สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
ในปีพ.ศ.2563-2564 หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาเมืองในประเทศไทยเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วทั้งหมด 18 เมือง 20 ชุดโครงการ และ 41 ชุดโครงการย่อย ในปีพ.ศ.2565-2566 บพท. ได้วางแผนและดำเนินการต่อยอดการสนับสนุนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” โครงการ “การขับเคลื่อนผลงานวิจัยผ่านการสื่อสารสาธารณะเพื่อพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้” จึงมีหน้าที่ในการต่อยอดงานวิจัย โดยการสังเคราะห์และสรุปทเรียนจากการทำงานของนักวิจัย
“ตอนจบมาใหม่ๆ เราทำอาชีพครู แต่ความที่เราชอบทำกิจกรรมและงานภาคสนาม จึงพบว่าครูไม่ตอบโจทย์ชีวิตเราเท่าไหร่ จนมาเจอกับพี่ชมพู่ (วรรณกนก เปาะอีแตดาโอะ) ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ – ผู้เรียบเรียง) พี่ชมพู่ก็ชวนมาทำงาน เรารู้จักกลุ่มนี้ตั้งแต่สมัยที่เราทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว จึงตกปากรับคำ ลูกเหรียงคือชื่อของพืชท้องถิ่นในภาคใต้ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่กว่าจะออกเมล็ดพันธุ์ต้องใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี คือต้องใช้เวลาพอสมควรในการฟูมฟัก แต่เมื่อมันแตกกิ่งก้านสาขาแล้ว ก็จะให้ร่มเงาแผ่กว้าง และเมล็ดพันธุ์ก็พร้อมจะงอกไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อ
“เราแค่อยากกลับมาอยู่บ้าน ตอนแรกก็ไม่รู้หรอกว่าจะกลับมาทำอะไร เราเรียนจบศิลปะ (ศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – ผู้เรียบเรียง) และทำงานสายครีเอทีฟตั้งแต่เรียนจบ ย้อนกลับไปเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว เรานึกไม่ออกเลยนะว่าทักษะทางวิชาชีพที่มี จะไปประกอบอาชีพอะไรในยะลาได้ เราเริ่มอาชีพใหม่ในบ้านเกิดของตัวเองด้วยการร่วมกับน้องสาวเปิดร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ชื่อ Living Room ที่เลือกทำร้านก็เพราะเราทั้งสองคนชอบทำอาหาร และเห็นว่ายะลายังไม่มีร้านที่นำเสนอไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยแบบนี้ด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นรูปแบบหนึ่งของงานครีเอทีฟที่เราถนัดด้วยเช่นกัน ทั้งการทำสไตล์ลิ่ง การออกแบบเมนูอาหาร และอื่นๆ
“เมื่อก่อนถนนรวมมิตร ที่ตั้งของร้านกาแฟผม เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจของเมืองยะลา มีโชว์รูมร้านค้ามาเปิดเยอะ พลุกพล่านแทบทั้งวัน กระทั่งมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ช่วงปี 2547 ผู้ประกอบการก็พากันย้ายหนีไปที่อื่นเกือบหมด แม้หลายปีผ่านไป สถานการณ์คลี่คลาย ถนนที่อยู่ในตัวเมืองสายนี้ก็เงียบลงไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังเรียนจบและไปฝึกประสบการณ์ทำกาแฟในร้านที่ผมหุ้นกับเพื่อนที่ปัตตานีมาหนึ่งปี ผมก็คิดถึงการกลับบ้านมาเปิดร้านกาแฟที่ยะลา เพราะตอนนั้นยะลายังไม่ค่อยมีร้านกาแฟแบบ specialty ขณะที่คนดื่มกาแฟหลายคนก็เริ่มมองหาร้านแบบนี้ จนมาเจออาคารให้เช่าบนถนนรวมมิตรนี่แหละ ซึ่งตอนนั้นก็เริ่มมีผู้ประกอบการกลับมาเปิดร้านค้าบนถนนสายนี้บ้างแล้วหลังจากซบเซามานาน เกรโช (Gratio) เป็นการรวมกันของคำศัพท์ภาษาอังกฤษสองคำ คือ
“แม่ผมเป็นช่างเย็บผ้า จำได้ว่าตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างซนและไปกวนแม่ตอนทำงาน แม่เลยเอาสมุดวาดเขียนและดินสอสีมาให้ผมวาดรูประหว่างรอแม่ กลายเป็นว่าผมชอบวาดรูปมาตั้งแต่เด็ก ตอนแรกอยากเรียนสถาปัตย์ครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ จำไม่ได้แล้วว่าทำไม พอจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย เลยเลือกเรียนสาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ. ปัตตานี (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี – ผู้เรียบเรียง) แทน ที่เลือกสาขานี้เพราะเหมือนเราสามารถประยุกต์ทักษะทางศิลปะที่เราชอบให้เป็นอาชีพอันหลากหลายได้ โดยระหว่างเรียนผมก็พบตัวเองว่าน่าจะจบไปทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ ตอนทำโปรเจกต์เรียนจบ ผมทำเรื่องงานออกแบบกราฟิกกับแลนด์มาร์คของเมืองยะลา
