[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

โครงการ we!park เป็นแพลตฟอร์มเชื่อมทรัพยากรให้ทุกคนมาขับเคลื่อนไปด้วยกัน มีทั้งกลุ่มที่เป็นฝ่ายวิชาการ คนทำงานด้านข้อมูล ด้านชุมชน ด้านเครือข่าย ภาคเอกชน กลยุทธ์เราคือทำคนเดียวไม่ได้ และถ้าทำคนเดียวมันไม่ยั่งยืน

“ผมเป็นภูมิสถาปนิก เปิดบริษัทด้านการออกแบบพื้นที่สาธารณะมาสิบกว่าปี ในบทบาทนึงเราก็เป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ก็เห็นว่ามีปัญหาที่วิชาชีพหรือความรู้ที่เรามีเข้าไปแก้ไขปัญหาเมืองให้น่าอยู่ขึ้น เพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างการมีส่วนร่วม สร้างการเป็นเจ้าของได้ ทีนี้เรามองว่าสมาชิกทุกคนในเมืองมีทรัพยากรครบอยู่แล้ว ทุน ที่ดิน ความรู้ ความร่วมมือ แต่ไม่เคยมารวมกัน หรือทำกันคนละทีสองที ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สาธารณะไม่ได้เป็นรูปธรรมจริงจัง แล้วความท้าทายของเมืองมีมากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรเพิ่ม โลกร้อน ในขณะที่การเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ หรือเราไม่ได้รู้สึกเป็นเจ้าของ บางทีทำแล้วก็ทิ้งร้าง เพราะฉะนั้นกระบวนการที่เกิดขึ้นต้องทั้งตอบโจทย์ความท้าทาย

การมีนักท่องเที่ยวหรือใครเข้าไปทำให้หลายอย่างดีขึ้น บางที่มีของกินของดีแล้วหายไปเนื่องจากช่วงโควิดที่ผ่านมา ถ้ามีนักท่องเที่ยวเข้าไป เขาก็จะเริ่มฟื้นตัวกลับมาให้เห็น อันไหนที่ซบเซาไปก็จะเรียกคนกลับมา

“เดิมผมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตธนบุรี เพิ่งย้ายมาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อเดือนตุลาคม 2565 นี้เอง ผมก็เข้ามาเรียนรู้ว่าเขตคลองสานมีอะไรดี จะทำอะไรได้บ้าง ตอนผมอยู่ธนบุรี มีย่านกะดีจีน ซึ่งต่อเนื่องไปเป็นฝั่งคลองสาน สามารถทำเส้นทางท่องเที่ยวได้ยาวต่อเนื่องเลย เริ่มตั้งแต่บางกอกน้อย มาบางกอกใหญ่ ข้ามมาธนบุรีคือวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ย่านกะดีจีน วิ่งลอดใต้สะพานพุทธ ก็เข้าเขตคลองสาน ซึ่งมีสถานที่สำคัญมากมาย ตั้งแต่ศาลเจ้ากวนอู สวนสมเด็จย่า (อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) วัดอนงคาราม

สิ่งที่อยากจะฝากคือ โครงการมาดีอยู่แล้ว แต่จะทำยังไงให้ต่อเนื่อง มันต้องลงทุน

“ชุมชนสวนสมเด็จย่าเข้มแข็งพอสมควร บทบาทคณะกรรมการชุมชนสองสามปีนี้เกี่ยวกับโควิด หนักไปทางบริการชุมชน ติดต่อประสานงานสาธารณสุข ดูแลคนในชุมชนที่ติดโควิด เอาข้าวไปแขวนให้เขา โดยมีผู้ใหญ่ใจดีนำสิ่งของมามอบให้ ลักษณะเราเหมือนจิตอาสา ทุกคนมาทำไม่มีเงินเดือนนะ บางอย่างต้องออกเงินไปก่อนค่อยไปเบิกเงินที่เขต ถือว่าชุมชนมีความรักความสามัคคี อยู่ร่วมกลุ่มกัน ไทย จีน แขก เพราะชุมชนเก่าแก่อยู่กันมาเป็นร้อยปี ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน นับญาติกัน คนใหม่เข้ามา คนเก่าย้ายไป ผมเกิดที่นี่ ตรงหน้าสวนสมเด็จย่า

ขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสานสู่เมืองแห่งการเรียนรู้บนเศรษฐกิจฐานความรู้

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการและกิจกรรมขับเคลื่อนการอนุรักษ์และฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรม และส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่เปรียบเสมือนแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตและมรดกวัฒนธรรมที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร มาเป็นเวลากว่า 12 ปี โดยร่วมกับประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน (บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ) และภาคีพัฒนา ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา และประชาสังคม แม้จะเห็นสัญญาณที่ดีในการพัฒนาย่านด้วยว่าในปัจจุบันชุมชนเริ่มสามารถดำเนินกิจกรรมได้ด้วยตนเอง

โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา สกายวอล์กที่สวยและยาวที่สุดของประเทศ เป็นการพัฒนาย่านกะดีจีนไปถึงย่านคลองสาน เดินแม่น้ำเจ้าพระยาถึงกัน สายน้ำไม่หยุดไหลฉันใด สายใจเราทั้งหลายก็จะร้อยเป็นอันเดียวกัน

“อาตมารู้จักอาจารย์แดง (ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง – UddC) สิบกว่าปีที่อาจารย์มาทำโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสาน จัดกิจกรรมชุมชนเข้มแข็งน่าอยู่น่ามอง มีนิทรรศการเล็กๆ ข้างพระบรมธาตุมหาเจดีย์ มีเวทีเสวนาเรื่องความเข้มแข็งในชุมชน อาตมาในฐานะพระเลขาของวัดประยุรฯ ก็เล่าเรื่องนกมูลไถ (สกุณัคฆิชาดก) ให้ฟังว่า นกมูลไถที่เอาชีวิตรอดได้เพราะเขารู้จักถิ่นอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง ทำให้เขาเข้มแข็งได้ ก็เป็นการตอบรับที่ดีมาก แล้วโครงการฯ ก็เข้าทุกตรอกซอกซอยในชุมชนด้วยแนวคิดว่า ชุมชนมีของดีอยู่แล้ว จะทำอย่างไร

ผมอยากให้ชาวบ้านได้ประโยชน์จริงๆ อาซิ่มอาเจ็กได้ประโยชน์ ไม่ใช่มาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ขี่จักรยานมาแล้วบอกชาวบ้านต้องต้อนรับเขานะ แขกมาเยี่ยมชมเรา แล้วก็พาไปร้านโน้นร้านนี้ ซึ่งจุดใหญ่ๆ ไม่ได้ของชุมชนมาตั้ง แล้วชาวบ้านได้อะไร

“ชุมชนซอยช่างนาค-สะพานยาวเปลี่ยนไปเยอะ คนพื้นที่เดิมขยับขยายไปซื้อที่อื่น เอาที่มาทำบ้านเช่า คนนอกพื้นที่มาเช่าอยู่เยอะ แต่ที่อยู่ๆ กันมา ก็มีทั้งคนจีน แขกขาวก็เยอะ มุสลิมก็มี จุดขายของเราคือมัสยิดเซฟี เพื่อนบ้านเราคือท่าดินแดง ก็มีศาลเจ้าซำไนเก็ง ศาลปึงเถ่ากงม่า สมัยก่อนตลาดท่าดินแดงของกินเยอะกว่านี้ เที่ยงคืนตีหนึ่งคนยังแน่น เดี๋ยวนี้ไม่มีละ ที่ลดลงคือคนท่าดินแดงย้ายออก โดนไล่ที่ และความเจริญมา คนรุ่นใหม่ไปอยู่บนห้างเยอะ แต่ถามว่าชาวบ้านถ้ามีอะไรก็รวมตัวกันได้ในระดับหนึ่ง ผมฟังไอเดียของอาจารย์แดง

