[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท.  ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว

THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP

  • LIVABLE & SMART CITY
  • LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
  • LEARNING CITY

Topics

Criticism

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

World

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Pandemic

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Finance

Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit

Criticism

Join our Mailing List

We hate spams like you do

Satire

Latest

ที่อยู่ตอนนี้ก็ดี แต่ที่คับข้องใจคือเรื่องน้ำ ถ้ามีน้ำประปาเข้าถึงได้ก็ดี เวลาหมดหน้าฝนชาวบ้านต้องไปซื้อน้ำแพงมาก แทงก์นึงประมาณ 350 บาท ปกติประมาณ 170 บาท บางบ้านอยู่กัน 6-7 คน เพราะหน้าแล้ง 3-4 เดือนฝนไม่ตกเลย

“ผมเป็นคนในหมู่บ้าน จริงๆ ดั้งเดิมเป็นชื่อหมู่บ้านโรงไม้ หรือหมู่บ้านปากน้ำเวฬุ ศาลเจ้าตรงนี้เขาเรียกศาลเจ้าปากน้ำเวฬุ พอมีโฮมสเตย์เขาเลยเปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านไร้แผ่นดิน เพราะว่าบ้าน สะพาน ปลูกในน้ำหมด อยู่กัน 200 กว่าหลังคาเรือน อีกฝั่งแม่น้ำก็เป็นพื้นที่เดียวกัน แต่อยู่บ้านนากุ้ง ฝั่งนี้อยู่หมู่ 2 บ้านโรงไม้ ตำบลบางชัน ประชากรก็มีเป็นพันได้นะครับ ทั้งเด็ก คนแก่ คนโต

ผมหวังให้คนกินเขามีความสุขที่ได้กินของเรา แล้วราคาคนไทยต้องได้กิน ผมทำมังคุดอินทรีย์ สาวโรงงานต้องกินของผมได้

“ผมมาทำสวนทีแรก ลืมมองไปว่าเราไม่มีองค์ความรู้เลย มาเรียนรู้เอา แต่เกษตรกรที่เขาเป็นอยู่แล้วความรู้เขาระดับ advanced เราแค่พื้นฐาน เวลาเขาคุยว่าใช้ยาอะไร เราก็อึ้ง อย่างมีเพลี้ยไฟ เขาบอกให้ไปซื้อยาก็ซื้อตามเขา แต่เวลาช่วงฉีดพ่น มันมีระยะ จังหวะเวลาที่ใช้ ถ้าจะเอาผิวสวยจริงๆ คือช่วงระยะก่อนใบอ่อน จังหวะที่เริ่มแย้ม เขาเรียกว่า ปากนกแก้ว เราต้องฉีดพ่นตอนนั้น แล้วก็ต้องใช้ระยะนั้นจนมังคุดได้เดือนกว่าๆ การใช้ยาก็จะห่าง เพราะเวลาเพลี้ยไฟดูดน้ำเลี้ยงเปลือกมังคุด

ชุมชนเรามีความพร้อม มีของแล้ว น่าจะสืบทอดได้ เป็นการสืบสานวัฒนธรรมของหมู่บ้านเรา แค่ว่าเราจะสานต่อยังไง

“เราซึมซับเรื่องชุมชนมาตั้งแต่เด็ก แต่ก่อนที่เราจะเป็นนักเล่าเรื่องของชุมชน ข้อมูลมันกระจัดกระจาย ไม่ปะติดปะต่อ จากปู่ย่าตายาย คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง จากนั้นมีโครงการ OTOP Village การท่องเที่ยวเมืองรอง ฝึกอบรมให้มีนักเล่าเรื่องชุมชน เลยได้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกนักเล่าเรื่องชุมชนของตำบลตะปอนซักสี่ห้าปีที่แล้ว มีทีมเข้ามารีเสิร์ชข้อมูล นำข้อมูลต่างๆ มาตกผลึกรวมกัน ตอนนั้นชุมชนตะปอนมีสิ่งโดดเด่นที่สุดคือตลาดโบราณ 270 ปีของดีบ้านตะปอน คนริเริ่มเป็นลุงกาญจน์ (กาญจน์ กรณีย์ ประธานสภาวัฒนธรรม

ชักเย่อเกวียนพระบาทก็ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติประจำปีพุทธศักราช 2558 สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย

“ผมเป็นคนบ้าวัฒนธรรม งานวัฒนธรรมไม่ใช่งานสวยงาม ไม่ได้ตังค์ ใช้ใจอย่างเดียว วัฒนธรรมยั่งยืนพวกเราต้องช่วยกันทำ ผมเป็นรองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีตั้งแต่ปี 2538 จนปีนี้ ทำโครงการอาหาร ภูมิปัญญาชาวบ้าน ผมเป็นประธานสร้างตลาด 270 ปีวัดตะปอนใหญ่ ทำเฉพาะวันเสาร์ครึ่งวัน ทำมา 5 ปี ตอนนี้ตลาดเหงาละ พอดีผมไปรับทำแสงสีเสียงที่ระยอง ที่จันท์ด้วยเลยไม่มีเวลาไปบริหาร ตอนที่ผมทำ หนึ่ง.

