สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“ผมเรียนรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนที่เรียนจบเป็นช่วงโควิดระบาดพอดี มหาวิทยาลัยจึงให้นักศึกษากลับไปอยู่บ้าน เราสอบปลายภาคผ่านทางออนไลน์จากที่บ้าน ไม่มีพิธีปัจฉิมนิเทศ ไม่ได้เลี้ยงร่ำลาเพื่อนๆ กลายเป็นว่าต้องมาอยู่บ้านที่ระยองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ ตอนแรกตั้งใจไว้ว่าถ้าเรียนจบ ผมอาจจะหางานทำที่กรุงเทพฯ ก่อน แต่พอสถานการณ์เป็นแบบนี้ ประกอบกับพอกลับมาอยู่บ้านก็พบว่าพ่อสุขภาพไม่ค่อยดีด้วย เลยตัดสินใจหางานทำที่นี่ ก็ได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานอำเภอ เป็นงานสัญญาจ้าง 1 ปี นั่นเป็นงานแรกที่ผมทำ จนทำงานนี้มาได้ใกล้ครบสัญญา เห็นว่าโควิดยังไม่ซาเสียที เลยคิดถึงการทำธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มเล็กๆ
“ภาษาถิ่นระยองจะเหน่อคล้ายจันทบุรี แต่ก็มีหลายอย่างที่ต่างไป แบบฟังปุ๊บก็รู้ปั๊บว่านี่คนระยอง เช่น เวลาคนระยองมีธุระต้องรีบไปจะพูดว่า ‘กะเหลือกะหลน’ ขับรถตกหลุม จะบอกว่าขับรถตก ‘กะหลุก’ ทำอะไรไม่คล่องตัวเขาว่า ‘กะงอกกะแงก’ แต่หลายคำก็เหมือนคำภาคกลางที่ใช้กันทั่วไป แต่เราจะออกเสียงต่ำกว่า เช่นไปวัด เราบอกว่า ‘ไปวั่ด’ ทุเรียนเราเรียกว่า ‘ทุ่เรียน’ และแน่นอน อย่างที่ทราบกันพูดอะไรเรามักลงท้ายว่า ‘ฮิ’ ตั้งแต่เกิดมาทั้งคนในหมู่บ้าน
“ถ้าคนระยองเรียนจบด็อกเตอร์ แต่กลับหางานทำที่บ้านเกิดของตัวเองไม่ได้ ผมว่ามันไม่ใช่ ขณะเดียวกัน แม้เมืองของเราจะขึ้นชื่อเรื่องเศรษฐกิจที่ดี แต่เศรษฐกิจที่ดีที่ว่านี้ กลับถูกขับเคลื่อนจากคนทำงานจากจังหวัดอื่นๆ ที่ย้ายเข้ามาทำงานในเมืองเรา อันนี้ผมว่าก็ไม่ถูก ออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ต่อต้านอะไรคนจากที่อื่นนะ เพียงแต่รู้สึกเสียดายที่คนระยองเราน่าจะมีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบ้านเมืองเราให้มากกว่าที่เป็นอยู่ นั่นทำให้ผมกลับไปหาสาเหตุ จนมาพบว่าปัจจัยสำคัญคือการศึกษา ที่ผ่านมา คนระยองเรียนผิดทาง จบออกมาจึงต้องไปหางานที่อื่นหมด และนั่นทำให้ทุกภาคส่วนในจังหวัด เห็นตรงกันว่าถึงเวลาแล้วที่การศึกษาระยองต้องเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของเมืองจริงๆ เสียที ระยองมีจุดเด่นอะไร? อุตสาหกรรม ประมง
“ที่ดินตรงนี้ประมาณ 80 ไร่ เป็นของกงสีครอบครัวผม ซึ่งอยู่ติดกับป่าโกงกางกลางเมืองระยอง ส่วนใหญ่เราปล่อยไว้เป็นพื้นที่สีเขียว แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้ประโยชน์ อย่างบ่อน้ำตรงนี้เป็นบ่อพักน้ำสำหรับทำฟาร์มเลี้ยงกุ้งที่อยู่ถัดไป หรืออาคารด้านหลังเคยเป็นโรงไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ของลุง แต่ปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ผมจบสถาปัตยกรรมผังเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นก็กลับมาทำงานในด้านการพัฒนาชุมชนที่ระยองได้ราวหนึ่งปี และพบว่ามุมมองของเรากับบริษัทไม่ตรงกัน จึงลาออกมา ความที่ผมเป็นนักกีฬาแบดมินตันอยู่แล้ว และมีโรงไม้เก่าในพื้นที่บ้านอยู่ เลยตัดสินใจเปลี่ยนโรงไม้นี้มาเป็นคอร์ทแบดมินตันให้เช่า และก็ใช้พื้นที่นี้เปิดสอนแบดมินตันไปพร้อมกัน พอเปิดคอร์ทแบดแล้ว ก็พบว่าช่วงกลางวันที่ไม่มีคนมาใช้สนาม พื้นที่มันเงียบ
“แม้ชื่อจะเป็นบริษัท แต่ ‘ระยองพัฒนาเมือง’ ไม่ได้ทำธุรกิจ เราจดทะเบียนให้เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยมีรูปแบบที่ว่าถ้ากิจกรรมของเราสร้างกำไรมาได้ รายได้ดังกล่าวจะไม่เข้าสู่กระเป๋าหุ้นส่วน แต่จะเป็นการนำรายได้นั้นไปลงทุนกับกิจกรรมการพัฒนาเมืองอื่นๆ ต่อไป ความท้าทายของเมืองระยองก็อย่างที่ทราบกัน เขตเทศบาลถูกขนาบหัวท้ายด้วยโรงงานขนาดใหญ่ พื้นที่เมืองไม่ได้ใหญ่ แต่มีประชากรซึ่งรวมประชากรแฝงมากถึง 200,000 กว่าคน ซึ่งโรงงานที่ขนาบเราก็มีทั้งโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซ เรียกได้ว่าหันไปตะวันออกหรือตะวันตกก็จะเจอปล่องปล่อยควันขนาดใหญ่ตระหง่านอยู่ แต่ข้อดีก็คือ เรามีป่าชายเลนอยู่ตรงกลาง มีชายทะเล และมีแม่น้ำไหลผ่านเมือง และที่สำคัญพอเราเป็นเมืองอุตสาหกรรม