ทิศทางการท่องเที่ยว ก็อยากให้คนเข้ามาเยอะๆ มาสัมผัสวัฒนธรรมของพวกเรา เรื่องยาเสพติดก็ลดลงเพราะคนมีอาชีพ พวกที่เคยติดยาก็มาทำวินมอเตอร์ไซค์เยอะ ทุกคนมีงานทำ ไม่ตกงาน ไม่เครียด

“เป็นครูมา 28 ปี เกษียณอายุก่อน แล้วมาทำร้านที่บ้าน เมื่อก่อนขายเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ มีเครื่องดื่มพวกนมสด โกโก้ โอวัลติน ขนมปังปิ้งต่างๆ พิซซาเบคอน พอเปิดซักระยะก็มาขายเต็มตัว หยุดเฉพาะวันอังคาร นอกจากมีจอง 6-10 คนขึ้นไปถึงจะเปิดให้พิเศษ เพิ่มรายการอาหารมากขึ้น พวกขนมจีน สเต็ก พาสตาคาร์โบนารา เต็มที่เลย เดี๋ยวนี้คนงงว่าทำไมร้านชื่อเฮโลนมสด

คนในตระกูลดูแลศาลเจ้าสืบทอดกันมา เวลาคนมาเราก็เป็นคนบรรยาย เราตั้งใจ เรายินดี เพราะเป็นคนดูแล เห็นมาตั้งแต่แรก มีทายาทที่จะดูแลต่อ ถ้าหมดจากสายสิมะเสถียร ก็มีสายอื่นสืบทอด

“หนังสือ “สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ” บันทึกไว้ว่าพื้นที่บริเวณนี้มีชาวจีนมาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง ก่อนการขุดคลองลัดบางกอก ทีนี้พอคนจีนมาอยู่ ก็มีศาสนสถาน มีภิกษุจีนมาพำนักอยู่ในกุฎีหรือกุฏิ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ก็บอกนี่แหละ ที่เรียกว่ากุฎีจีน ก็เป็นที่มาของคำว่า กุฎีจีน คือเป็นกุฎีที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ ชาวจีนที่เข้ามาตอนนั้นผสมกัน ไม่ได้แยกว่าเป็นจีนใด แต่พอสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้พระยาวิไชเยนทร์สร้างป้อมวิไชยเยนทร์ เรือที่จะขึ้นไปค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาก็ผ่านป้อมวิไชยเยนทร์เพื่อให้มีการตรวจตรา ว่ามีสิ่งผิดกฎหมายอะไรมั้ย

ต่อไปน้ำลูกยอสูตรคุณปู่ก็คงอาจจะหมด ทุกวันนี้มีเด็กนักศึกษาโทรมาให้เราสอนทำน้ำลูกยอ เราก็ทำให้ดู อย่างน้อยถ้าหมดเรา หลานเรา หรือไม่มีใคร ก็ยังมีคนที่รู้พวกนี้อยู่ก็ทำกันต่อไปได้

น้ำลูกยอ สูตรสมเด็จนวมฯ คือคุณปู่ (เชย ศรีวิทย์) ได้สูตรมาทำตอนที่บวชเรียนกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทธสโรมหาเถระ) เจ้าอาวาสวัดอนงคารามตอนนั้น พอคุณพ่อเข้าปีหนึ่งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นช่วงสงครามโลกที่สอง คุณพ่อก็เป็นเสรีไทย ตกเย็นก็ฝึกอาวุธฝึกอะไรกันตรงใต้ถุนโดมริมน้ำ กลับบ้าน คุณปู่ก็ตักน้ำลูกยอจากโหล 1 ช้อนคาว ให้กินก่อนนอนทุกวัน เพราะสรรพคุณคือ เป็นยาอายุวัฒนะ ซ่อมแซมส่วนต่างๆ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

1 25 26 27 28 29 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video