สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“โคยกี๊เป็นภาษาจีนแปลว่าริมน้ำ ตลาดโคยกี๊จึงมีความหมายว่าตลาดริมน้ำ ชื่อของตลาดเก่าแก่เมืองราชบุรี ที่นี่เป็นแหล่งขนส่งสินค้าหลักของเมือง โอ่งมังกรที่ขึ้นชื่อแต่ไหนแต่ไรก็มีการขนส่งผ่านท่าเรือตรงนี้ พี่เป็นเจ้าของร้านศรีสำอางค์เฟอร์นิเจอร์ เป็นรุ่นที่ 3 รุ่นแรกคืออาม่าพี่ ท่านอพยพจากเมืองจีนมาปักหลักอยู่ริมแม่น้ำแม่กลองที่ราชบุรี และเปิดร้านนี้ พี่ยังมีรูปถ่ายของอาม่าตอนสาวๆ ซึ่งท่านถ่ายรูปที่ศาลาท่าเรือแดง เป็นท่าเรือเก่าข้างจวนผู้ว่าฯ ช่วงปี พ.ศ. 2480 เขื่อนกั้นน้ำตอนนั้นยังเป็นเขื่อนดิน และถึงแม้จะมีรถไฟวิ่งแล้ว แต่ก็ยังมีการส่งสินค้าทางเรือกันอยู่ ชุมชนที่พี่อยู่มีชื่อว่าชุมชนคนตลาด เป็นย่านการค้าหลักของเมือง
“ผมขายของที่นี่มาสามสิบกว่าปีแล้ว แต่ก่อนตลาดเก่านี่เป็นศูนย์กลางการค้าของจังหวัดราชบุรี ถนนอัมรินทร์หน้าร้านนี้เป็นน้องๆ เยาวราช ส่วนถนนวรเดชที่อยู่เลียบแม่น้ำด้านหลังนี้ก็คึกคักทั้งวัน เมื่อก่อนใครจะซื้อหาอะไรก็เข้ามาในตลาดนี้ ทั้งจากโพธาราม จอมบึง สวนผึ้ง ดำเนินสะดวก และอื่นๆ ต้องมาที่นี่หมด แต่มายุคหลัง พอมีห้างค้าปลีกมาเปิด และมีตลาดนัดจัดขึ้นตามชานเมืองและต่างอำเภอ ความเจริญกระจายตัว ย่านนี้ก็ค่อยๆ เงียบลง เมื่อก่อนผมขายเสื้อผ้าอย่างเดียว ต่อให้เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ก็ยังพอขายได้ แต่เดี๋ยวนี้ขายของอย่างเดียวอยู่ไม่ได้แล้ว
“เราสามคนไม่มีใครเป็นคนราชบุรีเลย แต่ย้ายมาเพื่อรับราชการครูที่นี่ ครูออยอยู่เมืองนี้มา 15 ปี ครูเจี๊ยบอยู่มา 13 ปี ส่วนครูสุรชัยอยู่มา 2 ปี แต่เราทั้งหมดก็หวังจะอยู่ที่นี่จนเกษียณ เพราะชอบเมืองนี้ ชอบวัฒนธรรม ความใกล้ชิดธรรมชาติ และผู้คนที่อัธยาศัยดี เราไม่ได้สอนด้วยกัน ครูออยสอนสังคมและประวัติศาสตร์ ครูเจี๊ยบสอนฟิสิกส์ และครูสุรชัยสอนวิชาดนตรีพื้นบ้าน แต่ที่ได้ร่วมงานกันเพราะเราอยู่ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา
“เราเกิดและโตที่ราชบุรี ก่อนย้ายไปเรียนและทำงานที่อื่นอยู่พักใหญ่ จนโชคชะตาพาให้เราเลือกกลับมาทำงานที่นี่ ก็คิดว่าถ้าเราจะทำธุรกิจอะไรสักอย่าง นอกจากสิ่งนั้นจะทำให้เราอยู่ได้ ก็ควรต้องสร้างประโยชน์อะไรให้เมืองบ้านเกิดเราด้วย และเพราะแบบนี้ เมื่อราว 6 ปีที่แล้ว เราจึงสร้างโรงแรม ณ เวลา ให้ออกมาโดยสะท้อนความเป็นราชบุรี และอยากให้เป็นเมืองอย่างที่เราอยากเห็น คือ เรามองราชบุรีไม่ใช่เมืองที่แฟนซีหรือหรูหรา แต่เป็นเมืองเรียบง่ายที่เปี่ยมด้วยเสน่ห์ มีความคิดสร้างสรรค์ และเต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราจึงคิดถึงการทำโรงแรมทั้งในเชิงที่พักอาศัย พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม
