สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ในฐานะนักวิชาการผู้คร่ำหวอดกับงานพัฒนาเมืองมาร่วม 30 ปี นับตั้งแต่งานพัฒนาเมืองผ่านทุนทางวัฒนธรรมเมืองแม่ฮ่องสอน การพัฒนาเมืองด้วยกลไกบริษัทพัฒนาเมือง และการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ตามกรอบวิจัยของ บพท. ปีนี้ ดร.ปุ่น ในบทบาทรองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับคณะทำงาน ได้ริเริ่มโปรแกรมวิจัยใหม่ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสมาคมเทศบาลนครและเมือง องค์กรที่เป็นดั่งหัวใจหลักในการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำเมืองระดับท้องถิ่นครอบคลุมทั่วประเทศ กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง พร้อมไปกับการเติบโตของจังหวัดขอนแก่นในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน ร้อยเอ็ดจึงตกอยู่ในสถานะเมืองรอง และถูกจดจำในฐานะเมืองแห่งการเกษตรเมืองหนึ่ง ขาดไร้ภาพจำใด ๆ ที่ช่วยดึงดูดผู้คนให้มาเยือนอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี ภายหลังที่ บรรจง โฆษิตจิรนันนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด ในปี 2538 จุดเปลี่ยนสำคัญก็มาถึง เมื่อแผนการทำร้อยเอ็ดให้น่าอยู่และน่าเที่ยวถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเมือง ภูมิทัศน์ของเมืองร้อยเอ็ดค่อย ๆ เปลี่ยนไป ทั้งการบูรณะบึงพลาญชัย การสร้างประตูเมืองจำลอง ‘สาเกตนคร’ ให้เป็นสัญลักษณ์และเชื่อมร้อยกับประวัติศาสตร์เมือง การปรับปรุงภูมิทัศน์คูเมืองโบราณให้น่ามองไปพร้อมกับเพิ่มพื้นที่สีเขียว
THAILAND LIVABLE & SMART CITY MAP
- LIVABLE & SMART CITY
- LIVABLE , SMART & LEARNING CITY
- LEARNING CITY
Topics
Criticism
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
World
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Pandemic
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Finance
Ius ea rebum nostrum offendit. Per in recusabo facilisis, est ei choro veritus gloriatur. Has ut dicant fuisset percipit
Criticism
Join our Mailing List
We hate spams like you do
Satire
Latest
“พ่อผมเป็นคนปักษ์ใต้ แกขึ้นมาทำงานกรุงเทพฯ ก่อน แล้วเจ้านายส่งพ่อให้มาคุมการก่อสร้างตลาดพะเยาอาเขต และเป็นผู้จัดการขายอาคารและพื้นที่ในตลาด จนโครงการแล้วเสร็จ พ่อก็เลยได้โบนัสเป็นอาคารพาณิชย์หนึ่งหลัง แกจึงตัดสินใจปักหลักอยู่ที่นี่เลย ทำธุรกิจร้านอาหารชื่อพะเยาภัตตาคาร เปิดในปี 2529 เป็นร้านอาหารแรกๆ ในเมืองที่มีระบบแสงสีทันสมัย ส่วนผม ตอนแรกไม่มีความคิดจะทำร้านอาหารเลยครับ ผมเป็นวิศวกรประจำโรงงานที่จังหวัดระยอง พอดีได้ภรรยาเป็นคนพะเยาเหมือนกัน ภรรยาผมเป็นพยาบาลอยู่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่แม่ของเธอป่วย ภรรยาเลยกลับมาคิดว่าด้วยอาชีพเธอ เธอดูแลคนอื่นมากมาย แต่กลับไม่ได้ดูแลแม่ตัวเองเลย
“เราทั้งคู่ไม่ได้มีพื้นเพอยู่ที่นี่แต่แรก จุ้ยเป็นคนน่าน ส่วนโชะเป็นคนเชียงราย เราเจอกันตอนบรรจุราชการครูที่หาดใหญ่ พอตัดสินใจอยู่ด้วยกันก็มาคิดถึงเมืองที่อยู่ใกล้บ้าน แล้วก็มาลงเอยด้วยการย้ายมาทำงานที่พะเยา พอตัดสินใจแล้วจะใช้ชีวิตกันที่เมืองนี้ เราเลยลงมือปลูกบ้าน บ้านที่มีสวน มีพื้นที่ให้เราทำงานศิลปะและทำเวิร์กช็อปเล็กๆ (ครูจุ้ยเป็นครูศิลปะ ส่วนครูโชะสอนดนตรี – ผู้เรียบเรียง) คุยกันหลายรอบว่าบ้านเราควรจะเป็นแบบไหน จนมีโอกาสได้อ่านบทสัมภาษณ์ของพี่โจน จันได เราชอบวิธีคิดในการสร้างสมดุลชีวิตและปรัชญาในการสร้างบ้านดินของเขา นั่นเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราทั้งคู่ตัดสินใจทำบ้านดิน ทำไมต้องเป็นบ้านดินน่ะหรือ ข้อแรกคือความประหยัด
