[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

นี่อาจเป็นความเคลื่อนไหวเล็กๆ แต่ถ้าเราพบวิธีสื่อสารออกไปให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เราชื่อว่าสิ่งเล็กๆ สิ่งนี้อาจจุดประกายให้เกิดการพัฒนาเมืองครั้งใหญ่ได้

“หลายปีก่อน สมัยที่ยังไม่มีสื่อออนไลน์เหมือนทุกวันนี้ เรามีโอกาสไปร้านหนังสือที่เชียงใหม่ และเห็นหนังสือชื่อว่า ‘ไม่รักไม่บอก’ ซึ่งเป็นหนังสือคล้ายๆ หนังสือทำมือ ภายในมีแผนที่เมืองเชียงใหม่ย่านต่างๆ พร้อมลายแทงร้านอาหารขึ้นชื่อ และเกร็ดข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนที่นี่ เราซื้อกลับมา อ่านจบ และคิดว่าหาดใหญ่บ้านเกิดเราก็มีร้านดีๆ และข้อมูลที่น่าสนใจไม่แพ้เชียงใหม่ นึกอิจฉาว่าทำไมไม่มีคนรวบรวมมาพร้อมสรรพอย่างนี้ ใจความสำคัญคือการคัดสรรข้อมูลและสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพราะแค่กับหนังสือเล่มเดียว ยังทำให้เราพบว่าเมืองเมืองหนึ่งน่าอยู่ น่าสนใจ และสร้างแรงบันดาลใจให้เราได้ จนภายหลังโซเชียลมีเดียกลายมาเป็นสื่อกระแสหลัก และมีเพจเฟซบุ๊คที่เล่าเรื่องหาดใหญ่ในมุมของตัวเอง

ที่หยุดทำสวนผักไป เพราะหาที่ดินยากครับ หาดใหญ่มีแต่ตึก จะไปหาดินปลูกต้นไม้ได้ยังไง

“ผมอยู่ชุมชนศุภสารรังสรรค์ คนหาดใหญ่จะจำชุมชนนี้ได้ในชื่อชุมชนเซี่ยงตึ๊ง เพราะอยู่ใกล้ศาลเจ้าท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่เป็นที่ตั้งของหนึ่งในกู้ภัยที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองหาดใหญ่ (มูลนิธิมิตรภาพสามัคคี) โดยหลายคนก็เข้าใจว่าชุมชนนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของศาลเจ้า แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ พื้นที่ชุมชนเป็นของเทศบาลนครหาดใหญ่ ถนนศุภสารรังสรรค์ไม่เพียงเป็นถนนสายสำคัญที่ตัดผ่านกลางเมืองหาดใหญ่ แต่สวนหย่อมศุภสารรังสรรค์ที่เรานั่งอยู่นี้ ยังมีคลองเตยไหลผ่าน คลองแห่งนี้เป็นคลองระบายน้ำที่ตัดผ่านกลางเมืองหาดใหญ่ สมัยก่อนน้ำในคลองยังมีบางช่วงที่ใช้ได้ ชาวบ้านก็เอามาใช้รดน้ำต้นไม้ หรือที่ผมเคยทำแปลงเกษตร ก็ใช้เหมือนกัน แต่หลายปีหลังมานี้น้ำเน่าเสียจนใช้ไม่ได้แล้ว ผมเป็นคนสิงหนคร ย้ายมาอยู่ชุมชนนี้ราวปี 2548 สมัย

ลูกค้าเราคือขาประจำส่วนใหญ่ แต่หลังๆ ก็มีนักท่องเที่ยวมาด้วย ส่วนมากที่มา เพราะเขาอยากลองกินติ่มซำที่คนหาดใหญ่จริงๆ กินกัน

“เตี่ยผมย้ายจากซัวเถามาอยู่หาดใหญ่ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แกทำงานรับจ้างส่งของตั้งแต่เด็กจนมีเงินเปิดร้านขายของชำที่บ้านหลังนี้ โดยตอนเช้า ด้วยความที่บ้านเราอยู่ในตัวเมือง แม่เลยทำน้ำชาขายด้วย โดยรับพวกอาหารเช้าง่ายๆ อย่างข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวห่อ หรือปาท่องโก๋มาขายกับน้ำชา ก็มีลูกค้าที่เป็นคนในตัวเมืองหาดใหญ่มากินอย่างต่อเนื่อง ราวๆ 20 กว่าปีที่แล้ว ผมเห็นว่าเตี่ยกับแม่มีอายุมาก จากเดิมที่ผมช่วยแกส่งของมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยชวนแฟนมาทำติ่มซำ และให้พวกเขาได้พัก ความคิดเรื่องทำติ่มซำเป็นของแฟน พื้นเพครอบครัวเราสองคนไม่เคยมีใครทำติ่มซำมาก่อน แต่เห็นว่าแม่ผมเขาทำร้านอาหารเช้าเล็กๆ