“ตอนนี้เรียนอยู่มอหก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ค่ะ เราเรียนตั้งแต่มัธยมต้น และได้รู้จักชมรมโบราณคดีซึ่งรับเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมปลาย ความที่เราสนใจประวัติศาสตร์ และเห็นบรรยากาศของรุ่นพี่ในชมรมที่ผูกพันกันเหมือนครอบครัว โดยไม่มีระบบโซตัสด้วย พอขึ้นมอสี่ก็เลยสมัครเข้าชมรมนี้ ชมรมนี้มีคนอยากเข้าเยอะ ก็เลยต้องส่งใบสมัครและสัมภาษณ์กัน รุ่นพี่ปีสุดท้ายหรือที่เรียกว่ามาสเตอร์จะเป็นคนคัดเลือกสมาชิกใหม่ อย่างปีนี้หนูเป็นมาสเตอร์ ก็จะเป็นคนคัดเลือกน้องเข้ามาในชมรม ก็ดูที่ทัศนคติ ความสนใจ และความพร้อมอื่นๆ หน้าที่หลักของสมาชิกในชมรมไม่ใช่แค่การเฝ้าพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) แต่สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้ทักษะการทำทะเบียนโบราณวัตถุ และสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์แก่ผู้มาเยือนได้
“โรงเรียนหลายแห่งในบ้านเราอาจมีพิพิธภัณฑ์ แต่มีโรงเรียนไม่กี่แห่งที่ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีชมรมโบราณคดีที่มีเด็กนักเรียนคอยช่วยดูแลพร้อมกับนำชมพิพิธภัณฑ์ และทำกิจกรรมด้านโบราณคดีในจังหวัด อย่างโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ชมรมนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อประมาณ 36 ปีก่อน โดยอาจารย์ธำรง เตียงทอง มีชื่อเดิมว่าชมรมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ท่านมองเห็นว่าราชบุรีเป็นเมืองที่มีพื้นที่สำคัญทั้งในยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุคประวัติศาสตร์ จึงอยากปลูกฝังให้นักเรียนได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของเมือง แล้วอาจารย์ท่านก็เริ่มสะสมวัตถุโบราณต่างๆ พร้อมกับมีชาวบ้าน และหน่วยงานต่างๆ นำมาบริจาคด้วย พออาจารย์ท่านเกษียณ ท่านก็เปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) จริงๆ ครูกิ๊ฟ
We Citizens Thailand ชวนร่วมเรียนรู้เรื่องราวของยะลาที่ถูกเล่าใหม่ด้วยคนยะลา คนที่รักยะลา เพื่อพัฒนาเมืองยะลาอันเป็นที่รัก
We Citizens Thailand ชวนฟังเสียงเมืองยะลา ผู้คนแห่งเมืองยะลา ผ่านการอ่าน E-Book ฉบับ “เสียงยะลา” ดาวน์โหลดได้แล้วที่ลิงค์ WeCitizens : เสียงยะลา – WeCitizens Flip PDF | AnyFlip
We Citizens Thailand ชวนเที่ยวหัวหินผ่าน infographic “เที่ยวหัวหินเพิ่มพูนสุข” แผนที่เรียนรู้พร้อมชวนชมที่เที่ยวที่กินในเมืองหัวหินที่คุณไม่ควรพลาด
Recent Posts
- [เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล
- [ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.