[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ผมเหมือนคนที่ตกค้างอยู่ในกระแสของกาลเวลานะ อาชีพที่ดูเหมือนจะสูญหายไปจากสังคมแล้ว แต่ก็ยังมีผมที่หลงเหลืออยู่

“เริ่มจากอาของผมที่เป็นนายช่างเขียนคัทเอาท์ที่โรงภาพยนตร์เฉลิมเขตในอำเภอสุไหงโกลก ตอนนั้นผมเรียน ม.1 เรียนได้ครึ่งเทอม เห็นว่าที่บ้านไม่ค่อยมีเงินส่งผมเรียนแล้ว จึงลาออก และขอตามไปอยู่กับอา ไปให้อาฝึกเขียนรูปให้ หวังทำเป็นอาชีพ ผมไม่มีทักษะทางศิลปะเลย ก็เริ่มจากไปช่วยอาเตรียมเฟรมวาดรูป กวนสี และล้างพู่กันให้ ระหว่างที่อาเขียนรูป ผมก็ดูวิธีการทำงานของเขาแทบไม่กะพริบตา ทำแบบนี้อยู่สองปี จนรู้แล้วว่าจะวาดเส้น ลงสี หรือลงน้ำหนักพู่กันอย่างไร อาก็ให้ผมลองลงมือเขียน ที่โรงหนังเฉลิมเขตจะมีช่างใหญ่ซึ่งก็คืออาผมหนึ่งคน คอยเขียนรูปเหมือนจากใบปิดภาพยนตร์ลงป้ายขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

เราจัดงานให้หน่วยงานรัฐก็ย่อมมีการเมืองเข้ามาบ้าง แต่พอทำงานจนเชี่ยวชาญ ก็ทำให้เรารู้ว่าจะต้องคุยกับใครอย่างไร ต้องรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไร

“ที่บ้านทำธุรกิจติดตั้งเครื่องเสียงรถยนต์มาก่อนค่ะ ทำได้พักใหญ่จนพ่อรู้สึกอิ่มตัว แกก็เลยขยับไปทำเครื่องเสียง PA หรือระบบกระจายเสียงกลางแจ้งสำหรับงานมหรสพและคอนเสิร์ต พ่อเป็นคนที่มีความครีเอทีฟสูง พอทำเครื่องเสียงไปได้สักพัก แกก็รับจัดออร์แกไนซ์พวกงานหรือเทศกาลต่างๆ ด้วยตัวเอง จนเปิดเป็นบริษัทที่รับจัดงานออร์แกไนซ์ที่ครบวงจรที่สุดในจังหวัดยะลา เราซึมซับกับสิ่งที่พ่อทำมาตลอด แต่ตอนแรกไม่คิดจะสานต่อเลย เราอยู่กับเขามาตั้งแต่เด็ก พอเรียนจบก็อยากไปทำงานของตัวเองบ้าง ก็เริ่มจากงานในบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ก่อนจะย้ายมาทำงานในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ดี ความที่เรายังอยู่บ้านเดียวกัน พ่อเป็นคนควบคุมงานด้วยตัวของแกเองคนเดียว จึงเห็นว่ามีบ่อยครั้งที่พ่อต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น จึงมาคิดว่าเราเองเป็นลูกแท้ๆ ช่วยพ่อได้ง่ายๆ

ลูกค้าประจำบางคนสนิทกัน มาสั่งก๋วยจั๊บตีนชามนึง หรือแบบสั้นๆ ‘ขอตีนถ้วย’ ก็มี

“พ่อผมมีลูก 12 คน พ่อส่งทุกคนเรียนด้วยการขายก๋วยจั๊บ น้องชายคนเล็กทำงานสายการบิน อีกคนเปิดบริษัทขายส่ง อีกคนเป็นหมอ ส่วนผมทำงานธนาคาร เกษียณมา 8 ปีแล้ว ตอนนี้เป็นประธานผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยะลา ถ้าวันไหนว่างก็จะมาช่วยน้องชายและน้องสาวขายก๋วยจั๊บ ซึ่งทั้งคู่สืบทอดกิจการต่อมาจากพ่อโดยตรง ก๋วยจั๊บเริ่มขายรุ่นพ่อ ทุกวันนี้ขายมา 60 ปีแล้ว เมื่อก่อนพ่อจะทำก๋วยจั๊บบนรถเข็น ตั้งขายอยู่ในตรอกเล็กๆ ข้างโรงแรมเทพวิมาน ซึ่งเป็นโรงแรมเก่าแก่คู่เมืองยะลา

