สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ผมเริ่มทำโรงพยาบาลศรีสวรรค์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 ภายใต้โจทย์สำคัญคือ ต้องการสร้างโรงพยาบาลเอกชนที่มีมาตรฐานทัดเทียมกรุงเทพฯ เพราะแต่ก่อน หากคนในจังหวัด ต้องการจะเข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลเอกชน พวกเขามักจะเลือกเดินทางเข้าไปรับการรักษาที่กรุงเทพฯ ก็เลยตั้งใจให้โรงพยาบาลศรีสวรรค์เป็นโรงพยาบาลเอกชนทางเลือกแรกของคนนครสวรรค์ พอตั้งโจทย์แบบนี้ เราจึงทำให้พื้นที่ของเรามีบริการทางการแพทย์ที่ครอบคลุมมากที่สุด โรงพยาบาลศรีสวรรค์เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงในหลายด้าน มีศัลยแพทย์ผ่าตัดสมอง การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง สวนหัวใจทำบายพาส โดยในอนาคต เราตั้งเป้าดูแลกลุ่มผู้ป่วยอัมพาตที่มีอาการเส้นเลือดอุดตันด้วยการสอดสายรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด รวมถึงการสวนสมองและหัวใจ รวมถึงการร่วมงานกับสถาบันวิจัยและโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ในการรักษาผู้ป่วยด้วยยีนและสเต็มเซลล์
“โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ ตั้งขึ้นโดยคณะภราดาลาซาล นิกายโรมันคาทอลิก มีผู้ก่อตั้งคือนักบุญยอห์น แบพติสต์ เดอลาซาล เมื่อสามร้อยกว่าปีที่แล้ว พันธกิจหลักคือการจัดการศึกษาให้แก่เยาวชนและผู้ยากไร้ โดยในประเทศไทยมีโรงเรียนลาซาลอยู่ด้วยกัน 4 แห่ง นอกจากที่นครสวรรค์ ก็มีจันทบุรี บางนา (กรุงเทพฯ) และสังขละบุรี (กาญจนบุรี) โดยล่าสุดเรามีแผนจะเปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผมอยากเป็นครูตั้งแต่เด็ก และเห็นคณะลาซาลมีมิชชั่นเรื่องการศึกษา ก็เลยบวชเณรคณะนี้
“เมื่อก่อนผมอยู่ชุมชนป้อมหนึ่ง ใกล้ๆ ตลาดลาวในตัวเมืองนครสวรรค์ ที่เรียกว่าตลาดลาวนี่ไม่ใช่คนลาวหรอก แต่เป็นคนจากภาคเหนือล่องเรือขนสินค้ามาขาย บางส่วนก็มาตั้งรกรากที่ปากน้ำโพ คนจีนที่นี่เรียกคนเหนือว่าลาว ก็เลยเรียกตลาดลาว แต่หลังๆ มาก็กลายเป็นคนเชื้อสายจีนอยู่เสียเยอะ ตลาดลาวอยู่ติดแม่น้ำปิง เดินเท้าไปไม่ไกลก็คือปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงพาสานบนเกาะยมนั่นแหละ พวกเราอยู่ทันเห็นสมัยที่ตรงนั้นเป็นศูนย์กลางของการขนส่งทางเรือ ตรงตลาดเทศบาลก็มีท่าเรือที่รับคนไปชุมแสง อีกสายไปก้าวเลี้ยว ขณะที่เรือที่สวนมาส่วนหนึ่งจะเป็นเรือขนข้าวสารไปส่งภาคเหนือ ถ้าใครจะเดินทางไปภาคเหนือ ก็มาขึ้นเรือหางยาวที่นี่ สมัยก่อนแม่น้ำกว้างกว่านี้ แม่น้ำจะอยู่ติดตึกเลย ซุงลอยเต็มแม่น้ำโดยส่วนใหญ่จะมาจอดตรงท่าเดชาฯ
“ในฐานะที่ผมเป็นคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงมีโอกาสได้รับเชิญให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนาเมืองของเราในมิติต่างๆ อยู่บ่อยๆ รวมถึงล่าสุดที่เกิดกฎบัตรนครสวรรค์ขึ้น ผมก็เข้าไปร่วมขับเคลื่อนกลไกที่จะทำให้นครสวรรค์เป็นเมืองศิลปะ จะทำยังไงให้เมืองของเราเป็นเมืองศิลปะ? แน่นอน การนำงบประมาณมาสนับสนุนกิจกรรมให้ศิลปินท้องถิ่น หรือดึงศิลปินต่างชาติมาทำโครงการในบ้านเรา ทั้งทางด้านทัศนศิลป์ ดนตรี และการแสดง เป็นสิ่งจำเป็น หรือการมีพื้นที่ทางศิลปะอย่างหอศิลป์ก็ใช่ แต่สำคัญกว่านั้นคือ การทำให้คนในเมืองรับรู้และเห็นคุณค่าของศิลปะ ทำให้ศิลปะกลมกลืนไปกับวิถีชีวิตของพวกเขา กลไกแห่งการเรียนรู้จึงเป็นหนึ่งในคำตอบที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ การทำให้คนนครสวรรค์เข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตัวเอง เข้าใจความหลากหลาย และตระหนักว่าศิลปะคือสิ่งที่โอบอุ้มวัฒนธรรม