“ช่วงราวปี 2549 เจ้าหน้าที่กองสิ่งแวดล้อมชวนตัวแทนชุมชนของเราไปดูงานป่าชายเลนที่สถานีพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและป่าชายเลนที่ 2 (ท่าสอน) จังหวัดจันทบุรี และชุมชนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด สองพื้นที่นั้นเขามีป่าโกงกางเหมือนเรา แต่ของเขาป่าสมบูรณ์ ส่วนของเรามีแต่พื้นที่ว่างเจิ่งน้ำและโขด เสื่อมโทรม หรือถ้ามี ป่าก็ถูกบุกรุก เอาเข้าจริงตัวเมืองระยองเรามีป่ามากกว่า 300 ไร่อีกนะ แต่พอมันไม่ถูกจัดการดีๆ มันจึงถูกรุกล้ำอยู่เรื่อยๆ จนเหลือเท่านี้ พอได้เห็นว่าชาวบ้านที่นั่นเขามีวิธีจัดการพื้นที่อย่างไร และพอจัดการแล้ว
“ช่วงที่เรียน ป.โท (เศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) มีวิชาหนึ่งที่ผมตั้งเป้าจะศึกษารูปแบบของบริษัทพัฒนาเมือง เลยมีโอกาสได้สัมภาษณ์พี่โจ (ภูษิต ไชยฉ่ำ) ที่เพิ่งก่อตั้งบริษัท ระยองพัฒนาเมือง จำกัด ได้ไม่นาน ด้วยความตั้งใจจะให้องค์กรนี้เป็นแพลตฟอร์มกลางเชื่อมหน่วยงานต่างๆ มาขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง ขณะนั้นพี่โจกำลังหานักวิจัยมาทำงานให้ แกจึงชวนผมมาร่วมทีมด้วย ผมจึงเริ่มขับเคลื่อนกับระยองพัฒนาเมืองตั้งแต่ปีแรกๆ โดยเริ่มจากการเก็บข้อมูลเรื่องพัฒนาเมืองที่ย่านเมืองเก่ายมจินดา ก็มีการชวนผู้คนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมมาแลกเปลี่ยนความเห็น
“หนึ่งในโปรเจกต์สำคัญที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองกำลังเร่งขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้คือการพัฒนาศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจรของจังหวัด ให้สร้างมูลค่าผ่านการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งที่นี่ยังจะเป็นแห่งแรกๆ ของประเทศอีกด้วย เพราะอย่างที่หลายคนทราบดี ระยองอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นเมืองอุตสาหกรรม ผู้ผลิตพลังงาน และผู้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ ของประเทศ ในฐานะ อบจ. ที่กำกับดูแลสาธารณูปโภคต่างๆ ของจังหวัด เราก็ควรใช้จุดแข็งที่เมืองเรามีอยู่แล้วมาช่วยบริหารจัดการให้มีความสมาร์ท สอดคล้องไปกับเมืองและบริบทของการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย ในเฟสแรกเราได้จับมือกับ GPSC (บริษัท โกลบอล เพาเวอร์
“ก่อนหน้านี้อาจารย์ประภาภัทร (รศ.ประภาภัทร นิยม อธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์) ได้เข้ามาร่วมกับ อบจ.ระยอง และเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัด ทำเรื่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาก่อน ในช่วงนั้นท่านก็คิดว่าต้องมี body หรือกลไกบางอย่างขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน จึงชวนให้ผมเข้ามาทำ social lab ร่วมออกแบบการทำงานเพื่อประสานเครือข่ายต่างๆ พอระยองมีคณะกรรมการนวัตกรรมการศึกษาเป็นทางการ เราก็พบว่าลำพังแค่การพัฒนาหลักสูตรแต่เพียงในสถาบันการศึกษายังไม่พอ เมืองจำเป็นต้องมีเครือข่ายและแพลตฟอร์มการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับคนทุกเพศทุกวัย จึงเกิดการจัดตั้ง ‘สถาบันการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัย จังหวัดระยอง’
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.