“ความงดงามของการให้ คือการที่ผู้รับรับบางสิ่งมาอย่างรู้คุณค่า และหาวิธีส่งต่อให้ผู้อื่นเป็นทอดๆ อย่างนี้ไม่สิ้นสุด”

“หนูเกิดและโตที่อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี พอเรียนถึง ม.6 แม่บอกว่าที่บ้านไม่มีเงินส่งให้หนูเรียนต่อแล้ว จบ ม.6 ต้องออกมาช่วยทำงานเลย ครอบครัวหนูทำงานรับจ้างทั่วไปค่ะ มีพี่น้องอยู่ 4 คน ไม่มีใครได้เรียนต่อเลย ไม่ใช่ว่าไม่อยากช่วยพ่อแม่ทำงานหาเงินนะ แต่หนูคิดว่าถ้าได้เรียนต่ออย่างน้อยระดับปริญญาตรี การศึกษาจะทำให้เรามีโอกาสได้ทำงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตครอบครัวได้ ซึ่งก็พอดีกับที่หนูเคยร่วมกิจกรรมของกลุ่มลูกเหรียง (สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้) ทราบว่าทางกลุ่มมีโครงการมอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนที่ขาดโอกาส หนูเลยเขียนจดหมายไปขอทุนการศึกษา หนูสอบติดคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ขณะที่คนในภาคอื่นๆ พบปะเพื่อนฝูงตามร้านอาหารในมื้อเย็น คนยะลาส่วนใหญ่จะเจอหน้ากันตอนเช้า ร้านอาหารเช้าจึงเหมือนเป็นชีพจรของคนที่นี่ 

“สูตรอาหารของยายส่วนใหญ่ได้มาจากคุณยายของยายอีกที ยายจะทำอาหารเช้าที่คนที่นี่กินกันโดยเฉพาะพี่น้องมุสลิม เช่น โรตีมะตะบะ นาซิดาแฆ ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ข้าวยำ และอื่นๆ เมื่อก่อนขายอยู่ที่ย่านตลาดเก่า ก่อนข้ามทางรถไฟมาเปิดร้านตรงทางเข้าตลาดสดยะลาตอนปี พ.ศ.​ 2500 ตอนนี้ก็รุ่น 4 เป็นรุ่นหลานยายดูแลเป็นหลักแล้ว ถึงจะส่งต่อให้รุ่นหลัง ยายก็ยังชอบทำอาหารอยู่ ทุกวันนี้ก็ยังตื่นตี 4 มาช่วยเขา แต่หลักๆ จะเป็นลูกสาวทำ

นี่คือเมืองเล็กๆ ที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย วิถีชีวิตผู้คนค่อนข้างแตกต่างกันมาก แต่ทุกคนกลับเป็นมิตร

“หนูเป็นคนอำเภอรามัน ย้ายมาอยู่ในตัวเมืองยะลา เพราะเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ หนูเรียนคณะวิทยาการจัดการ สาขานิเทศศาสตร์ เพราะชอบทำสื่อ และอยากทำภาพยนตร์ค่ะ ระหว่างเรียน หนูก็มีโอกาสทำหนังสั้นและสารคดีส่งประกวดตามเวทีต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะทำตามโจทย์ของการประกวด เช่น ประเด็นสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างหลังที่หนูสนใจเป็นพิเศษ แต่ขณะเดียวกัน เมื่อค้นคว้าเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองยะลาเพื่อจะนำมาพัฒนาเป็นบทสารคดี หนูกลับพบว่ามีข้อมูลเชิงเอกสารที่ถูกเผยแพร่ค่อนข้างน้อย ทั้งๆ ที่มีเรื่องน่าสนใจตั้งเยอะ ที่ผ่านมา หนูแทบไม่เคยเรียนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

