เพราะอันที่จริงแล้ว หน่วยงานรัฐเป็นแค่ผู้สร้างแพลตฟอร์มและการอำนวยความสะดวก แต่ฝ่ายที่จะทำให้แพลตฟอร์มนั้นตอบโจทย์ความต้องการและวิถีชีวิตพวกเรามากที่สุด ก็คือพวกเราเอง

ถ้าเด็กๆ ได้ทดลองทำอะไรที่ต่างไปจากกรอบความคิดของผู้ใหญ่ แล้วเกิดผิดพลาดขึ้นมา ผู้ใหญ่ก็มักจะซ้ำเติมว่า ‘ก็บอกแล้วไงไม่ยอมฟัง’ สิ่งนี้กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่ฉุดให้การเรียนรู้ในบ้านเราไม่ก้าวหน้าเสียที

ชั้นเรียนของผมครึ่งหนึ่งเป็นคนพุทธ อีกครึ่งเป็นคนมุสลิม แต่เราเป็นเพื่อนกันหมด แต่ไหนแต่ไร คนยะลาอยู่กันแบบนี้ กระทั่งวันหนึ่งจู่ๆ ก็มีคนมาบอกว่าพวกเราไม่เหมือนกัน

ถึงเวลาที่ทั้งคนยะลาและคนจากที่อื่นควรเรียนรู้ถึงความแตกต่างหลากหลาย ใช้สิ่งนี้เป็นต้นทุนเพื่อต่อยอดไปสู่สิ่งใหม่ๆ ผมว่ายะลาโตได้มากกว่านี้อีกเยอะครับ

แบวอร์กเป็นการเล่นคำมาจาก แบเวาะ ที่แปลว่าตัวเงินตัวทองในภาษายาวี เราเปลี่ยนคำที่เป็น hate speech ของพื้นที่ ให้กลายเป็นคำสมาสระหว่างยาวีและอังกฤษ แปลว่า เด็กผู้ชาย (แบ) ที่เดินไปด้วยกัน (วอร์ก – walk)

ถ้าเด็กยะลาทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยไม่ต้องหลุดจากระบบกลางคัน เมืองของเราจะส่งเสริมให้พวกเขาเข้าถึงศักยภาพและความสนใจที่แท้จริงของตัวเองอย่างมาก

1 34 35 36 37 38 55