ถ้าคนในเมืองแอคทีฟ และเทศบาล
แอคทีฟ หาดใหญ่จะน่าอยู่และดีกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้แน่นอน

“แม้จะอยู่ในพื้นที่ศูนย์กลางย่านธุรกิจของหาดใหญ่ แต่พื้นที่ที่ผมอยู่ก็เป็นชุมชนเมือง ทั้งยังเป็นชุมชนแรกๆ ตั้งแต่มีการตั้งเมืองหาดใหญ่ด้วย ชุมชนเรามีชื่อว่าพระเสน่หามนตรี ตั้งตามชื่อของนายอำเภอคนแรกของหาดใหญ่ ชุมชนพระเสน่หามนตรีเดิมเป็นพื้นที่เดียวกับชุมชนกิมหยงสันติสุข ก่อนจะแยกออกมา และเป็น 1 ใน 103 ชุมชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ในปัจจุบัน พื้นที่เราเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าใหญ่ๆ ของเมืองสามแห่ง ได้แก่ ศูนย์การค้าโอเดียน ลี การ์เด้นส์ และเซ็นทรัลพลาซา (ปัจจุบันปิดตัวไปแล้ว –

เส้นทางแห่งความสุขในชุมชนริมป่า
อเมซอนเมืองนคร สำรวจ 5 พื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ทำให้คุณอิ่มท้อง อิ่มสมอง อิ่มใจในปากพูน

เทศบาลเมืองปากพูน ตั้งอยู่ในตำบลปากพูน อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช ที่นี่เป็นคล้ายปราการด่านหน้าของเมืองนคร ไม่ใช่เพียงเพราะความเป็นปากน้ำทางทิศเหนือ ซึ่งเดิมเป็นเส้นทางคมนาคมจากอ่าวไทยสู่ตัวเมือง หากยังเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาตินครศรีธรรมราช ที่ซึ่งหากใครเดินทางมาเยือนจังหวัดแห่งนี้ด้วยเครื่องบิน ปากพูนจะเป็นสถานที่แรกที่รอต้อนรับ บนพื้นที่ 93.78 ตารางกิโลเมตรที่ประกอบด้วย 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน กว่า 70% คือที่ราบลุ่มอันเกิดจากการทับถมของสันดอนดินปนทรายอันเป็นที่มาของชื่อปากพูน ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 30% เป็นพื้นที่ดินเหนียวและดินเหนียวปนทราย นั่นทำให้นอกจากทำเลที่ถือเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญ

เรียนรู้ริมกว๊าน พัฒนาคน พัฒนาเมืองพะเยา

ดาวน์โหลด infographic “เรียนรู้ริมกว๊าน” เพื่อเรียนรู้แนวทางการขับเคลื่อนโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ได้ที่ https://drive.google.com/file/d/13rkLf-K7r56p2RRhLJrpZY2VaiNTxZ-3/view?usp=sharing

อ่านพะเยา : อ่านความเคลื่อนไหวของคนหลายรุ่นในเมืองที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติและประวัติศาสตร์

ชวนอ่านเรื่องราวของผู้คนหลายรุ่น หลายที่มา หลายเรื่องราวของชีวิตที่น่าสนใจของผู้คนในเมืองประวัติศาสตร์ เมืองแห่งกว๊าน…เมืองพะเยา ได้ที่ WeCitizens : เสียงพะเยา – WeCitizens Flip PDF | AnyFlip

อ่านเชียงใหม่ : อ่านประวัติศาสตร์ อ่านผู้คน

ชวนอ่านเรื่องราวหลากหลายของผู้คนที่อยู่อาศัยในเมืองเก่าที่ชื่อ “เชียงใหม่” เมืองประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นยาวนานหลายศตวรรษ หลายระลอกประวัติศาสตร์ที่เชียงใหม่ได้ก้าวผ่านมาจนถึงปัจจุบันที่เชียงใหม่กลายเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เมืองแห่งพหุวัฒนธรรม เมืองแห่งผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม หลายช่วงอายุ มาอยู่อาศัยร่วมกัน อ่านเรื่องราวของการเรียนรู้เพื่อร่วมเรียนรู้เมืองเชียงใหม่ได้ในรูปแบบของ E-book ได้ที่ https://anyflip.com/jnmvd/dxpa/

อ่านปทุมธานี เรียนรู้เมืองแห่งการเรียนรู้ไม่รู้จบ

ชวนมาร่วมเรียนรู้จังหวัดปทุมธานี เมืองที่มีการเรียนรู้จากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง และเป็นเมืองแห่งพิพิธภัณฑ์หลากหลายสาขาความรู้ เรื่องราวของผู้คนหลากหลายที่น่าสนใจได้ใน We Citizens ฉบับ เสียงปทุมธานี ในรูปแบบของ E-book ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ https://anyflip.com/jnmvd/fpzv/

1 37 38 39 40 41 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video