สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
ย่านกะดีจีน-คลองสาน ย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานฝั่งธนบุรีที่มีความสำคัญควบคู่กับการสร้างบ้านแปงเมืองฝั่งพระนครมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันยังคงหลงเหลือมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้อันทรงคุณค่าจำนวนมาก ทั้งเป็นพื้นที่ย่านเก่าที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ 3 ศาสนา 4 ความเชื่อ หากหลอมรวมเป็นอัตลักษณ์หนึ่งเดียว อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข พร้อมด้วยความเข้มแข็งของชุมชนอันเป็นต้นทุนทางสังคมสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนา ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่จะดึงดูดผู้คนให้เข้ามาในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการแทนที่ด้วยคนกลุ่มใหม่ (Gentrification) และส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในย่าน จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการเรียนรู้ให้ชาวชุมชน เพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันในสังคมสมัยใหม่ให้แก่ชาวชุมชน ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban
“ภารกิจหลักของฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ คือดูแลเรื่องความสะอาด จัดเก็บขยะ ตัดต้นไม้ ปรับปรุงสภาพพื้นที่ในเบื้องต้น พื้นที่เขตคลองสาน 6.87 ตารางกิโลเมตร สวนสาธารณะที่เขตดูแลก็อยู่ในสัดส่วนพอได้ แม้ไม่ได้ตามที่เขาคาดหวัง เพราะพื้นที่เล็ก เราก็ทำไปเยอะแหละ สวนหย่อมเล็กๆ มีหลายจุด มีสวนใหญ่ๆ 2 ที่ สวนป่ากทม.เฉลิมพระเกียรติเชิงสะพานพระปกเกล้า กับสวนป่าเฉลิมพระเกียรติใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาทร) ส่วนสวนลอยฟ้าเจ้าพระยาเป็นของสำนักผังเมืองดูแล นโยบายจะส่งมอบให้สำนักสิ่งแวดล้อมดูแลแต่ยังไม่รู้เมื่อไหร่
“คุณพ่อเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนวัดประยุรวงศาวาสเป็นใต้ถุนสูง ข้างล่างน้ำแฉะๆ คนก็คงจะไปบนบาน เอาหมูจริงๆ มาปล่อย จนหมูออกลูกเต็ม เฉอะแฉะอยู่ใต้ถุน บางทีคนก็มาขโมยลูกหมูไปกิน แล้วมีญาติโยมจะมาบูรณะวัดให้ หลวงพ่อเลยให้เอาหมูไปที่อื่น ทีนี้คุณพ่อก็ผูกพันเพราะเคยเอาข้าวไปให้หมู ท่านเป็นคนปั้นพระพุทธรูปดินเผา เลยมาทำหมู แต่ตอนนั้นบ้านเมืองควบคุมการใช้กระดาษ ท่านมองว่าต่อไปข้างหน้าขยะจะเยอะมาก เลยเอากระดาษเหลือใช้มาทำ พ่อเกิดวันอาทิตย์เลยทาสีแดง คนจีนก็บอกว่าเป็นหมูสีแดงนำโชค แล้วท่านบอกว่าหมูเป็นกระดาษ ยังไงก็ต้องเป็นขยะ เลยเจาะช่องนึงทำเป็นหมูออมสิน
WeCitizens สนทนากับคณะทำงานชุดโครงการ “การวิจัยและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่และกลไกความร่วมมือเมืองแห่งการเรียนรู้ ย่านกะดีจีน-คลองสาน” อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ รองผู้อํานวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) หัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 “มหาลัยในย่าน: โครงการขับเคลื่อนการเรียนรู้ฐานชุมชน” ธนพร โอวาทวรวรัญญู ผู้ช่วยผู้อํานวยการ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง หัวหน้าโครงการย่อยที่ 2 “ศิลป์ในซอย: แสง-สี-ศิลป์ เชื่อมย่าน
