สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“เขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์มทำโคกหนองนาตั้งแต่ปี 2560 เราขุดคลองไส้ไก่ มองเป็นโมเดลการบริหารจัดการน้ำ เสมือนจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ ถ้าแต่ละพื้นที่ทำการขุดคลองไส้ไก่กันทั่ว เวลาน้ำมาจากทางเหนือจะค่อยๆ กระจาย แทนที่จะไหลหลากไปสู่ภาคใต้ ระหว่างนั้นเราบริหารจัดการน้ำได้ แบ่งเข้าไปแปลงต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ หนึ่ง ลดน้ำหลากน้ำท่วม สอง ได้ประโยชน์จากน้ำ ได้เก็บน้ำ ได้กระจายน้ำลงดิน เราได้พัฒนาพื้นที่เพิ่มจากทุนสนับสนุนของบพท. (หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่)
“เดิมเปิดร้านข้าวต้มกับธุรกิจอีกแบบควบคู่กันที่จังหวัดตาก เราไม่มีแบ็กกราวด์ทำอาหารมาก่อน แต่รู้สึกว่าอยากทำ แรกๆ ก็ลองผิดลองถูก ซักปีกว่าๆ ก็เริ่มประสบความสำเร็จ แต่ทำร้านอยู่ประมาณ 5 ปี อยากกลับมาอยู่บ้าน เราเป็นคนปากช่อง แต่ไม่ค่อยได้อยู่ปากช่อง ก็กลับมาเริ่มจากเล็กๆ ต่อเติมไปเรื่อยๆ คนเริ่มรู้จัก อาจจะด้วยราคาที่ไม่แพง จริงๆ ถนนเส้นธนะรัชต์ อาหารแต่ละร้านราคาสูง ราคานักท่องเที่ยว แต่เรารู้สึกว่านักท่องเที่ยวอย่างเดียว
“พ่อแม่เราทำเกษตรอินทรีย์มาตลอด น้องชายเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรอินทรีย์ เราก็ทำเกษตรอินทรีย์ 100% เพียงแต่เป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกมันสำปะหลัง ทำปุ๋ยใช้เอง ประหยัดค่าใช้จ่าย แล้วผลผลิตได้ดีกว่าคนอื่นเพราะแปลงเล็ก 5 ไร่ ถ้าเปรียบกับคนอื่นที่มี 50 ไร่ 100 ไร่ เขาต้องใส่ปุ๋ยเคมี ใส่ยา แต่พอเรามาคำนวณดู พืชเชิงเดี่ยวออกปีละครั้ง มีรายได้ปีละหนึ่งครั้ง แต่เรามีค่าใช้จ่ายทุกวัน
“ช่วงเล็กๆ เห็นในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จตามป่าตามเขา รู้สึกว่าทำไมต่างจังหวัดสวยจัง มีแต่ต้นไม้ ภูเขา พื้นเพเดิมเป็นคนกรุงเทพฯ ก็อยากมีที่มีทางอยู่ต่างจังหวัด อยู่กับต้นไม้ ธรรมชาติ อากาศดีๆ พอปี 2540 ผมเจอวิกฤติฟองสบู่แตก ช่วงนั้นทำบ้านจัดสรรก็โดนเต็มๆ แต่ไม่ย่อท้อ มีอะไรก็ขายหมดเพื่อที่จะสร้างและโอนให้กับลูกค้าทุกหลัง ก่อนนี้ก็ขับรถเที่ยวปากช่อง เขาใหญ่ โคราชบ่อย ก็เลยได้โอกาสหันเหจากชีวิตคนเมืองมาสู่สังคมเขาใหญ่
