข้อปฏิบัติอะไรบ้าง การเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตมันผิดอยู่แล้ว เช่นเข้ามาเก็บของเก็บผลไม้ เราก็ไปคุยให้เขาได้รู้ ได้เข้ามามีส่วนร่วม ผมเริ่มทำงานตั้งแต่ปี 2542 ก็นานแล้ว คุณพ่อคุณแม่อยู่ที่นี่อยู่แล้ว เรียกว่าผมเป็นเด็กอยู่ในพื้นที่ เกิดในอุทยานฯ เลย รักเหมือนบ้าน ซึ่งก็เป็นแนวคิดในการทำงานนี่แหละ

“สังคมเขาใหญ่น่าอยู่นะ คุณภาพชีวิตดี อยู่ที่นี่ ไม่รู้คนอื่นเครียดมั้ย แต่เราไม่เครียด”

“เรามีประสบการณ์ด้านการตลาดมา เมื่อตัดสินใจเบนเข็มจากโลกที่เป็นเอกชน เป็นลูกจ้าง เป็นแบรนด์ มาทำเกษตร มันพลิกเลย สิ่งแรกไม่ใช่เปลี่ยนเลย ต้องค่อยๆ เปลี่ยนก่อน ต้องแน่ชัดว่าเราจะกระโดดมา แล้วสิ่งสำคัญคือ ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่เราประสบความสำเร็จในอดีต จะทำให้มาทำเกษตรแล้วจะประสบความสำเร็จเหมือนกัน มันไม่มีอะไรแน่นอน ดังนั้น เราต้องลืมไปเลยว่าเราเคยเก่งอะไร เคยมั่นใจอะไรมา ถึงจุดที่เราต้องตัดเป็น แล้วมองให้สว่างว่า นี่คือโลกใหม่ โลกเกษตร แต่ในการประสบความสำเร็จ

1 14 15 16 17 18 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video