“เราลาออกจากงานประจำในบริษัทที่กรุงเทพฯ และกลับบ้านมาทำสวนผักและผลไม้ที่นครสวรรค์ราวปี 2560 ปลูกฝรั่ง มะม่วง ส้มโอ มะนาว กล้วย ฯลฯ ตั้งชื่อว่า ‘ไร่อุดมสุข’ ที่หันมาทำการเกษตร จะว่าเป็นเทรนด์ก็ใช่ และเราก็มีที่ดินที่บ้านเป็นต้นทุนอยู่แล้ว เราก็อยากอยู่บ้านด้วย จึงคิดว่าถ้าทำตรงนี้ได้ก็น่าจะมีความยั่งยืนกว่า ขณะเดียวกัน ก็มาคิดว่าถ้าเราสามารถทำฟาร์มเกษตรที่สามารถผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคได้ เมืองของเราก็น่าจะยั่งยืนไปด้วย ก็เลยศึกษาข้อมูลเรื่องนี้ รวมถึงประสานกับหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุนการทำเกษตรปลอดภัยมาตั้งแต่เริ่มอาชีพใหม่
“ราวๆ 50 ปีที่แล้ว ผมเป็นเด็กอยู่ชุมชนบ้านเกาะ ความบันเทิงของคนที่นั่นคือการฟังเพลงจากเครื่องไฟ ทีนี้หลายคนมักเจอปัญหาเดียวกัน คือเพลงไหนที่มีเสียงแหลมๆ คอยล์ในลำโพงจะชอบขาด คอยล์เป็นอะไหล่นำเข้าจากอเมริกา พอมันขาดทีนึง ก็ต้องเสียเงินซ่อมไปหลายร้อย ซึ่งสมัยนั้นคือแพงมาก ความที่ผมเคยทำงานโรงสีข้าวและโรงบดแร่มาก่อน ก็พอมีความรู้เรื่องกลไกและเครื่องจักร เลยทดลองแกะไดอะแฟรมออกมาและพันขดลวดใส่เพื่อใช้แทนคอยล์ นั่นคือเมื่อราว 30 กว่าปีก่อน ที่ผมหาวิธีผลิตไดอะแฟรมคนแรกมาขาย ขายแผ่นละ 20 บาท
“ชื่อนายตี๋ ลูกชิ้นปลากราย มาจากชื่อเตี่ยค่ะ เตี่ยชื่อเล่นชื่อตี๋ ชื่อจริงชื่อคมสันต์ สุวิทยารักษ์ เปิดร้านนี้มาเกือบ 30 ปีแล้ว แรกเริ่มเลย ต้องย้อนไปสมัยอากง อากงเป็นคนจีนมาตั้งรกรากที่นครสวรรค์ และทำก๋วยเตี๋ยวเป็ดขายเป็นหลัก พร้อมกับขายลูกชิ้นปลากรายเสริมด้วย หลังอากงเสียชีวิต เตี่ยก็มารับช่วงต่อ โดยขายลูกชิ้นปลากรายอย่างเดียว เพราะสมัยนั้นลูกชิ้นปลากรายเริ่มเป็นของฝากของจังหวัดนครสวรรค์แล้ว โดยทำส่งร้านค้าในตลาดก่อน พวกแผงปลา หรือร้านก๋วยเตี๋ยวอื่นๆ ความที่ลูกชิ้นเราไม่ใส่สารกันบูด
“หจก. ลิ่มเชียงเส็ง เริ่มต้นมาจากรุ่นอากงผมช่วงก่อน พ.ศ. 2500 โดยเป็นผู้ประกอบการรายแรกๆ ในนครสวรรค์ที่ได้รับใบอนุญาตทำโรงงานตอนปี 2507 อากงเริ่มธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร พวกบัวรดน้ำ จอบ เสียม และอื่นๆ พ่อผมเป็นรุ่นที่สอง เริ่มมาทำแทรกเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ก่อนจะมาถึงรุ่นผมที่สานต่อพ่อทำโรงงานผลิตเครื่องมือและเครื่องจักรกลทางการเกษตรครบวงจร ผมโชคดีที่เกิดและเติบโตมาในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี และความที่อากงและพ่อปูพื้นกิจการ รวมถึงสร้างเครือข่ายลูกค้ามาไว้อย่างดี จึงเป็นเรื่องง่ายที่ผมจะนำต้นทุนนี้มาเสริมด้วยการวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ โดยแรกเริ่มก็ผลิตสินค้าจำพวกอุปกรณ์ต่อพ่วง
ศิลปะกับการเรียนรู้ สนทนากับ ศักดิ์ศิริ มีสมสืบกวีซีไรต์ผู้ใช้ศิลปะเป็นสื่อให้เด็กๆ เข้าใจคุณค่าของตัวเอง อย่างที่ทราบ WeCitizens คือวารสารและสื่อออนไลน์ประกอบโครงการวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยในฉบับนี้เราไปกันที่เมืองนครสวรรค์ เมืองที่มีแผนการใช้กลไกแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเมืองสู่สมาร์ทซิตี้ ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน อย่างไรก็ดีในอีกมุม การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ยังหมายรวมถึงการปลูกฝังให้ผู้คนรักในการเรียนรู้นอกตำรา เรียนรู้ทุกช่วงวัย และเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข นั่นจึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราได้สนทนากับ กิตติศักดิ์ มีสมสืบ หรือที่รู้จักในนามปากกา ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ ศิลปินอิสระ
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.