“การศึกษาไม่ได้มีแค่การฟังครูสอนหรืออ่านตำราเท่านั้น แต่การทำกิจกรรมอื่นๆ หรือกระทั่งการเล่นสนุก ก็เป็นการเรียนรู้ได้”

“คุณครูเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 4 ธนวิถี ยะลา โดยโรงเรียนของครูจัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนมีทั้งคนมุสลิมและพุทธ โดยหลักๆ เราเน้นให้เด็กระดับปฐมวัยสามารถอ่านออกเขียนได้ ขณะเดียวกันเราก็พยายามปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในเด็กๆ ทุกช่วงวัย หนึ่งในแนวทางที่ว่าคือแผนการพัฒนารายวิชาเพิ่มเติมตามความถนัดของเด็กๆ ซึ่งนี่เป็นนโยบายที่ครูพยายามผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นมา โดยนักเรียนห้องหนึ่งจะมีราว 30 คน สายชั้นหนึ่งจะมี 5 ห้องเรียน ทางเราก็จะจัดกลุ่มความสนใจและความถนัดของเด็กแต่ละคน และออกแบบหลักสูตรพิเศษเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะของพวกเขา ทั้งนี้ข้อได้เปรียบของโรงเรียนเทศบาลเราคือที่นี่ยังเป็นที่ตั้งของ

หัวหินดึงศักยภาพสำคัญของเมืองตากอากาศมาเป็นกลไกขับเคลื่อนสังคมด้วย 5 ทุนคือ ทุนมนุษย์ ทุนวัฒนธรรม ทุนสิ่งแวดล้อม ทุนสังคม และทุนเศรษฐกิจ

"แปลงต้นทุนเป็นต้นไม้แห่งการเรียนรู้" บุคลิกของหัวหินคือเมืองราชินีตากอากาศ ซึ่งดร.ศิวัช บุญเกิด หัวหน้าชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาเทศบาลเมืองหัวหินสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน” จำกัดความ “หัวหิน” ว่าเป็นเมืองตากอากาศ ไม่ใช่เมืองชายทะเล นัยว่าถอดคำมาจากดีเอ็นเอของเมืองที่เป็นวัง เจ้า หาด ตากอากาศ เป็นการชวนคืนสู่รากเหง้า คืนสู่กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากดีเอ็นเอที่ส่งให้บุคลิกเมืองมีความผู้ดี สงบนิ่ง มาพักผ่อนสบายใจ รู้สึกปลอดภัย อยู่ในสังคมที่อารยะ ในฐานะรองปลัดเทศบาลเมืองหัวหิน

พอเขามีเวทีมาเจอกัน มันกลายเป็นเครือข่ายใหม่ คือเวทีของ Learning City สิ่งที่ไม่เคยออกมาก็ออกมา

           “โครงการย่อยชุด “การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน” เข้าไปศึกษาและเก็บข้อมูลท้องถิ่นในพื้นที่วิจัย ประสานงานกับท้องถิ่นในภาคีที่เกี่ยวข้อง คือภาครัฐ ตัวเทศบาลเมืองหัวหินเองที่เป็นเจ้าภาพทุนวิจัย ภาคประชาชน ภาควิชาการคือมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรกันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงที่เข้ามาทำงานวิจัยเป็นช่วงสถานการณ์โควิด เมืองได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเต็มร้อย ชุมชนพูลสุขที่เราเลือกไปทำวิจัย พวกร้านอาหาร สถานบันเทิง ธุรกิจการท่องเที่ยวโรงแรม

1 40 41 42 43 44 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video