“เมื่อก่อนก็ซื้อแหนมกินจากที่อื่นค่ะ แต่ความที่เราไม่รู้เลยว่าคนอื่นเขาทำแหนมยังไง เขาใส่ดินประสิวมากเกินมาตรฐานไหม หรือกระบวนการที่เขาทำนี่ถูกสุขอนามัยมากแค่ไหน คุณยายพี่เขาก็เลยทำเอง เลือกใช้แต่วัตถุดิบที่สดใหม่ สะอาด และทราบถึงที่มา และใช้ดินประสิวไม่เยอะ คือถ้าไม่ใช้เลยก็ไม่ได้ แต่ถ้าใช้เยอะก็เป็นอันตราย นอกจากทำกินกันเองในครอบครัว คุณยายท่านก็เอาแหนมไปแบ่งเพื่อนๆ ก็มีการบอกต่อเรื่อยๆ จนมีคนมาขอซื้อ ก็ขายกันเล็กๆ โดยไม่ได้ทำแบรนด์อะไรเรื่อยมา จนภายหลังคุณยายทำต่อไม่ไหว จึงไม่ได้ขายมาหลายปีแล้ว พอพี่เกษียณ จากที่เราเป็นพยาบาลมาทั้งชีวิต
จริงๆ ความคิดเรื่องขับรถตู้รับจ้างไม่เคยอยู่ในหัวผมมาก่อน เพราะพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ ใครจะจ้างรถตู้กัน
“ก่อนหน้านี้ผมขับรถส่งของให้ห้างค้าปลีกแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ทำมาสิบกว่าปีแล้วรู้สึกอิ่มตัว ก็พอได้ข่าวว่าใกล้ๆ บ้านแม่กา บ้านเกิดผมที่จังหวัดพะเยา กำลังจะมีมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งขึ้น (ชื่อสมัยนั้น ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยพะเยา – ผู้เรียบเรียง) ผมจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เอาเงินที่เก็บมาส่วนหนึ่งไปซื้อรถตู้ จริงๆ ความคิดเรื่องขับรถตู้รับจ้างไม่เคยอยู่ในหัวผมมาก่อน เพราะพะเยาเป็นเมืองเล็กๆ ใครจะจ้างรถตู้กัน แต่พอรู้ว่ามีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้น คนก็น่าจะมาอยู่กันมากขึ้น เศรษฐกิจก็น่าจะดีขึ้นตาม หลายคนมักคิดว่าการมีมหาวิทยาลัยทำให้เด็กๆ ได้เรียนหนังสือ แต่ในอีกทางชาวบ้านรอบๆ
“หลังเรียนจบผมไปเป็นทหารมา 25 ปี แต่ความที่เราโตมากับธุรกิจปลาส้มของแม่ และที่บ้านก็มีผมกับน้องสาวกันสองคน ก็เลยตัดสินใจลาออกมาสานต่อกิจการ โดยผมกับน้องจะอยู่โรงงานช่วยแม่ทำปลาส้ม ดูแลเรื่องวัตถุดิบ และการจัดส่ง ส่วนแฟนผมไปเปิดร้านขายที่ตลาดสดแม่ทองคำที่ตำบลแม่ต๋ำ แม่ทองปอนมาจากชื่อแม่ผม แต่ไหนแต่ไรคนพะเยาก็ทำปลาส้มกินหรือขายกันเล็กๆ อยู่แล้ว จนช่วงหนึ่งที่รัฐบาลส่งเสริมสินค้า OTOP เราจึงต่อยอดเป็นธุรกิจจริงจัง เราเป็นเจ้าแรกในพะเยาที่นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงการทำฉลากและแบรนดิ้ง อย่างคำว่าปลาส้มไร้ก้าง เราก็เป็นเจ้าแรกที่หยิบมาใส่ในชื่อ เป็น ‘ปลาส้มไร้ก้างแม่ทองปอน’
“ที่นี่เป็นบ้านเดิมคุณตา ภายหลังแม่ต่อเติมข้างหน้าเป็นคลินิกทำฟัน แต่ตอนนี้แม่ไม่ทำแล้ว พอเราเรียนจบกลับมาก็เห็นบ้านหลังนี้มีศักยภาพ พร้อมกับที่เห็นว่าพะเยายังไม่พื้นที่สร้างสรรค์ หรือพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่ได้เชื่อมโยงกับชุมชน เลยไม่ไปทำงานที่ไหน กลับมาเปิดร้านที่บ้านเลย ที่นี่เป็นร้านอาหารกึ่งคาเฟ่ มีไอศกรีม และขนม ที่ตั้งชื่อว่า ‘นิทานบ้านต้นไม้’ ก็ตามตัวเลยค่ะ เราสนใจเรื่องความสัมพันธ์กับคนกับธรรมชาติและคนกับสังคม โดยสังคมที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือครอบครัว เลยใช้คำว่าบ้านมาแทนคุณค่าของครอบครัว แล้วให้ต้นไม้เป็นตัวแทนของธรรมชาติ เราเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างและทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาจทำให้เรามองข้ามสิ่งนี้ไป ก็คิดว่าถ้าเราใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นเครื่องมือทำให้เขาค้นพบคุณค่าของตัวเองได้คงดีไม่น้อย
