สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“เพราะชาวปากน้ำโพเห็นตรงกันว่าเราไม่อยากให้นครสวรรค์เป็นแค่เมืองผ่าน จึงมาหารือร่วมกันกับเทศบาลนครนครสวรรค์ว่าเราควรจะกำหนดทิศทางให้เมืองของเราเป็นไปในทางไหน ตอนที่คุยกันตอนนั้น เทศบาลได้ร่วมกับเครือข่ายผู้ประกอบการในเมืองและภาคส่วนต่างๆ จัดตั้งกฎบัตรนครสวรรค์ เพื่อเป็นหนึ่งในกลไกการพัฒนาเมืองแล้ว เราได้สร้างพาสานเป็นแลนด์มาร์คใหม่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว และได้ฟื้นฟูพื้นที่บริเวณเกาะญวนให้กลายเป็นสวนสาธารณะในชื่อคลองญวนชวนรักษ์แล้ว ก็มาพิจารณาจากต้นทุนและศักยภาพที่เรามี จนได้คำตอบว่าเมืองของเราที่ส่วนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยชาวไทยเชื้อสายจีน และอีกส่วนก็มีความเป็นพหุวัฒนธรรมค่อนข้างสูง ก็ควรจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เมื่อตกลงกันได้แบบนั้น ทุกคนก็เห็นตรงกันว่าเรามีที่ดินราว 3 ไร่เศษด้านหลังพาสาน ที่ผู้ประกอบการปากน้ำโพร่วมลงขันกันซื้อที่ดินไว้และยกให้เทศบาล ก็ประชุมกันแล้วตกลงจะทำ ‘อุทยานวัฒนธรรมต้นน้ำเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว แลนด์มาร์ค สวนสาธารณะ
“ก่อนจะมีการจัดตั้ง บพท. หน่วยงานที่สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรคือ สกสว. เขาให้งบการทำวิจัยกับ 6 เมืองนำร่อง ได้แก่ ขอนแก่น ระยอง เชียงใหม่ ป่าตอง (ภูเก็ต) สระบุรี และอุดรธานี ส่วนเมืองนครสวรรค์ไม่ได้อยู่ในแผนนี้ตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม เมื่อผมทราบข่าวถึงเครื่องมือการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่นี้ ผมก็ติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการนำองค์ความรู้นี้มาช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองอย่างเป็นระบบ ผมมีโอกาสได้อ่านบทความของอาจารย์ฐาปนา บุณยประวิตร
“ผมเป็นคนปากน้ำโพ เรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พอกลับมาอยู่บ้าน ช่วงปี 2527 เห็นเมืองกำลังเติบโต และก็เห็นวัสดุก่อสร้างกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก ขณะเดียวกันพื้นเพของบ้านแฟนผมเขาขายวัสดุก่อสร้างอยู่แล้ว ผมก็เลยเข้ามาช่วยเต็มตัว โดยพยายามเปลี่ยนให้ร้านค้าแบบเดิมให้เข้าสู่โมเดิร์นเทรด ก่อนจะไปจับมือกับ SCG เป็นผู้แทนจำหน่ายรายใหญ่ให้เขาในโซนนี้ เมื่อก่อนเราเปิดร้านอยู่บนถนนสวรรค์วิถี ย่านใจกลางเมืองปากน้ำโพ มีบริการส่งวัสดุก่อสร้างไปที่ไซท์งานเลย ร้านเราจึงไม่ต้องการที่จอดรถอะไรมาก แต่ช่วงหลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ผู้รับเหมาเขาอยากลดต้นทุนเรื่องค่าส่ง เขาจึงเลือกจะขับรถมารับเอง ขณะเดียวกัน
หลายคนปรามาสว่านครสวรรค์เป็นเมืองพ่อค้า จะทำพื้นที่ศิลปะยังไงก็ไม่ขึ้นหรอก แต่นั่นล่ะ ผมมองว่าเพราะเราเป็นเมืองพ่อค้า นครสวรรค์จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่ทางศิลปะ ทำไมจึงคิดเช่นนั้น? เพราะที่ผ่านมาลูกหลานชาวปากน้ำโพไม่ค่อยได้รับการปลูกฝังให้มีใจรักในศิลปะ พวกเขาเติบโตมาด้วยความคาดหวังจากพ่อแม่ให้เป็นหมอ เป็นวิศวกร เป็นนักธุรกิจ ซึ่งผมคิดว่าถ้าเด็กสักคนมีศิลปะไว้จรรโลงจิตใจ พวกเขาน่าจะเป็นหมอ วิศวกร หรือนักธุรกิจที่ดีมากๆ ได้ ผมไม่ได้หมายความว่าจะให้ลูกหลานหันมาเป็นศิลปินกัน ขอแค่ชีวิตได้ใกล้ชิดศิลปะ และมีสุนทรียะในการมองโลกบ้างก็พอ เหมือนประเทศที่เจริญแล้วอย่างญี่ปุ่นเอย หรือในยุโรปเอย แม้แต่ในเมืองเล็กๆ เขาก็ยังมีหอศิลป์ให้เด็กๆ