“ความที่ยะลาเป็นเมืองขนาดเล็ก แต่กลับมีสถาบันการศึกษาที่ครบในทุกระดับและทุกระบบ รวมถึงเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนรู้ TK Park ในระดับภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทยด้วย สิ่งนี้เป็นต้นทุนที่ดีมากๆ ในการส่งเสริมการศึกษา ท่านนายกเทศมนตรี (พงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) มักจะบอกกับทุกคนเสมอว่า ยะลาคือตักศิลาของการศึกษาทางภาคใต้ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องเกินเลยแต่อย่างใด เพราะถ้าเทียบกับหาดใหญ่ที่เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่า และมีสถาบันอุดมศึกษาที่มากกว่า แต่หาดใหญ่ก็ไม่มีสถาบันที่หลากหลายเท่ายะลา เรามีตั้งแต่โรงเรียนตำรวจไปจนถึงมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติตั้งอยู่ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นเมืองที่มีการจัดการศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมในระดับท้องถิ่นมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในส่วนของเทศบาลนครยะลา เราค่อนข้างมีอิสระในการจัดการศึกษาด้วยตัวเอง รวมถึงการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในเขตเทศบาล
“แม้จังหวัดยะลาจะไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่ก็กลับมีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ที่น่าสนใจตั้งแต่พื้นที่เมือง ท้องไร่สำหรับทำการเกษตร พื้นที่ชุ่มน้ำ ผืนป่า และภูเขา ทั้งนี้ยะลายังต่างจากสามจังหวัดในชายแดนใต้ที่ต่างมีป่าเขตร้อนชื้นมลายูเหมือนกัน คือยะลามีผืนป่าฮาลาบาลา ที่มีเขตภูเขาฮาลาเป็นภูเขาสูง เป็นป่ามลายูบนพื้นที่สูงแห่งเดียว และเป็นที่อยู่อาศัยของนกหายากอย่างนกไต่ไม้สีน้ำเงิน นกแว่นภูเขา และอื่นๆ ซึ่งมีให้ดูที่นี่ที่เดียวในไทย ภูมิศาสตร์ที่หลากหลายเช่นนี้นำมาซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพ และองค์ความรู้มากมายมหาศาลที่เกี่ยวเนื่องกัน พวกเราจึงคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าองค์ความรู้เหล่านี้มันไม่ถูกเผยแพร่ ได้ทำให้เยาวชนในยะลาตระหนักถึงคุณค่าอันนำมาซึ่งการอนุรักษ์ หรือการใช้เป็นทุนในการพัฒนาเมืองของเราต่อไป โครงการยะลาศึกษา:
“พี่เป็นคนนครศรีธรรมราช มีโอกาสมาเยือนยะลาครั้งแรกเมื่อหลายปีก่อน ชอบความที่เมืองไม่เอะอะวุ่นวาย ผู้คนเป็นมิตร อากาศดี มีสวนสาธารณะที่ร่มรื่น และผังเมืองที่สวยมาก เลยคิดว่ายังไงเสียเราจะต้องสอบบรรจุเป็นข้าราชการที่นี่ให้ได้ ปัจจุบันพี่เป็นผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลนครยะลา หน้าที่หลักคือทำแผนยุทธศาสตร์ของเมือง นำนโยบายของผู้บริหารแปลงออกมาเป็นงานปฏิบัติการ ดูเรื่องการจัดสรรงบประมาณ แผนประชาสัมพันธ์ และสารสนเทศของเทศบาล เทศบาลนครยะลาเรามีพื้นที่การเรียนรู้หลักๆ คือ TK Park Yala ซึ่งเป็นอุทยานการเรียนรู้ระดับภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย โดยตั้งอยู่ภายในศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา
“ก่อนหน้านี้เรากับสามีเป็นวิศวกรอยู่กรุงเทพฯ พอเราคลอดลูก ความที่ไม่อยากรบกวนพ่อแม่ให้ขึ้นมาช่วยเลี้ยง และเราก็ไม่ไว้ใจสถานรับเลี้ยงเด็กในยุคนั้น จึงตัดสินใจลาออกจากงาน เพื่อกลับบ้านที่ปักษ์ใต้มาเลี้ยงลูก เราอยู่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ครอบครัวเราทำธุรกิจโรงพิมพ์ ตอนนั้นลูกยังเล็ก ก็พอช่วยงานครอบครัวเล็กๆ น้อยๆ อยู่พักใหญ่ จนมีอยู่วันหนึ่ง ป้าฝากให้เราขับรถมาส่งของที่ร้านดอกไม้ในตัวเมือง เราเห็นดอกไม้สวยดี ก็เลยซื้อกลับมาสองห่อ กะจะเอาไปขายปลีกที่บ้าน ปรากฏว่าขายวันเดียวหมด เลยขับรถกลับไปซื้อมาขายใหม่ ก็ขายดีอีก ค่อยๆ
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.