“ในโครงการ Learning City ผมร่วมทำกระบวนการการเรียนรู้ รับฟังความคิดเห็น เพื่อทำความเข้าใจตั้งแต่นิยามจนถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ของเมือง ในสองพื้นที่คือกรุงเทพฯ กับนครสวรรค์ เริ่มตั้งคำถามว่า ทำไมเราถึงต้องเรียน และทำไมเราถึงต้องเรียนรู้ เรื่องแรกคือเพื่อที่จะมีงานทำ สร้างรายได้ ทำมาหากิน สอง คือการเรียนรู้ที่จะเข้าสังคม รวมตัวกันเป็นสังคมมนุษย์ สาม คือการเรียนรู้เพื่อยกระดับจิตใจตัวเอง เพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ พื้นฐานที่สุดก็คือศิลปะเป็นสิ่งกล่อมเกลาจิตใจ สุดท้าย
“เมื่อกว่า 200 ปีก่อนตรงศาลเจ้าเป็นแหล่งเทียบท่าของเรือสำเภาจีน ช่วงแรกมีชาวฮกเกี้ยนอัญเชิญรูปปั้นเทพเจ้ากวนอูองค์เล็กเข้ามาประทับในเก๋งจีน ให้ประชาชนได้กราบไหว้ บูชาขอพร เป็นจุดเริ่มต้นของศาลเจ้าพ่อกวนอูในปี พ.ศ. 2279 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตอนนี้ศาลเจ้ามีอายุ 286 ปีแล้ว มีการชำรุดทรุดโทรมและบูรณะศาลเจ้าหรือเก๋งจีนให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยมา สมัยรัชกาลที่ 1 อัญเชิญเทพเจ้ากวนอูองค์กลาง มาประดิษฐานเป็นองค์ที่สอง ติดตั้งป้ายชื่อ “กวง ตี โกว
“ด้วยพื้นที่เขตคลองสานแค่ 6.87 ตารางกิโลเมตร การเข้าถึงชุมชนง่าย เดินไปชุมชนนี้ก็สามารถต่อไปอีกชุมชนได้เลยโดยไม่ต้องใช้รถในการเดินทาง ประชาชนข้างนอกเวลาเดินทางมาในพื้นที่ก็ง่าย มีรถเมล์ รถไฟฟ้า เรือ แต่ในความเจริญมันก็ยังมีความแออัดของชุมชน ความยากจนที่เราเห็นอยู่แล้วยังแก้ไขในเชิงลึกไม่ได้ ได้แค่แก้ไขปลายทาง อย่างผมเป็นนักพัฒนาชุมชนดูเรื่องทุนประกอบอาชีพ เขามายื่นขอ เราช่วยสนับสนุนเขาไม่เกินห้าพันบาท สุดท้ายแล้วคนที่เคยมาขอทำอะไรไม่ได้เลย ขอแล้วก็จบกันไป ต่อยอดไม่ได้ เรามีกิจกรรมที่จะเอานักวิชาชีพมาสอนแต่ละชุมชนในทุกปี ซึ่งด้วยสังคมเริ่มเป็นสังคมเมือง ต่างคนต่างอยู่กันมากขึ้น การรู้จักกันน้อย
“ยังธนคือ Young Generation of Thonburi เครือข่ายคนรุ่นใหม่ที่ทำงานในฝั่งธน นิยามยังธนคือแพลตฟอร์ม เป็นใครก็ได้ที่มารวมตัวกันพัฒนาบางอย่างในบ้านของเราเอง เราทำเวิร์กช็อป “จุดรวมธน” ก็เห็นความเป็นไปได้ต่างๆ มีการเสนอทำพื้นที่สาธารณะที่แอบซ่อนอยู่ในชุมชนมาจัดแข่งฟุตบอลให้เด็กๆ ก็เกิดเป็น Urban Action Project แรกที่ค่อนข้างใหญ่ เป็นทัวร์นาเมนต์สตรีตฟุตบอล “ยังธนคัพ” ที่ไม่ใช่แค่แข่งฟุตบอลธรรมดา เราอยากโปรโมตพื้นที่ในชุมชนที่ไปแข่งว่ารอบๆ มีอะไรน่าสนใจ
“พื้นที่เขตคลองสานมี 34 ชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนแบ่งกันดูแล 4-6 ชุมชน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะของชุมชน ในชุมชนก็มีในรูปของคณะกรรมการชุมชน จัดตั้งตามระเบียบเพื่อดูแลลูกบ้าน เมื่อมีเรื่องต้องประสานงานเราก็จะประสานผ่านคณะกรรมการชุมชน ส่งเสริมการอยู่อาศัยในชุมชนห้าด้าน สังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ เศรษฐกิจ อนามัย การแบ่งชุมชนมีหลายประเภท ทั้งชุมชนเมือง เคหะชุมชน ชุมชนชานเมือง ชุมชนแออัด จริงๆ
Recent Posts
- [เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
- [ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.