“ผมเป็นเจ้าของคณะสิงโต เห็นลูกหลานชอบดูและอยากเชิดสิงโต ผมเลยทำหัวสิงโตขนาดเล็กให้พวกเขาได้เล่น ต่อมาก็มีคนมาขอซื้อ แล้วเสียงตอบรับดีมาก จึงกลายเป็นธุรกิจครอบครัวไปเลย ตอนนี้ทำมาได้ 4-5 ปีแล้ว สิงโตที่ผมทำเรียกสิงโตกวางตุ้งของคณะกว๋องสิว คนปากน้ำโพจะไม่คุ้นคำว่าสิงโตกวางตุ้ง เท่ากับคำว่าสิงโตกว๋องสิว ต้นฉบับเป็นหัวสิงโตที่ชาวจีนกวางตุ้งที่ก่อตั้งสมาคมกว๋องสินในเมืองนครสวรรค์ประดิษฐ์ขึ้น ใช้แห่ในงานประเพณีตรุษจีนมา 100 กว่าปีแล้ว เชื่อกันว่านี่คือหัวสิงโตกวนกง หรือหัวสิงโตของเทพเจ้ากวนอู ใบหน้าของสิงโตจึงมีสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดี ความเที่ยงธรรม และความกล้าหาญของเทพเจ้ากวนอู
“พื้นเพผมเป็นคนท่าตะโก ซึ่งคนที่นั่นเขาทำโรงสี ตอนคุณขับรถผ่านท่าตะโกมาที่นี่ (อ.ไพศาลี) จะเห็นปล่องลมสูงตระหง่านเต็มไปหมด ซึ่งนั่นมีมานานมากแล้ว ลูกหลานเจ้าของโรงสีจากท่าตะโกเขาก็กระจายตัว มาอยู่ที่ไพศาลีก็เยอะ ผมก็หนึ่งในนั้น ที่ท่าตะโกและไพศาลีมีโรงสีเยอะ เพราะมันอุดมสมบูรณ์ ที่นาปลูกข้าวขึ้น อย่างไพศาลีนี่มีข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง แต่เดี๋ยวนี้คนปลูกข้าวโพดและถั่วงาลดลงเยอะ อ่อ เมื่อก่อนปลูกฝ้ายกันด้วย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว เกษตรกรไพศาลีจะปลูกข้าวหอมมะลินาดินปนทราย เขาก็ส่งข้าวเปลือกมาสีที่ผม รวมถึงอำเภอใกล้เคียงอย่างท่าตะโก
“ก่อนมาขายกาแฟ ผมทำงานอยู่องค์การมหาชนที่ขับเคลื่อนเรื่องการพัฒนาชุมชนในสำนักงานที่กรุงเทพฯ ผมทำที่นั่นอยู่ราว 10 ปี หลักๆ คือทำเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องเอกสารสิทธิ์ในที่ดินและที่ทำกินของชาวบ้าน หรือการทำให้เมืองยังคงพัฒนาต่อไปได้โดยที่ชุมชนไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นี่เป็นงานที่ผมรัก เพราะได้อยู่กับชาวบ้าน ได้มีส่วนทำให้พวกเขาเข้าถึงและรักษาสิทธิ์ของตัวเอง รวมถึงทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องชุมชนดีขึ้นผ่านการมีที่อยู่อาศัยที่ถูกต้องและมั่นคง แต่พอทำงานไปในช่วงหลังๆ อาจด้วยปัจจัยหลายอย่าง และนี่เป็นมุมมองส่วนตัวของผมนะ ผมเห็นว่าองค์กรที่ผมเคยทำงานด้วย จากที่เคยเป็นตัวกลางเชื่อมชาวบ้านกับภาครัฐ กลับกลายเป็นว่าองค์กรไปรับใช้รัฐมากกว่าจะอยู่ข้างชาวบ้าน ผมเชื่อเรื่องการกระจายอำนาจให้คนเล็กคนน้อย เชื่อว่าคนเล็กคนน้อยเหล่านี้คือเจ้าของเมือง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ
“นครสวรรค์เป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญของภาคกลาง และเพราะเป็นแบบนั้นทำให้ที่ดินในเมืองมีราคาสูง ประชาชนที่มีรายได้น้อยจึงไม่สามารถเข้าถึงที่ดินหรือการมีบ้านได้ ดังนั้นพวกเราก็จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในเมืองที่เป็นแหล่งทำมาหากิน ซึ่งแน่นอน พอเป็นแบบนั้น บางคนอาจได้เช่าบ้านราคาประหยัด แต่ก็มีอยู่มากมายที่ต้องไปบุกรุกอาศัยในที่ดินราชพัสดุ หรือพื้นที่สาธารณะ และนั่นนำมาซึ่งปัญหาชุมชนแออัด ขยะ น้ำเน่าเสีย ไปจนถึงความเครียดที่นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัว ทั้งหมดส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมของเมือง พี่เป็นคณะทำงานของเครือข่ายพี่น้องคนจนเมือง หรือคนยากจนในเมืองนครสวรรค์ เริ่มขับเคลื่อนโครงการบ้านมั่นคงมาตั้งแต่ปี 2553 ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ด้วยหวังจะให้พี่น้องของพวกเรามีที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่ง ปลอดภัย
We Citizens Thailand ชวนผู้อ่านร่วมสำรวจเส้นทางเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมเมืองขลุงผ่าน infographic ที่จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร พื้นที่เกษตรกรรมที่น่าสนใจและไม่ควรพลาดในเมืองขลุง ดาวน์โหลด infographic ฉบับขยาย 100% ได้ที่ infographic เส้นทางเรียนรู้วิถีเกษตรกรรมเมืองขลุง
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.