เราเป็นคนที่นี่ ไปเรียนกรุงเทพฯ จบรัฐประศาสนศาสตร์ ดูแตกต่างจากงานโรงแรมใช่มั้ย(หัวเราะ)

“จันทบุรีเป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวครบ ทั้งน้ำตก ทะเล ภูเขา อาหารก็ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีอาหารทะเล กุ้งหอยปูปลาครบ ช่วงหน้าผลไม้เดือนมีนาคมถึงมิถุนายนมีทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลางสาด ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวช่วงนี้ค่อนข้างเยอะ คนจันท์ส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวน บ้านเราทำธุรกิจพลอย เพราะจันทบุรีมีเหมืองแร่อยู่อำเภอท่าใหม่ มีชาวต่างชาติบินเข้ามาซื้อพลอยกลับไปขาย ช่วงโควิดก็กระทบ ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาซื้อไม่ได้ กระทบหลายอาชีพ ก็ต้องปรับตัว

จากทวดทองสู่นครราษฎรสร้าง
สำรวจหาดใหญ่ผ่านประวัติศาสตร์
ข้ามศตวรรษ

หาดใหญ่คือชื่ออำเภอหนึ่งของจังหวัดสงขลา ด้วยสถานะของการเป็นศูนย์กลางของหลายสิ่งอย่างในภาคใต้ตอนล่าง รวมถึงการเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติ หลายคนจึงเข้าใจผิดว่านี่คือชื่อจังหวัด หรือเข้าใจว่าเป็นอีกชื่อของอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา   อย่างไรก็ตาม หาดใหญ่คือชื่ออำเภอ ส่วนอำเภอเมืองจังหวัดสงขลาอยู่ห่างออกมาราว 30 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นี่คืออำเภอที่ว่าไปแล้วก็มีเกร็ดอันย้อนแย้งหลายประการ ไม่ว่าจะเรื่องความเข้าใจผิดถึงสถานะของเมืองดังที่ว่ามา การมีชื่อขึ้นต้นด้วยหาด แต่กลับไม่มีพื้นที่ติดทะเล หรือการที่เมืองมีสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ (สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่กว่า 900 ไร่) แต่กลับแทบไม่มีพื้นที่สีเขียวในย่านชุมชนและย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองเลย

การที่งานนี้ทำให้ทุกคนได้รู้ว่าใครเป็นใครในยะลา และแต่ละคนตระหนักถึงศักยภาพของตัวเองในการร่วมกำหนดอนาคตของเมืองที่พวกเขาอาศัย ตรงนี้แหละที่เป็นผลลัพธ์อันแท้จริงของงานวิจัย

กว่าจะเป็น Yala Storiesเยาวชนยะลากับเรื่องเล่าเกี่ยวกับเมืองของพวกเขากับ วรานุช ชินวรโสภาค วรานุช ชินวรโสภาค เป็นหัวหน้าโครงการการพัฒนาต้นแบบพื้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและบูรณาการการเรียนรู้ในบริบทชีวิตจริงสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นโครงการวิจัยย่อยในโครงการยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ โดยก่อนหน้านี้ เธอเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานประเด็นสาธารณสุขและเพศศึกษาในเยาวชน และร่วมกับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ในการขับเคลื่อนโครงการทักษะวัฒนธรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ของผู้คนหลากวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเธอทำโครงการนี้มาเข้าปีที่ 14 ด้วยพื้นเพเป็นคนยะลา และเข้าใจบริบทของความเป็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ 3 จังหวัดจากการทำงานต่อเนื่องมาหลายปี

‘ยะลาศึกษา’ กับการสร้างหุ้นส่วนสรรค์สร้างเมือง
สนทนากับ อภินันท์ ธรรมเสนา ว่าด้วยการแปลงต้นทุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมสู่เครื่องมือพัฒนาเมืองยะลา

กับแง่มุมของการพัฒนาเมือง คุณเห็นว่ายะลามีดีอย่างไร? ผู้ให้สัมภาษณ์: โครงสร้างของเมืองที่ดี มีนโยบายในการพัฒนาเมือง ผู้นำมีวิสัยทัศน์ และรุ่มรวยด้วยทุนทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม แล้วยะลายังขาดอะไร? เราถามต่อ ผู้ให้สัมภาษณ์หยุดคิดหนึ่งอึดใจ: ผู้คนยังไม่ตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในเมืองนัก ขาดการมีส่วนร่วม และแม้เมืองจะมีพร้อมด้วยสถาบันการศึกษาในทุกระดับ หากอ้างอิงจากงานวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในเมืองก็อยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับความพร้อมที่มี เหล่านี้คือสิ่งที่ อภินันท์ ธรรมเสนา นักวิจัยจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรประมวลให้เราฟัง หลังจากเขาใช้เวลามากกว่าหนึ่งปีลงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ที่นี่ ‘ยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้:

1 33 34 35 36 37 62

Recent Comments

No comments to show.

Follow

Instagram

This error message is only visible to WordPress admins

Error: No feed found.

Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.

Video