“ผมคนปากช่อง โตที่นครปฐม ผูกพันกับวัวตั้งแต่เด็ก มีตาที่เลี้ยงวัวนม ผมก็ได้เดินเลี้ยงตามทุ่ง พ่อทำงานราชการ อยู่กรมประชาสงเคราะห์ พอเรียนจบปริญญาตรีราชภัฏ พ่ออยากให้เป็นตำรวจ ทหาร ผมอยากอิสระ ไม่อยากเป็นลูกน้อง แต่ก็ไปลองทำงานอยู่ 3 เดือน คิดว่าเงินเดือนน้อย กลับบ้านมาตั้งหลักทำในที่ของเราเองดีกว่า ผมทำฟาร์มโคนมตั้งแต่ปี 2546 เริ่มต้นจากศูนย์เลย ศึกษา ดูฟาร์มที่ประสบความสำเร็จ
“คอนเซปต์ถนนคนเดิน เขาใหญ่ (Khaoyai Learning Market Walking Street) แตกต่างจากที่อื่นทั่วไป คือเราเป็นถนนคนเดินเกษตรอินทรีย์ เราคัดเลือกสินค้าให้ เป็น Walking Street & Green Market ไปด้วย เดี๋ยวนี้เหมือนเป็นกระแสถนนคนเดิน ปีที่แล้ว (2564-2565) มีเราที่เดียว พอปีนี้
“ผมทำไร่มาตลอด ย้ายมาทำไร่ธารเกษมที่ปากช่องเมื่อปี 2505 เป็นไร่ร้างที่เขาปลูกละหุ่งเอามาทำน้ำมัน ก็ถางพวกต้นละหุ่งออก หลังจากนั้นเราก็ปลูกข้าวโพด ปลูกถั่ว ปลูกงา ชาวบ้านปลูกอะไรก็ปลูกตามเขา อะไรขายได้ก็ปลูก มาถึงระยะหนึ่ง ผมมองเรื่องความอยู่รอด มีรายได้ที่มั่นคงหน่อย เพราะล้มมาเยอะ ปลูกได้เยอะ ราคาตก ปลูกได้น้อย ก็มีของน้อย จนมาเลี้ยงวัวนมนี่แหละที่สร้างรากฐานชีวิตได้ ตอนนั้นทางมวกเหล็กเริ่มทำฟาร์มโคนมแล้ว (ฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทย-เดนมาร์ค อำเภอมวกเหล็ก
“ผมซึมซับดนตรีมาตั้งแต่เด็ก พอจบม.3 ก็เล่นดนตรีเป็นอาชีพเลย แต่ทำอย่างอื่นด้วย เคยเป็นเจ้าหน้าที่เกษตรชั้น 3 ที่ศูนย์วิจัยหม่อนไหม ทำโครงการไม้ย้อมสีของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่มันไม่ใช่เรา ก็ยึดอาชีพนักดนตรีมา 30 กว่าปี ในยุคนั้นยึดเป็นอาชีพได้มั้ย ผมว่าได้นะ เราเอาแค่พอดีๆ รายได้จากเงินพิเศษ จากทิป ก็โอเค ปัจจุบันผมเป็นนักดนตรีประจำร้าน Blue Moon Bar
“เราเกิดและโตที่หนองน้ำแดง เรียนอยู่ในวัดที่โรงเรียนวัดวชิราลงกรณวราราม วิ่งเล่นอยู่ละแวกนี้มาตลอด พอเรียนจบด้าน Computer Science มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมัยนั้น (ปี 2534) ที่นี่ไม่มีอาชีพรองรับ ต้องเข้าเมืองใหญ่ ซึ่งก็เป็นค่านิยมของคนทั่วไป ก็มาทำงานด้านไอทีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตัวเราอยู่กรุงเทพฯ พอมีลูกเข้าเรียน เห็นระบบการศึกษาไทยว่ามีปัญหา เรียนอะไรเครียดขนาดนี้ แล้วลูกเราเป็นตัวแทนโรงเรียนประกวดแข่งขัน มันพัฒนาไปสู่การชิงดีชิงเด่น สังคมพาไปสู่ความอีโก้ แล้วเด็กไม่ได้เรียนรู้ทักษะชีวิต
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.