“ในฐานะอาจารย์สอนศิลปะและการออกแบบที่มหาวิทยาลัยพะเยา ผมพยายามสื่อสารกับทางมหาวิทยาลัยมาตลอดว่าเราควรมีหอศิลป์ไว้แสดงงานนักศึกษานะ เพราะเรามีคณะทางศิลปะ แต่ไม่มีที่แสดงงานให้พวกเขา มันก็ไม่ใช่ หลังจากขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่พักหนึ่ง แต่ด้วยปัจจัยอะไรสักอย่างหอศิลป์จึงเกิดไม่ได้เสียที ผมจึงตัดสินใจลงมือทำด้วยเงินทุนตัวเอง จะบอกว่าเป็นหอศิลป์ก็ไม่ถูกหรอก เป็นพื้นที่ศิลปะเสียมากกว่า ผมก่อตั้ง ‘อย่าเห็นแก่ตัวสถาน’ ขึ้นจากการรีโนเวทบ้านไม้ให้เช่าในตัวเมืองพะเยา ชั้นบนเป็นแกลเลอรี่แสดงงาน ส่วนชั้นล่างเป็นบาร์ขายเหล้า สาเหตุที่เลือกในตัวเมือง เพราะตอนนั้นพะเยายังไม่มีอาร์ทสเปซ และก็อยากให้นักศึกษาเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ในเมืองด้วย ไม่ใช่แค่แสดงงานนักศึกษาอย่างเดียว อาจารย์ก็แสดงด้วย ศิลปินที่อื่นอยากมาแสดงก็มาได้ จะจัดเสวนา
“พะเยาเป็นหนึ่งในสี่เมืองของไทย ที่ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก ซึ่งก่อนหน้านี้เราในฐานะทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ต่อเนื่องมาสองปี ปีนี้เป็นปีที่สามแล้วครับ (ทั้งสี่เมืองประกอบด้วยเชียงใหม่ สุโขทัยและหาดใหญ่ โดยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 จังหวัดพะเยา ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกอย่างเป็นทางการ) ในปีแรกของโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เราเน้นที่การประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในเขตเทศบาลเมืองเข้าใจก่อนว่าเราจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ไปทำไม เป็นแล้วมันจะดีต่อเมือง หรือช่วยปากท้องชาวบ้านได้อย่างไร พอเข้าปีที่สอง นอกจากเราจะได้ขยายพื้นที่โครงการจากความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เรายังมุ่งสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองเป็นหลัก โดยใช้กลไกจากโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ
“ในสมัยล้านนา นอกจากพะเยาจะมีภูมิศาสตร์เป็นเสมือนห้องครัวที่คอยปลูกข้าวหล่อเลี้ยงผู้คนในอาณาจักร เรายังเป็นเหมือนห้องสมุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ แหล่งความรู้ทั้งหมดจะถูกบันทึกลงศิลาจารึก และพื้นที่ในจังหวัดพะเยานี่แหละที่เป็นแหล่งตัดหินสำหรับทำศิลาจารึก ดังนั้นมันจึงมีการพัฒนาตัวอักษรฝักขามสำหรับจารลงศิลาที่นี่ด้วย และอักษรรูปแบบนี้ยังถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดความรู้ หรือการสื่อสารที่เป็นทางการในเมืองต่างๆ ทั่วอาณาจักรเมื่อครั้งอดีต หรือยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่ในเขตผายาว ก็มีร่องรอยของการตัดหิน และขวานหินโบราณ และต่อเนื่องมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่มีการแกะสลักพระพุทธรูปในพื้นที่ รวมถึงแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเตาเวียงบัว แหล่งอารยธรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าพะเยามีต้นทุนทางการเรียนรู้มาตั้งแต่อดีต และกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด ในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ผมรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 3
Recent Posts
- [ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
- THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
- WeCitizens : The Concept
- WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด
- City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร
Recent Comments
Categories
Error: No feed found.
Please go to the Instagram Feed settings page to create a feed.